​หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า


หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า


อจ.ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี LL.B M.A


1111111111) ไตรลักษณ์

111111111ตามหลักพุทธธรรมเบื้องต้นที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากส่วนประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้า หรือมีอยู่ในรูปของการรวมตัวเข้าด้วยกันของส่วนประกอบต่างๆนั้น ซึ่งส่วนประกอบนั้นล้วนเกิดดับต่อกันไปเรื่อย ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ส่วนประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเหตุปัจจัยสืบต่อแก่กัน ความเป็นไปต่างๆทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติ อาศัยความสัมพันธ์และความเป็นปัจจัยเนื่องอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายเอง จึงเรียกเพื่อให้เข้าใจง่ายๆว่าเป็น

111111111ไตรลักษณ์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะทั่วไป หรือเสมอเสมือนกันแก่สิ่งทั้งปวง ซึ่งได้ความหมายเท่ากัน ซึ่งประกอบด้วย

1111111111. อนิจจตา ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป

1111111112. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อนให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน

1111111113. อนัตตา ความเป็นอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง สิ่งทั้งหลายหากจะกล่าวว่ามีก็ต้องว่ามีอยู่ในรูปของกระแส ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆอันสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน เกิดดับสืบต่อกันไปอยู่ตลอดเวลาไม่ขาดสาย จึงเป็นภาวะที่ไม่เที่ยง เมื่อต้องเกิดดับไม่คงที่ และเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่อาศัย ก็ย่อมมีความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง และแสดงถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่ในตัว เมื่อทุกส่วนเป็นไปในรูปกระแสที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาขึ้นต่อเหตุปัจจัยเช่นนี้ ก็ย่อมไม่เป็นตัวของตัว มีตัวตนที่แท้จริงไม่ได้

1111111112) อริยสัจ 4

111111111อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำคัญที่ครอบคลุมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนาเนื้อความทั้งหมดที่ได้แสดงออกมา คือความจริงอันประเสริฐ

111111111อริยสัจ 4 เป็นความจริงเกี่ยวกับชีวิต และสรรพสิ่ง และเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นความจริงแท้ มีทั้งด้านเกิดทุกข์ และความดับทุกข์ หลักอริสัจ เป็นการให้มองเห็นภัยของชีวิต และมองเห็นทางปลอดภัยพร้อมแนะวิธีการหลีกภัยเอาไว้ ประกอบด้วย

1111111111. ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ปัญหาต่างๆของมนุษย์ กล่าวให้ลึกลงอีกหมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลายที่ตกอยู่ในกฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาดแก่นสารและความเที่ยงแท้


1111111112. สมุทัย แปลว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ ความยากที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเราซึ่งจะเสพเสวย ที่จะได้จะเป็น จะไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้

1111111113. นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ เป็นเป้าหมายสูงสุดของพุทธสัจจะ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า การดับทุกข์ คือการดับความอยาก การตัดเยื่อใยในความรัก ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะสิ้นโมหะ สลัดออก สิ้นตัณหาโดยสิ้นเชิง ได้แก่นิพพาน อันเป็นสภาวะที่ทำลายความอยากในกามความสงสัย และความไม่รู้ จึงเป็นความสงบอย่างยิ่ง ดุจน้ำสมุทรที่ลึกปราศจากคลื่น อิสระอย่างยิ่งสุขอย่างยิ่ง สามารถบรรลุได้ในชาตินี้ ไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อม ถ้าปฏิบัติมรรค มีองค์ 8

1111111114. มรรค แปลว่า ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับทุกข์ หรือทางปฏิบัติในการออกจากทุกข์เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอน หรือวิธีการออกจากความทุกข์ พระองค์เรียกว่า ทางสายกลาง มี 8องค์ประกอบ ใครก็ตามที่ปฏิบัติตามมรรค มีองค์ 8 ก็สามารถถอนตนจากทุกข์ได้ นี้คือตัวแก่นสารที่เป็นหลักปฏิบัติของศาสนาพุทธ เพราะพระองค์ไม่ได้ต้องการจะสอนแต่เพียงภาคทฤษฎีต้องให้ลงมือ

ในภาคปฏิบัติการทางใจ มรรคมีองค์ 8 ประกอบด้วย

1111111111. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง เพราะความไม่รู้ก่อให้เกิดความเห็นผิดในรื่องความสัมพันธ์ระหว่างโลกและอัตตา มนุษย์เข้าใจว่า ชีวิตเต็มไปด้วยทุกข์ มีอัตตายืนพื้นที่เป็นอมตะเวียนตายเวียนเกิดไม่รู้จักสิ้นสุด การสลัดความเห็นผิด และเข้าใจธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆเรียกกว่าเกิดสัมมาทิฏฐิ

1111111112. สัมมาสังกัปปะ คิดถูกต้องเพื่อการขจัดรากเหง้าแห่งความคิดอกุศลทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะต้องมาคู่กับสัมมาทิฏฐิเป็นปัญญา

1111111113. สัมมาวาจา มนุษย์ต้องควบคุมวาจาของตน ไม่กล่าวเท็จ พูดส่อเสียด พูดหยาบคายและวิพากษ์วิจารณ์เพื่อเจ้อไร้ประโยชน์ กล่าวแต่คำสัตย์คำจริงแม้เพียงคำเดียวแต่ทำให้จิตใจสงบดีว่าคำพูดเพ้อเจ้อไร้ความหมาย

1111111114. สัมมากัมมันตะ หมายถึงการประพฤติที่ถูกต้อง มุ่งเอาการรักษากริยาทางกาย ด้วยการไม่ทำร้าย หรือทำลายชีวิตบุคคลอื่น สัตว์อื่น ไม่ลักขโมยฉ้อโกง ไม่ละเมิดทางเพศ เป็นต้อน สรุปคือ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมจรรยาและหน้าที่ที่ตนความประพฤติเพื่อความสงบของตนและสังคม

1111111115. สัมมาอาชีวะ หมายถึง การประกอบอาชีพในทาวสุจริต พระพุทธเจ้ามุ่งเอาการเว้นจากการค้าอาวุธ ค้าขายมนุษย์ ค้าขายยาพิษ ค้าขายเนื้อ ค้าขายสุรายาเมาเป็นต้น ที่เรียกว่า มิจฉาวาณิชชะเป็นความชั่วที่บุคคลจะแสวงหาทรัพย์ด้วยการข่มขู่ กรราโชก กินสินบน โกง เจ้าเล่ห์ ต้มตุ๋น เป็นต้น

1111111116. สัมมาวายามะ หมายถึง ความพยายามที่จะหยุดความคิดที่ชั่ว ความรู้สึกที่ชั่ว เป็นความพยายามที่จะควบคุมตัวเอง มีวินัยด้วยตนเอง หยุดกอุศลวิตก ปลุกเร้ากุศลวิตก ขั้นตอนพยายามที่

1111111117. สัมมาสติ หมายถึงการรู้สึกตัวอยู่เสมอ การมีสำนึกในสภาวะที่จิตใจรักษารูปแบบเดิมของตน ถ้าใจมีสติกำกับ อกุศลธรรมจะเกิดมาไม่ได้ การตั้งสติที่ถูกต้องให้กำหนดสติในอารมณ์ 4ประเภท คือ กำหนดการเคลื่อนไหวของกายในอิริยาบถต่างๆ กำหนดที่ความรู้สึกเวทนา เจ็บ สุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ กำหนดความคิดนึกในจิตของตน คิดดีคิดไม่ดี ต้องมีสติกำกับรู้ และกำหนดที่ธรรมารมณ์

1111111118. สัมมาสมาธิ หมายถึงการที่จิตสงบมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านพร้อมที่จะพิจารณาสัจภาวะ หากจิตไม่สงบนิ่งก็เหมือนน้ำที่เป็นคลื่นไหวสั่นพริ้ว ไม่สามารถจะส่องเห็นเงาตัวเองอย่างชัดเจนได้

1111111113) ปฏิจจสมุปบาท

111111111พุทธสัจจะ ได้แสดงหลักของการเกิดขึ้นเพราะอาศัยกับและกันเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท

เน้นถึงทฤษฏีสาเหตุและผล การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ เกิดมีขึ้นได้ด้วยอาศัยปัจจัยต่างๆ เป็นการ

อธิบายสาเหตุของทุกข์ในระดับของจิตวิทยา และกายภาค ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักสำคัญที่คำสอน

เรื่องต่างๆดังพุทธพจน์ว่า

111111111“ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”

(ม.มู 12/346/359)

111111111เพื่อให้เป็นที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ คำสอนที่บอกว่า สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมมีอีกสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุ หรือพอเกิดเหตุอันหนึ่ง ย่อมมีผลตามมาแน่นอน ปฏิจจสมุปบาท เป็นการอธิบายเชิงปัจจัยสัมพันธ์ด้วย เป็นความจริงสูงสุดด้วย นั่นคือ ในแง่ปัจจัยสัมพันธ์พุทธ อธิบายการเกิดของโลก แต่ในแง่ความจริงสูงสุด พุทธอธิบายความหลุดพ้น เพราะตัดห่วงของปัจจัยสัมพันธ์เป็นทางสายกลางระหว่าง สัสสตวาทะ และอุจเฉทวาทะ ดังกล่าวแล้ว

111111111หลักของปฏิจจสมุปบาท มี 4 ขั้นตอน คือ

1111111111. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี

1111111112. เพราะสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

1111111113. เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

1111111114. เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

111111111หัวข้อปฏิจจสมุปบาท 12

111111111อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร

111111111สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ

111111111วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป

111111111นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ

111111111สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ

111111111ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา

111111111เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา

111111111ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน

111111111อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ

111111111ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ

111111111ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรา มรณะโลก ปริเทวะ อุปายาสะ

นี้คือห่วงโซ่แห่งปัจจัยของการเกิด ส่วนห่วงโซ่แห่งปัจจัยการดับ ก็ไล่การดับลงเรื่อยๆเช่น เพราะ อวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะ...ดับ ชราจึงดับ นี่คือการดับแห่งทุกข์ จะเห็นว่า ในห่วงโซ่แต่ละห่วงโซ่ ไม่มีสามเหตุอื่นๆที่เรียกว่า พระเจ้าอยู่เลย เมื่อความทุกข์ดับไป เป็นการบรรลุนิพพาน ก็ไม่มีพระเจ้ามาช่วย ทั้งการเสวยผลกรรมดีหรือชั่วก็เป็นผลที่เกิดจากการกระทำของแต่ละบุคคล

1111111114) เบญจขันธ์

111111111พุทธสัจจะ มองเห็นชีวิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เป็นส่วนประกอบกันเข้าด้วยกันหรือเป็นเพียงการปรุงแต่ง เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมดก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่

111111111ส่วนประกอบส่วนประกอบ 5 ส่วน ที่เรียกว่าเบญจขันธ์ ขันธ์ ซึ่งแปลว่า ส่วน หรือ กองชีวิตสามารถวิเคราะห์ส่วนประกอบได้ดังนี้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 15-16)

1111111111. รูปขันธ์ ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่ายกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติการณ์ต่างๆของสสารพลังงาน

1111111112. เวทนาขันธ์ ได้แก่ ส่วนแห่งความรู้สึก มีสุข ทุกข์ โทมนัส โสมนัส ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง 5 และทางใจ

1111111113. สัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดรู้ได้ หรือการหมายรู้ คือกำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆอันเป็นเหตุให้จำอารมณ์นั้นๆได้

1111111114. สังขารขันธ์ ได้แก่ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิตมีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกายวาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา

1111111115. วิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง 5 และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ


1111111115) กฎแห่งกรรม

111111111คำสอนเรื่องกรรมของพุทธสัจจะ อาศัยคำสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นฐานสำคัญตามคำสอนหลัก 2 ประการนี้ แสดงให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า ชีวิตในปัจจุบัน เป็นผล (วิบาก) ของการกระทำแห่งชีวิตในกาลอดีต และชีวิตในอนาคต ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำในชีวิตปัจจุบัน

111111111กรรม แปลว่า การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา อันได้แก่ ความจงใจ การเลือกคัดตัดสินมุ่งหมายที่จะกระทำ เจตนา หรือเจตจำนงนี้เป็นตัวนำ บ่งชี้ และกำหนดทิศทางแห่งการกระทำทั้งหมดของมนุษย์ ดังกล่าวว่า

“เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ” (องฺ.ฉกฺกฺ 22/63/577)

111111111กรรมนั้น เมื่อจำแนก ตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ แบ่งได้ 2 อย่างคือ

(พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 159-160)

1111111111. อกุศลกรรม กรรมที่เป็นอกุศล การกระทำที่ไม่ดี กรรมชั่ว หมายถึงการกระที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ

1111111112. กุศลกรรม กรรมที่เป็นกุศล การกระทำที่ดี หรือกรรมดี หมายถึงการการะทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ

111111111ถ้าจำแนกตามทวารคือทางที่ทำกรรม หรือทางแสดงออกของกรรม จัดเป็น 3 คือ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), 2542 : 160)

1111111111. กายกรรม กรรมทำด้วยกาย หรือการกระทำทางกาย

1111111112. วจีกรรท กรรมทำด้วยวาจา หรือการกระทำทางวาจา

1111111113. มโนกรรม กรรมทำด้วยใจ หรือการกระทำทางใจ


1111111116) อนัตตา

111111111หลักอนัตตา ซึ่งเป็นปัญหาทางปรัชญาที่บุคคลอื่นเข้าใจยาก เพราะพุทธปรัชญาได้ปฏิเสธความคิดเรื่องความเป็นจริงสูงสุด คือ วิญญาณเป็นอมตะ ที่เรียกว่า อาตมัน (Atman) ของปรัชญาสายพระเวท มีความเชื่อของชนต่างๆ เกี่ยวกับวิญญาณ เช่น ชาวอียิปต์โบราณ เชื่อว่า คนเราประกอบได้ด้วยร่างกาย และวิญญาณ ที่เรียกว่า Ka และ Ba ซึ่งจะต้องคงอยู่ต่อไปหลังความตาย ในปรัชญาคริสต์ทั้งยุคปิตาจารย์และอัสสมาจารย์ ก็กล่าวถึงธรรมชาติของ Anima

111111111หลักอนัตตาของพุทธปรัชญา ปฏิเสธวิญญาณอมตะ ปัญหาเรื่อง อาตมัน ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาตราบจนปัจจุบัน แต่พุทธปรัชญามีความเห็นว่า ความรู้สึก เป็นกระแสต่อเนื่องที่เกิดมาจากความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เกิดก่อนและสิ่งที่ตามมาภายหลัง ไม่มีสิ่งใดที่เปลี่ยนแปลงที่อยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวที่เป็นกระแสนี้ การเกิดใหม่ของวิญญาณนั้น เกิดมาจากจิตดวงเก่า ที่มีกรรมและส่งผลให้เกิดขึ้นตามกฎแห่งกรรม เมื่อหมดกรรมจะไม่มีการเกิดอีกต่อไป

111111111สรุปพุทธปรัชญา

111111111ปรัชญาสายตะวันออกทุกสำนักมีฐานกำเนิดมาจากศาสนา และเป้าหมายสูงสุดรวมทั้งวิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดตามทฤษฎีของแต่ละศาสนานั้นถือว่าเป็นหลักปรัชญาของศาสนานั้นๆ พุทธสัจจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตโดยตรงของคนที่เกิดมาบนโลก จะปฏิเสธมิได้ว่าไม่เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์เลย เช่น

เรื่องอริยสัจ 4 ที่บอกถึงความจริงของชีวิต วิธีการคิดและการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาชีวิตอย่างเป็นระบบแบบวิทยาศาสตร์ กฎไตรลักษณ์ ที่บอกถึงสรรพสิ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติไม่มีผู้บงการบัญชา ครั้นตระหนักรู้ถึงกฎธรรมดาย่อมสามารถควบคุมจิตใจตนเองได้และกฎแห่งกรรมที่สอนให้มนุษย์รับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนกระทำลงไปไม่ว่าดีหรือชั่ว ประการสำคัญที่สุด พุทธปรัชญา กระตุ้นให้มนุษย์แสวงหาความรู้สัจธรรมด้วยความพยายามของตัวเอง ไม่ให้พึ่งอำนาจเหนือธรรมชาติไม่ให้กราบไหว้วิงวอนโดยที่ตัวเองมิได้ลงมือกระทำ ถ้ามนุษย์พยายามด้วยตนเอง จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ประสบความสงบสุขได้แน่นอน พุทธสัจจะจึงถือว่า เป็นมนุษยนิยมที่เน้นการปฏิบัติเป็นฐานเพื่อพิจารณาจิตใจให้สูงขึ้นด้วยคุณธรรมที่ปรากฎในพุทธสัจจะ

หมายเลขบันทึก: 617524เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท