ปรัชญาพื้นฐานของการสังคมสงเคราะห์


ปรัชญาพื้นฐานของการสังคมสงเคราะห์

ปรัชญาพื้นฐานของการสังคมสงเคราะห์ นั้นเป็นความคิดในลักษณะของการกุศล หรือการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน โดยมองมนุษย์ว่าสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ เน้นการให้ความสำคัญกับศักยภาพ สิทธิ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน โดยมีประโยคที่เปรียบเสมือนหัวใจของงานสังคมสงเคราะห์สองประโยค ได้แก่





" work with, not work for " และ



" help them to help them selves"




โดยที่ work with, not work for นั้นมีความหมายที่ว่า การสังคมสงเคราะห์นั้นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักสังคมสงเคราะห์กับผู้ที่ประสบปัญหา เป็นการช่วยเหลือในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างเท่าเทียม



ส่วน help them to help themselves นั้น หมายถึง การช่วยเพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ เป็นการให้ความสำคัญในความคิดที่ว่า มนุษย์นั้นสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ นักสังคมสงเคราะห์จะเลือกวิธีการช่วยเหลือที่ไม่ได้ทำให้ผู้รับบริการสูญเสียความเป็นมนุษย์ไป โดยยึดมั่นในหลักปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์

หมายเลขบันทึก: 620171เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2016 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2016 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท