KM&R2R in Service Plan รพ.ยโสธร


กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลยโสธร ภายใต้วิสัยทัศน์ของหัวหน้าพยาบาลคุณกีรติ คำทอง หรือพี่เม็งที่น้องๆ คุ้ยเคยเรียกขาน มีความมุ่งมั่นที่จะเชื่อมโยงงานวิชาการสู่การปฏิบัติที่นำไปสู่การเกิดคุณภาพแก่ผู้รับบริการ ... พี่นิด-ฐิรพร ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลฝ่ายวิชาการ ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อน R2R รพ.ยโสธรมาตลอดสิบปี ได้มาหารือและชวนนำเครื่องมือ KM&R2R มาเชื่อมใช้ในงาน Service Plan

กระบวนการเรียนรู้ KM in Service Plan จึงเกิดขึ้น

พี่อื๋อ -หรือคุณเพ็ญประกาย สร้อยคำ ซึ่งเป็นคนแรกที่ชวนกันทำ R2R เมื่อปี 2548 ปัจจุบันพี่อื๋อเป็นผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลฝ่ายบริการเป็นคุณเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้

เป้าหมายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ (Knowledge Vision) เพื่อเป็นการสกัดองค์ความรู้ในมิติของความสำเร็จจากการขับเคลื่อน(Success) และมีปัญหาอุปสรรค(Gap) อะไรบ้างที่สามารถนำไปสู่การพัฒนางานต่อ และทางกลุ่มการพยาบาลสามารถสนับสนุนการทำภารกิจนี้ของพยาบาลได้ใน Service Plan

กิจรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อน Service Plan ของกลุ่มการพยาบาลในส่วนที่มีความสำเร็จแล้วและเหลือGAP อะไรที่สามารถพัฒนาต่อ (Knowledge Sharing)

กระบวนการที่นำมาใช้ภายใต้ KM คือ...

1. SSS --Success Story Sharing เลขาในแต่ละ Service Plan นำเสนอการดำเนินงานที่ผ่านมาและร่วมกันมอง GAP ที่นำไปสู่การพัฒนาต่อ

2. Reflection จากหัวหน้าพยาบาลและผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลทั้ง 4 ด้าน ร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม
3. 3.Share&learning เพื่อหาโอกาสและแนวทางร่วมกันโดยบูรณาการผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลงานบริหารสี่ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายบริการ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริการ ฝ่ายวิชาการ เข้ามาสนับสนุนการขับเคลื่อน service plan ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย

4.การถอดบทเรียน (AAR : After Action Review) ร่วมกับการสกัดบทเรียน (Capture) จากทั้งผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้รับผิดชอบจากแต่ละสาขา Service Plan

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการครั้งนี้ จาก service plan ทุกสาขาที่พี่ๆ น้องๆ พยาบาลได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ทำให้มองเห็นอยู่หลายมิติ ดังนี้ (Knowledge Asset)

  • มิติแรก ความสำเร็จเล็กๆ ในภาระกิจทางการพยาบาลที่เข้าไปสนับสนุนงาน service plan ทั้งบทบาทการเป็นเลขาฯ การทำงาน การเป็นผู้ปฏิบัติงานทางการพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้รับการดูแลตามตัวชี้ของ service plan พยาบาลมีบทบาทที่สำคัญของการทำให้กลไกการขับเคลื่อนนี้ดำเนินไปได้บรรลุสู่เป้าหมายของภารกิจในแต่ละ service plan
  • มิติของการสนับสนุนทางผู้บริหารทางการพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นทางด้านบริหาร บริการ วิชาการ อาทิเช่นในเรื่องของการจัดการอัตรากำลังที่เป็นการสนับสนุนให้เกิดการทำงานสู่เป้าหมาย การสนับสนุนและผลักดันช่วยในเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือหรือการจัดการทางงบประมาณ และการใช้การจัดการทางวิชาการเข้ามาสู่การจัดการความรู้และส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรให้เต็มศักยภาพและความสามารถที่มี เป็นต้น
  • มิติของการเชื่อมโยงไปสู่การนำเครื่องมือ R2P และ R2R มาพัฒนาในส่วนที่ยังเป็น GAP และนำไปสู่การพัฒนาในปัญหาและอุปสรรคที่ซับซ้อนขึ้นทางวิชาการในวิชาชีพพยาบาล สิ่งที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งคือ การจัดการกับข้อมูลที่มีที่สะท้อนถึงเรื่องราวการทำงานที่ผ่านมาและเส้นทางการเดินทางที่จะพัฒนาต่อไป ถือได้ว่าเป็นความท้าทายทางวิชาการและทางวิจัยทางการพยาบาลเป็นอย่างยิ่ง

คุณค่าหลักที่เกิดขึ้นการเรียนรู้ครั้งนี้ (Core Value) คือ การนำสิ่งที่ทำสำเร็จมาสู่กระบวนการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) และสิ่งที่ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้ (Gap) นำไปสู่การทำ R2P (Routine to Policy ทางการพยาบาล) และ R2R (Routine to Research) รวมไปถึงการเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration) ที่นำไปสู่การมองเห็นโอกาสของการพัฒนาในงาน นับว่าเป็นก้าวย่างอันงดงามทางปัญญาของงานทางการพยาบาล โรงพยาบาลยโสธร ที่มีการเชื่อมโยงและบูรณาการเครื่องมือต่างๆ ผสานกัน ที่สุดแล้วประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือ ผู้ป่วยและผู้มารับบริการได้รับคุณงามความดีเหล่านี้นำไปสู่ความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดีต่อไป

...

26 พฤศจิกายน พ.ศ.2559







หมายเลขบันทึก: 619203เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2016 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2016 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท