​นายแพทย์ผู้ภักดี กับปรีดี ผู้ปล้นคลังหลวง ...


นายแพทย์ผู้ภักดี กับปรีดี ผู้ปล้นคลังหลวง ...

"ปรีดี พนมยงค์" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เคยนำเงินจากคลังหลวงออกมาจำนวนมาก เพื่อหวังล้มคดี กับนายแพทย์"สปัดซั่ม" ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร แต่ไม่สำเร็จ ...

เมื่อครั้งการสวรรคตของรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับคดีการสวรรคตของพระองค์ท่าน คือการที่นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นบีบให้คณะกรรมการชันสูตรศพ เปลี่ยนคำให้การในการชันสูตรศพ ที่มีกรรมการทั้งหมด ๒๓ ท่าน แต่ต่อมาได้มีการร้องขอจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขอเพิ่มอีกหนึ่งท่านที่มาจากต่างประเทศ คือ พันเอกไดร์เบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอังกฤษ เพิ่มอีกหนึ่งคน ...

แต่มีนายแพทย์ท่านหนึ่งที่ได้ร่วมชันสูตรศพในครั้งนั้น คือศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ที่ถูกนายปรีดี พนมยงค์ เรียกเข้าพบเพื่อคุยเป็นการส่วนตัว เหมือนกับคนอื่นๆในคณะ ... ในการพูดคุยระหว่างนายแพทย์ชุบ โชติกเสถียร และนายปรีดี พนมยงค์ ก็เหมือนกับการพูดคุยกับคณะแพทย์ชันสูตรศพท่านอื่นๆ เพื่อเป็นการร้องขอให้เปลี่ยนผลการชันสูตร จากลอบปลงพระชนม์ เป็นอุบัติเหตุปืนลั่นหรือปลงพระชนม์เอง ... ซึ่งก่อนหน้านั้น ทางกรมตำรวจและรัฐบาล ได้ร่วมกันออกแถลงต่อประชาชน การสวรรคตของรัชกาลที่๘ "เป็นอุบัติเหตุปืนลั่น" ซึ่งขัดแย้งกับผลพิสูจน์ ที่ได้ทดลองที่โรงพยาบาลศิริราช ถึง ๓รอบ ... ดังนั้น การออกแถลงการของรัฐบาล ที่มีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้แถลง จึงมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยของประชาชนเป็นวงกว้าง ...

นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรี ได้ยื่นข้อเสมอให้ ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร จะตอบแทนด้วยรางวัลก้อนใหญ่เหมือนคนอื่นๆที่เรียกมาพบ ด้วยเงินก้อนโตที่วางอยู่ตรงหน้า เมื่อครั้งเห็นท่าทีลังเล ดังนั้นนายปรีดี พนมยงค์ จึงได้ยื่นข้อเสนอให้ใหม่ โดยได้บอกกับนายแพทย์ชุบ ว่า "หากไม่พอใจกับเงินที่วางอยู่ตรงหน้า พรุ่งนี้ ให้นำเอากระเป๋าใบโตมาสองใบ จะเปิดคลังหลวงให้เข้าไปเอาออกมาอย่างเต็มที่จนเป็นที่พอใจ แต่ขอให้เปลี่ยนคำให้การในศาลให้เป็นอุบัติเหตุเท่านั้น" ... แม้จะเสนอรางวัลก้อนโตอย่างงาม แต่ก็ไม่ได้รับการตอบรับจาก ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร แต่ประการใด ...

ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร ท่านเคยได้ทุนเจ้าฟ้าฯเรียนในประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี มีพี่น้องคือ
๑. หลวงประเสริฐไมตรี โชติกเสถียร
๒. พลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร สมุหราชองครักษ์-องคมนตรี
๓. ศ.น.พ.ชุบ โชติกเสถียร
๔. ท่านผู้หญิงศิริ สารสิน เป็นบุตรของ ทูตพระสัมผกิจปรีชา โชติกเสถียร และคุณหญิงฉลวย โชติกเสถียร ซึ่งพลเอกหลวงสุระณรงค์ โชติกเสถียร คือ สมุหราชองครักษ์ ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็น "องคมนตรี"โดยได้รับใช้ดูแลในหลวงรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙ พระพี่นางฯ สมเด็จย่า มาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กในประเทศไทยตอนยังไม่ได้ครองราชบัลลังก์ ก่อนเสด็จฯไปประเทศสวิส ทำให้ ตระกูล "โชติกเสถียร" มีความใกล้ชิดและจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรีเป็นอย่างมาก...

ดังนั้น... การขึ้นให้ปากต่อศาล จึงไม่ได้เป็นไปตามความประสงค์่ของนายปรีดี พนมยงค์ในขณะนั้นไม่ ตลอดเวลาก่อนให้ปากคำ ท่านได้ถูกคุกคามจากภัยมือ ได้มี"เก่งดำ" ติดตามและจอดหน้าบ้านของท่านในกลางคืน จนท่านเองต้องหาทหารพร้อมอาวุธ มาเฝ้าที่บ้านเพื่อความปลอดภัยตลอดเวลา ...

สื่อมวลชนในสมัยนั้น ได้ให้ฉายาท่าน ว่า "หมอสปัสซั่ม" กับ ศ.น.พ.ชุบ เพราะคำให้การที่อธิบายถึงคนที่จะยิงตัวตายได้ จะต้องมีอาการเกร็ง หรือ "สปัสซั่ม(Spasm)" แต่ในหลวงรัชกาลที่ ๘ ไม่มีพระอาการดังกล่าว นั่นยิ่งแน่ชัดว่าเป็นการลอบปลงพระชนม์ ... คำให้การของท่านจึงมีน้ำหนัก จนศาลเชื่อได้ว่า "เป็นการถูกลอบปลงประชนม์" ...

ในขณะที่ขึ้นให้ปากคำต่อศาล นายปรีดี พนมยงค์ ได้อยู่ในศาลตลอดเวลา แต่ไม่ได้อยู่ในห้องพิจารณาคดี แต่ได้หลบอยู่ข้างหลัง ซึ่งในครั้งนั้น ก็ได้มีภรรยาของ "ร.อ.วัชรชัย ชัยสิทธิเวช" อยู่บนศาลด้วย จึงเป็นที่มาของการข่มขู่ผู้ที่ทุกคนคาดว่า"น่าจะเป็นมือปืนผู้ลั่นไก" ลอบปลงพระชนม์ ... ซึ่ง ร.อ.วัชรชัย คือคนสนิทของนายปรีดี พนมยงค์นั่นเอง แล้วต่อมา ก็ได้เดินทางหลบหนีออกนอกประเทศกับนายปรีดี พนมยงค์ไปยังประเทศจีน และยังได้ร่วมกันก่อการกบฎในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง แต่ไม่เคยสำเร็จ ล้มเหลวทุกครั้ง ...

นี่จึงเป็นบทพิสูจน์บทหนึ่งว่า... นายปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้มีส่วนรู้เห็นในการที่ ร.๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ถูกลอบปลงพระชนม์ ... แล้วจัดฉากโยนบาปให้กับผู้ใกล้ชิดของพระองค์จนมัวหมอง บ้างก็ถูกศาลตัดสินประหารชีวิต ... จึงเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ทั้งสองพระองค์ถูกนายปรีดี กระทำย่ำยีในขณะนั้น ...

คัดลอกจากบทความของ ม.ล.ภูดิศ ศุขสวัสดิ์ ใน Facebook

หมายเลขบันทึก: 617506เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2016 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ บทความที่อ่านแล้ว "ปวดหัวใจนัก" ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท