​ชีวิตที่พอเพียง : 2761. โรคจิตจากติดโซเชี่ยลมีเดีย



บทความเรื่อง Generation Z : Online and at Risk? ให้ภาพที่น่ากลัวมาก ที่เด็กจะได้รับจากสภาพเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน


เขาเล่าเรื่องเด็กนักเรียนหญิงชื่อ Heidi อายุ ๑๓ ปี ที่เดิมเป็นเด็กน่ารัก ผลการเรียนดีเยี่ยม และชอบกีฬากลางแจ้ง เช่นไปขี่จักรยานเสือภูเขากับพ่อ ในช่วงเวลาปีเดียวกลายเป็นเด็กมีปัญหาทางจิต ต้องเข้ารับการรักษาทางจิตแบบฉุกเฉิน สองครั้งแล้ว


เริ่มจากโรงเรียนแจกคอมพิวเตอร์ Chromebook ให้ใช้ติดตัว ในคอมพิวเตอร์มี Google Classroom และมีช่องทางติดต่อทางโซเชี่ยลมีเดีย คือ Google Chat อยู่ด้วย นำไปสู่การติด Chat room ของ Heidi พ่อแม่จะปิดส่วนนี้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของ Google Classroom ต่อมา Heidi ก็ติดเกม Squarelaxy ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางจิต ถึงกับขู่จะฆ่าพ่อแม่ที่ปิด wifi ไม่ให้เล่นเกม


นี่คือตัวอย่างสุดโต่ง เด็กส่วนใหญ่ที่มีโซเชี่ยลมีเดียใช้ ไม่ได้เสพติดจนเกิดปัญหาทางจิตเช่นนี้ แต่ก็มีผลการวิจัยที่บอกว่าความยาวนานในการใช้เฟสบุ๊กในแต่ละวัน มีสหสัมพันธ์กับการเกิดโรคซึมเศร้า จึงเกิดคำว่า Facebook depression


เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ และโซเชี่ยลมีเดีย ช่วยให้โลกเราเข้าสู่ยุคเชื่อมต่อ (networking society) แต่เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สภาพ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” (human touch) จิตใจคนจึงแห้งแล้ง ไร้ความสุข และเป็นโรคจิตได้ง่าย รวมทั้งเข้าสู่อบายมุขได้ง่าย วัยที่เสี่ยงที่สุดคือวัยรุ่น


สิ่งใดที่มีคุณอนันต์ ย่อมมีโทษมหันต์อยู่ด้วย ทำอย่างไรลูกหลานของเราจึงจะรู้จักใช้ส่วนที่เป็นคุณ หลีกเลี่ยงส่วนที่เป็นโทษ


คำตอบของผมคือ ฝึกความสามารถในการควบคุมตนเอง หรือการมีวินัยในตน บังคับใจตนเองได้ ซึ่งในทางวิชาการเรียกว่าฝึก EF & Self Regulation




วิจารณ์ พานิช

๓๐ ส.ค. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 616443เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 07:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2016 07:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท