Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

๓ แนวคิดซึ่งผู้เขียนงานกฎหมายควรมีในจิตสำนึก


ปรัชญากฎหมายที่ผู้เขียนงานทางกฎหมายควรมีในการเขียนงาน

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙
---------------------------------
สำหรับงานเขียนทางกฎหมาย

ผู้เขียนงานคงต้องตระหนักในประการแรกว่า วิชากฎหมายหรือวิชานิติศาสตร์มีอยู่ ๓ มิติ กล่าวคือ (๑) นิติศาสตร์โดยข้อเท็จจริง (๒) นิติศาสตร์โดยแท้เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ของกฎหมาย และ (๓) นิติศาสตร์โดยคุณค่า

ในประการที่สอง ผู้เขียนงานคงต้องชัดเจนว่า กฎหมายเป็นเรื่องของเหตุผล มิใช่เป็นเรื่องของอำนาจแต่อย่างใด และกฎหมายก็คงมิใช่เพียงเหตุผลของรัฐาธิปัตย์เท่านั้น แต่ยังเป็นเหตุผลที่ถูกต้องของมนุษย์ และชุมชนของมนุษย์ ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจนตกตะกอนเป็นเหตุผลของประชาชาติ

ในประการที่สาม ผู้เขียนซึ่งเป็นนักกฎหมาย ควรตระหนักในความเป็นนักกฎหมายของตัวเอง ซึ่งมีหน้าที่เป็นพระสงฆ์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น งานเขียนทางกฎหมายหนึ่งๆ ก็ควรมีคุณค่าเพื่อความยุติธรรม กล่าวคือ การทำงานช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal Aid) งานเขียนหนึ่งๆ อาจมีเพื่อถักทอความรู้กฎหมายให้แก่ (๑) มนุษย์ซึ่งเป็นเจ้าปัญหา (Problem Owners) ซึ่งเข้าไม่ถึงความยุติธรรม (๒) มนุษย์ในสังคม ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเจ้าของปัญหา (Social Supporters) และ (๓) มนุษย์ในสังคม ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการรักษาการตามกฎหมาย (Law Enforcers) และความรู้ทางกฎหมายที่ผู้เขียนงานทางกฎหมายอาจนำเสนอได้ ก็น่าจะมีอยู่ ๓ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) การสร้างความชัดเจนในข้อกฎหมาย (๒) สร้างความชัดเจนในข้อเท็จจริง และ (๓) สร้างแนวคิดในการปฏิรูปกฎหมายและนโยบาย

อ.แหวว
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร
Phunthip Saisoonthorn


คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญากฎหมาย
หมายเลขบันทึก: 617741เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2016 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท