การประชุมผู้ปกครองนักเรียนนกฮูก ครั้งที่ 2 ประจำปี 2559



วันนี้เป็นวันประชุมผู้ปกครองนักเรียน ป.1-3 ที่น่าประทับใจอย่างยิ่งของโรงเรียนนกฮูกโรงเรียนขนาดเล็กแห่งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมมีทั้งผู้ปกครอง ป.1-3 ประมาณ 20 ท่าน คุณครูประมาณ 5 ท่าน ผู้บริหารโรงเรียนทั้งสองท่าน และที่ปรึกษาของโรงเรียน 1 ท่านค่ะ

นักเรียนโรงเรียนนี้จะเรียกคุณครูว่าพี่ทุกคน ผู้ปกครองก็เลยเรียกคุณครูพี่นั่นพี่นี่ตามลูกไปด้วยค่ะ วันนี้ครูพี่ป้อมเป็นพิธีกรผู้ดำเนินรายการหลัก ครูเริ่มต้นด้วยการให้ผู้ปกครองเริ่มต้นพูดก่อน โดยให้เล่าถึงเหตุผลที่พาลูกมาเรียนที่นี่ และ ตรงตามความคาดหมายที่วางไว้หรือไม่ แล้วพิธีกรก็จะเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม

แม่โดนเรียกให้พูดเป็นคนแรกค่ะ ซึ่งสำหรับแม่แล้ว โดยภาพรวมแม่ประทับใจโรงเรียนนกฮูก เพราะแม่มี concept อยู่ว่า แม่ไม่ต้องการให้ลูกเติบโตเป็นหุ่นยนต์ ที่เรียนมาเพื่อสอบ แต่แม่ต้องการให้ลูกรู้จักที่จะนำความรู้ ไปใช้ได้อย่างเข้าใจ และมีทักษะในด้านการคิด ทักษะการสื่อสาร และทักษะทางสังคมค่ะ

แต่สิ่งหนึ่งที่คุณครูพูดถึง นักเรียนป. 3 ปีนี้เหมือนเหมือนกันก็คือ รุ่นนี้เป็นเด็กที่ค่อนข้างเรียบร้อยจะไม่ค่อยกล้าหรือไม่ค่อยมีความมั่นใจในการออกจากกฎเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้เท่าไหร่นะ เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำที่ผิดไป หรือง่ายๆ ก็คือ ไม่หลุดจากกรอบสังคมมากนัก ซึ่งอาจจะเป็นตัวปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ

ผู้บริหารโรงเรียนแนะนำว่าผู้ปกครองควรปล่อยวางบ้างเวลาลูกทำอะไรผิดไปจากกฎกติกาอยู่บ้าง อาจารย์ที่ปรึกษาของโรงเรียนเสริมว่า อย่าว่าบ่นและเปรียบเทียบลูก และโรงเรียนก็มีปรัชญาในการให้อิสระกับนักเรียนไม่ติดกรอบอยู่แล้วตาม concept ของ discovery learning

นอกจากนี้แม่ก็ยังรู้สึกประทับใจกับเทคนิคการสอนในวิชาคณิตศาสตร์ของพี่ป้อม ที่นำเอาเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนมาใช้ เพื่อนที่เก่งกว่าช่วยเพื่อนที่อ่อนกว่า น่ารักมากๆ เลย

และแม่ก็ยังรู้สึกประทับใจกับผู้ปกครองท่านหนึ่งที่เป็นจิตแพทย์เด็ก บอกไว้ว่า การเรียนรู้ของเด็กเล็กในวัยนี้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่นการวัดผล ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวัดในความรู้ แต่สามารถประเมินที่การใช้ความรู้ได้ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่จำเป็นต้องใช้การสอบวัดผลแต่เพียงอย่างเดียว เราอาจจะวัดผลความรู้ความเข้าใจด้วยการนำเอาความรู้ไปใช้ เช่น ผ่านการทำโครงงานน่าจะเป็นอย่างนี้นะ (ถ้าแม่เข้าใจถูกต้อง) และผลงานของลูกแต่ละคนก็ไม่จำเป็นต้องส่งในรูปแบบเดียวกัน บางคนอาจจะส่งเป็นกระดาษแต่บางคนก็อาจจะถนัดที่จะส่งเป็นงานนำเสนอ presentation ก็ได้ แล้วแต่ความชอบของผู้เรียน และแม่คิดว่านี่คือสิ่งที่เขาเรียกว่า personalized learning นั่นเอง

นอกจากนี้แม่ก็ได้สอบถามทางโรงเรียนเกี่ยวกับ เรื่องการจัดหลักสูตรภาษาอังกฤษ ซึ่งโรงเรียนจะเน้นภาษาอังกฤษ เกือบจะ 30% ของวิชาทั้งหมดทั้งการอ่าน การเขียน การพูด และแกรมม่า ซึ่งโรงเรียนเน้นแต่ละทักษะแยกจากกัน ไม่ได้บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพราะเน้นที่การพัฒนาทักษะไม่ได้เน้นแกรมม่า แต่ผลของการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนสามารถตอบโจทย์ได้ดี ผู้ปกครองพูดเป็นเสียงเดียวกัน คือ นักเรียนนกฮูกสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ ฟัง อ่านเขียนและพูดได้ซึ่งแตกต่างจากนักเรียนไทยในระดับประถมต้นทั่วไป ไม่นับรวมโรงเรียน bilingual ต่างๆ

ขอ note ไว้นิดนึงว่า ครูบอกว่า ป.4 นักเรียนต้องแม่นแล้วนะคะเรื่องการคูณหาร และ ป.4 จะเริ่มสอบเขียน Essay เป็นภาษาอังกฤษแล้วนะคะ

และสุดท้าย แม่ต้องขอขอบคุณทางโรงเรียนที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาปรับปรุงการศึกษาของลูกทุกคนให้ดียิ่งขึ้นไปอีกค่ะ ประทับใจและอบอุ่นดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 619847เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์
ไม่ยึดติดกับกรอบซะบ้างก็น่าจะดีนะครับ
มีกรอบมากไปก็จะอึดอัด

ไม่ได้แวะมาเยี่ยมอาจารย์ซะนานเลย
อาจารย์สบายดีนะครับ

ได้อ่านคำว่า "นักเรียนนกฮูก" ผมคิดเลยเถิดไปว่า น่าจะคือนักเรียนที่เรียนตอนกลางคืน มองเห็นตอนกลางคืน ส่วนกลางวันในที่แจ้งมองไม่เห็นอะไร แต่เมื่ออ่านเนื้อหา ได้เกิดความคิดว่า ถ้าอย่างนั้นโรงเรียนต้องสร้างอาคารเป็นรูปนกฮูก :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท