takecare yourself


สุขภาพดี ๆ หาซ์อไม่ได้ แต่วางแผนดูแลและป้องกันได้
ป้องกันสมองเสื่อม
    อ่านเรื่องจากหนังสือ " ชีวจิต " แล้วรู้สึกดี  ช่วงหลังทำงานเยอะ ๆ
รีบ ๆ   มักจะลืมโน่นลืมนี่บ่อย  บางทีขับรถกลับบ้าน ก็ขับมาตามความเคยชิน
มานึกได้อีกที  อ้อขับรถมาถึงนี่แล้วเหรอ มัวแต่คิดอะไรเพลิน ๆ ไม่แน่ใจว่า
เพราะสูงอายุขึ้นหรือว่าสมาธิแตกซ่าน  กันแน่  คำว่า " keep your brain active 
ปลุกสมองให้กระฉับกระเฉง  " น่าสนใจ

    
   ปัจจัยที่ช่วยลดเรื่องของอัลไซเมอร์  เริ่มด้วยเรื่องของการพัฒนาหน่วยความจำ
ของสมอง  สร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ  เค้าแนะนำให้ลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ
หลีกเลี่ยงจากความจำเจและกิจกรรมเดิม ๆ  ตัวอย่างเช่น การลองเปลี่ยนเส้นทางกลับบ้าน
ให้เป็นเส้นทางใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไป เพื่อให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกับเส้นทางใหม่ ๆ
ที่ไม่คุ้นเคย  ได้คิดใช้สมองในการหาทางกลับบ้าน
  มีอีกหลายคำแนะนำที่เราควรได้ฝึกกันทุกวัน
ได้แก่   1. ให้อ่านหนังสือทุกวัน   ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออะไร เพราะการอ่าน
ช่วยเรื่องของสมาธิและการจินตนาการ
          2. ให้เขียนหนังสือทุกวัน   เขียนบันทึกสั้น ๆ เขียนรายการที่ต้องทำ
ของที่ต้องซื้อเวลาไป shopping  การเขียนช่วยเรื่องการจัดระบบความคิดและ
เรียกความทรงจำ
         3. การหางานอดิเรกที่ท้าทายทำ เช่น ทำอาหาร  ทำผักสวนครัว
กิจกรรมที่ช่วยเรื่องสมาธิ และการเอาใจใส่
         4. การติดต่อกับผู้อื่น  การมีการปฏิสัมพันธ์ทำให้เรามีเรื่องใหม่ ๆ
ทำและคิด
      น่าจะลองทำดู  เวลาที่ผ่านไปคงต้องพยายามทำให้ตัวเอง
กระฉับกระเฉง  จิตใจสดชื่นรื่นเริง  ได้ผลยังงัยค่อยมาเล่าอีกที
เค้าบอกว่า อายุเป็นเพียงตัวเลข  เนอะ
คำสำคัญ (Tags): #nnp#nicu#niddy#psu
หมายเลขบันทึก: 62059เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท