Evidence based practice: Research development for APN


Evidence based practice: Research development for APN

28-30 พฤศจิกายน 2559

ดิฉันมีโอกาสไปร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ประจำปีที่วิทยาลัยพยาบาลผดุงครรภ์ขั้นสูงแห่งประเทศไทย สภาการพยาบาล ร่วมกัยสมาคมผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง จัดอบรม เรื่อง Evidence based practice: Research development for APN

เพื่อเป็นเวที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และพัฒนางานวิจัยระหว่าง APN ผู้บริหาร คณาจารย์ พยาบาลวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 319 คน

มีการรับหนังสืออนุมัติ

และมาร่วมยินดีกับ พว อุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง ในการรับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (อพย.)
ที่โรงแรมดิเอมเมอรัล กทม(28พฤศจิกายน2559) ปีนี้มีผู้มารับหนังสืออนุมัติฯ จำนวน 14 คน

รพ ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มีผู้ได้รับวุฒิบัตร 32 คน ลาออกจากราชการ 3 คน เกษียณ 1 คน ขณะนี้เหลือ APN 28 คน ในการรับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (อพย.) อุบล จ๋วงพานิช ได้ปี 2557 พนอ เตชะอธิก ได้ปี 2557 อุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง ได้ ได้ปี 2558 ดังนั้น ใน รพ APN วพย. มี 24 คน ยังมีโอกาสพัฒนาผลงานต่อไปค่ะ


ในการประชุม Evidence based practice: Research development for APN ครั้งนี้

ท่านอาจารย์ รศ ดร ทัศนา บุญทอง เป็นผู้มอบหนังสืออนุมัติฯในครั้งนี้

อาจารย์ได้กล่าวเปิดงานและฝากข้อคิดว่า...

ปีนี้มีผู้ได้รับการประเมินผ่านให้เป็น APN ในความหมายของเรา คนทั่วไปรู้จักหรือเปล่า คนในวิชาชีพของเรารู้จักกันดีไหม น้องๆต้องทำให้ประจักษ์ สามารถปฏิบัติภารกิจ ทำวิชาชีพให้ Visible (มองเห็นได้ ชัดเจน ชัดแจ้ง) จึงจะทำให้แผ่นกระดาษที่ได้ในวันนี้มีความหมาย

APN เป็นพยาบาลกลุ่มน้อย ทั้งประเทศไทยมี อพย. 31 คน(กลุ่ม วพย. ที่สอบความรู้เพื่อขอรับหนังสืออนุมัติฯ) ในจำนวนพยาบาลมากกว่า 200,000 คน

ดังนั้น APN...

  • ถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะร่วมพัฒนาวิชาชีพ
  • ต้องคิดให้เป็น จึงจะมีพลัง
  • ให้ทำทุกเรื่อง ให้เป็นเรื่องเดียวกัน
  • ทำผลงานให้ประจักษ์ ต่อเนื่อง
  • เป็นการวางรากฐาน Nursing science academy
  • ใช้องค์ความรู้ร่วมกับทีม
  • เป็น preceptor ให้กับ นศ ป ตรี โท
  • ต้องมีการปฏิบัติจริงกับผู้ใช้บริการ
  • ฯลฯ


การอบรมครั้งนี้ เนื้อหาน่าสนใจทุกเรื่อง ถ้าน้องๆ apn มาอบรม จะได้นำไปใช้ประโยชน์ได้ตรง เพราะให้ความรู้แบบ hit to the point สามารถไปพัฒนาผลงานได้ตรงตามเป้าหมายแน่นอน

research question

  • การค้นหาปัญหาวิจัย เหมือนติดกระดุมถูกเม็ด ถ้าเม็ดแรกถูก จะมีชัยอยู่ข้างหน้า
  • ดูจาก high risk high volume high benefit ,something that excite you
  • นำมาวิเคราะห์สถานการณ์ ความจริงและคำอธิบายที่น่าสนใจ
  • คำถาม กระบวนการดูแลเป็นอย่างไร ความรู้ใหม่ๆมีไหม ถูกนำมาใช้หรือยัง How well existing science is used in care?


research designs

  • capstone project
  • ควรใช้ primary study หลายๆเรื่อง นำผลวิจัยมาใช้ โดยออกแบบวิจัยแบบ capstone เพื่อวัดผลจากองค์ความรู้ที่พิสูจน์มาแล้ว ไมใช่การทดสอบความรู้ โดยดูจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ลดค่าใช้จ่าย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง โดยใช้ odd ratio หรือจากกราฟเส้น


R2R

  • เริ่มจากปัญหาหน้างาน PICOTM (population, intervention, comparison, outcome, time, methadology
  • แล้วสืบค้นประเมินเลือกหลักฐาน เริ่มจากความเสี่ยง พบ good evidence หาเครื่องมือที่มีความไวในการประเมิน นำมาเปรียบเทียบความแม่นตรงก็ได้ good evidence based practice to R2R
  • หรือแก้ไขปัญหาทางคลินิกด้วยการใช้การบำบัดทางการพยาบาล จาก meta analysis evidence base guide line
  • แต่ต้องสังเคราะห์ว่าตอบคำถามได้ดีไหม นำไปใช้ได้จริงไหม
  • แล้วมาสกัดเนื้อหาจากหลักฐาน
  • เขียนโครงร่าง อาจเป็น cohort study observational study สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนแปลง


เครื่องมือวิจัย

  • เครื่องมือที่ดี ไม่ควรใช้เวลาเก็บนานเกิน 30 นาที
  • เคร่องมือที่นำมาใช้ ต้องแน่ใจว่าเป็นเครื่องมือจากทฤษฎีเดียวกัน
  • เลือกสเกลที่เหมาะกับคนตอบ
  • เครื่องมือต้องผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ความเที่ยง
  • หากเรานำเครื่องมือที่สร้างและเก็บในกลุ่มตัวอย่างเหมือนกันมาก่อน แต่ยังไม่นานนักเราอาจไม่ต้องหาความตรงก็ได้
  • อย่างไรก็ดีหากมีผู้ทำวิจัยหลายคน ควรหาความเที่ยงเช่นกัน
  • การหาผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจเครื่องมือต้องตรงกับสาขา โดดูจากผลงานที่ท่านเคยทำ ควรใช้จำนวนคนเป็นเลขคี่
  • การหาความตรงตามเนื้อหาจากค่า CVI คะแนนควรมากกว่า 0.8
  • การหาความเที่ยง เช่น test retest เว้นช่วง 2 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 2 เดือน
  • การหา internal consistency โดย spit half , alpha conbach ถ้าเครื่องมือเก่า ค่าคะแนนควรมากกว่า 0.8 เครื่องมือใหม่ มากกาว่า 0.7

การใช้สถิติ

  • รอสรุปอีกทีนะคะ

ประชุมกลุ่มย่อย เช่น การกำหนดหัวข้อวิจัย การเขียนโครงการวิจัยในคลินิกและ การเขียนบทความ รายงานวิจัย

  • รอสรุปอีกทีนะคะ


วิทยากรล้วน เป็นอาจารย์พยาบาล เช่น รศ ดร ทัศนา บุญทอง นายกสภาฯ ศ ดร สมจิต หนุเจริญกุล รศ ดร เรณู พุกบุญมี รศ ดร จินตนา ยูนิพันธุ์ ผศ ดร พิกุล พรพิบูลย์ ผศ ดร อรพรรณ โตสิงห์ รศ ดร ศิริอร สินธุ ฯลฯ

ถือเป็นปรมาจารย์ เป็นกระบี่มือหนึ่ง...ของประเทศไทย

ท่านใดไม่ได้มารอติดตามอ่านในเวปนะคะ




พว อุบลรัตน์ ต้อยมาเมือง

รับหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (อพย.)

สาขา อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ปี 2558



ยินดีกับ apn อพย. ทุกท่าน



มาร่วมยินดีในฐานะรุ่นพี่ค่ะ



สร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆกันค่ะ



ในฐานะรุ่นพี่

ขอให้กำลังใจ apn ทุกท่านค่ะ

เราต้องสร้างผลงานให้สามารถมองเห็นชัด visible

ดังเช่นท่านนายกสภาพยาบาลกล่าวในเบื้องต้น

กระดาษที่ถือในมือนี้...จึงจะมีคุณค่าที่ได้มา

พี่แก้ว บันทึก

5 ธันวาคม 2559

13.51 น


หมายเลขบันทึก: 619727เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2016 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2016 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

22 มกราคม 2558 พวกเราได้เข้ารับประทาน.. หนังสืออนุมัติความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์(อพย.) จาก พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมเสาวลี พระวรราชาทินัตดามาตุ ที่สภาการพยาบาล


apn สาขาเด็ก เกศนี บุณยวัฒนางกุล ได้รับในฐานะกรรมการฯ


apn วิสัญญี กฤษณา สำเร็จ จาก รพ ศรีนครินทร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท