การรับรู้สึกมองเห็นสำคัญไฉน?


คนเราทุกเพศวัยย่อมสื่อสารผ่านกระบวนการรับรู้สึกที่หลากหลายจนเกิดการรู้คิดและเรียนรู้จนเข้าใจการทำงานประสานกันระหว่างสมอง จิตใจ ร่างกาย อารมณ์ และสังคม และพัฒนาสู่การตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทุกๆสถานการณ์จนปรับตัวได้มากขึ้นตลอดชีวิต


ยกตัวอย่าง การจับเวลาให้ท้าทายความตื่นตัวในนศ.ทัศนมาตรศาสตร์ ให้พับกระดาษเป็น 8 ข่อง เลือกหนึ่งในแปดช่องตามความสนใจเพื่อบันทึกชื่อและระลึกจำความรู้สึกดีงาม จากนั้นมาค้นหาเพื่อนจับกลุ่มที่เลือกช่องเดียวกันหรือไม่เหมือนกันด้วยความไวพร้อมตั้งชื่อกลุ่มและคิดท่าบูม


เริ่มเรียนรู้การประเมินการรับรู้ทางการมองเห็น มิใช่แค่การตรวจวัดโครงสร้างการมองเห็น หากแต่ควรสังเกตพฤติกรรมการเชื่องโยงความสามารถในการรับรู้ทางการมองเห็นในหลากหลายมิติที่มีความง่าย ปานกลาง และยากในการประเมินผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและ/หรือจิตสังคมทุกเพศวัย เพราะผู้บำบัดควรใช้ใจสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการจนเกิดความรู้สึกถึงการใช้พลังงานที่ตรงกันตามธรรมชาติ เช่น การนั่งวาดรูปคนด้วยกัน การสำรวจสิ่งแวดล้อมแล้วสื่อสารสนุกสนาน เป็นต้น


บางครั้งการสบตา การตั้งสติสัมปชัญญะเพื่อสังเกตภาษากาย รอยยิ้ม และการหายใจทุกขณะทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความเงียบ จะสื่อสารความสามารถของผู้รับบริการได้ดีเยี่ยม เกิดความสนใจในการสร้างมิตรภาพตามธรรมชาติ


ในภาวะบกพร่องทางสติปัญญา การรับรู้สึกนึกคิดผ่านการจ้องมองสำรวจสิ่งๆต่างนั้นทำได้ช้ามาก แม้ว่าจะจดจ่อมองวัตถุและมองตามวัตถุได้ดีก็ตาม เพราะภาวะนี้มีร่วมกับสมองพิการจนถึงภาวะสมาธิสั้นไม่อยู่นิ่ง ดังนั้นการเพิ่มแรงจูงใจภายในและการเรียนรู้ทักษะสังคมผ่านการเลียนแบบภาษากายจากการทำงานร่วมกันแบบสหวิชาชีพ เช่น นักทัศนมาตรศาสตร์สังเกตการรับรู้ทางการมองเห็นขณะนักกิจกรรมบำบัดฝึกทักษะการเล่นของเด็กพิเศษ เป็นต้น


ดังนั้นเพื่อให้นักบำบัดเรียนรู้ "กระบวนการเชื่อมโยงฐานหัว-ฐานกาย-ฐานใจ" เพื่อเพิ่มแรงจูงใจภายใจ ควรฝึกกิจกรรมปิดตา เดินถอยหลังจดจำพื้นที่ที่เดินก้าวไปข้างหน้ามาแล้ว 1-10 และควรฝึกแยกแยะความสนใจและความตั้งใจขณะเปิดและปิดตา ผ่านการรับรู้สึกที่หลากหลายจากการฟัง การทรงท่า การทรงตัว การสัมผัส และการเคลื่อนไหว


ก่อนสุดท้ายนศ.จะตกผลึกการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อปิดตา เรายังคงมีความสามารถในการรู้คิดจิตเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึกรอบตัวจนตั้งใจฟังกับสัมผัสจนเกิดภาพของวัตถุต่างๆได้ดี โดยเฉพาะเมื่อมีอารมณ์บวก ทำให้เกิดการปรับตัวใช้ชีวิตได้ดีตามธรรมชาติใกล้เคียงกันทั้งผู้ที่บกพร่องทางการมองเห็นและผู้ที่จำลองความบกพร่องทางการมองเห็น


สุดท้ายนศ.จะตกผลึกการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อไม่พูดใช้ภาษากายเปิดตา เรายังคงมีความสามารถในการรู้คิดจิตเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวและการรับความรู้สึกรอบตัวจนตั้งใจฟังได้เล็กน้อยกับสัมผัสมากขึ้นจนเกิดการจินตนาภาพของวัตถุต่างๆได้ดี ทำให้เกิดการปรับตัวใช้ชีวิตได้ดีตามธรรมชาติใกล้เคียงกันทั้งผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินและผู้ที่จำลองความบกพร่องทางการได้ยิน

หมายเลขบันทึก: 620082เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 10:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กิจกรรมหลาหหลายและน่าสนใจมาก

ขอชื่นชมการทำงานครับ

ขอบคุณมากครับพี่ขจิต ด้วยรักและคิดถึงเสมอครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท