การดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยใจ (รายละเอียดต่อจากบันทึกที่แล้ว)


การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นหน้าที่ของครูที่ปรึกษา

การดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นหน้าที่ของครูที่ปรึกษาต้องคอยดูแล สอดส่อง นักเรียนที่รับผิดชอบ ให้เรียนอย่างมีความสุขและสนุกกับการมาเรียนหนังสือ เมื่อเกิดความสุขและสนุกกับการมาโรงเรียน จะทำให้นักเรียนไม่หลบหนีการเรียน หรือมาโรงเรียนแล้วไม่ถึงโรงเรียน ซึ่งทุกวันนี้นักเรียนที่ไม่เข้าโรงเรียนทำให้เกิดปัญหาต่อสังคมทั้งที่บ้านและโรงเรียน เกิดการมั่วสุมของวัยรุ่น

ทั้งในด้านสารเสพติดและเรื่องเพศ

ฉนั้นการเป็นครู เป็นอาชีพที่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชนและนักเรียน ที่นักเรียนสามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตประจำวันได้เหมาะสมและถูกต้อง การเริ่มต้นให้นักเรียนเป็นคนดีของสังคมนั้นควรจะเริ่มต้นที่ตัวครูเป็นหลัก ทุกวันนี้นักเรียนเปรียบเสมือนผ้าขาว

ที่ผู้บริหารมอบให้ครูแต่ละคนรับผิดชอบดูแล แก้ไขและส่งเสริมที่จะทำให้ผ้าขาวแต่ละผืนยังคงความขาวบริสุทธิ เป็นผ้าที่มีคุณภาพ ถ้าผ้าขาวแต่ละผืนคือนักเรียนแต่ละคนมีคุณภาพดี ก็จะทำให้สังคมและประเทศชาติมีวัตถุที่มีคุณภาพและคุณค่าควรคู่ประเทศต่อไป

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ครูทุกคนควรนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยตรงต่อนักเรียน ซึ่งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบ่งเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

1.การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล

2.การคัดกรองนักเรียนเป็นรายบุคคล

3.การแก้ไขปัญหา

4.การส่งเสริมด้านความสามารถพิเศษ

5.การส่งต่อ

ในจำนวน 5 ขั้นตอนนี้ ข้าพเจ้าคิดว่าขั้นตอนที่ 1 และ 2 เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลนั้นไม่ใช่รู้จักแค่หน้าตา,การแต่งกาย,การแสดงพฤติกรรม

หรือจากประวัติข้อมูลส่วนตัว การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลนั้นสิ่งที่สำคัญคือครูต้องไปเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและถูกต้อง

ข้าพเจ้าได้เริ่มโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนเมื่อปีการศึกษา 2544จากนักเรียนชั้น ม.1/1 โดยคัดนักเรียนที่มีครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์เป็นตุ๊กตาในการออกเยี่ยมบ้าน เพราะนักเรียนที่มีครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์นั้นมักจะมีปัญหาค่อนข้างมากกว่านักเรียนที่มีครอบครัวที่สมบูรณ์ จากการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนในปี 2544 ทำให้ได้รับข้อมูลการใช้ชีวิตของนักเรียนในขณะที่อยู่ที่บ้านกับผู้ปกครองแตกต่างกันไป บางคนอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง บางคนอยู่ในเกณฑ์มีปัญหาในบางด้าน ประโยชน์ที่ได้รับคือนำข้อมูลมาดำเนินดูแลแก้ไขให้กับนักเรียนได้

การเยี่ยมบ้านนักเรียนนั้นทำให้ครูได้รับประโยชน์มากมายนอกจากตัวนักเรียนแล้วเรายังได้รับทราบข้อมูลของผู้ปกครองของแต่ละคนในการดำรงชีวิตประจำวันที่สามารถบ่งบอกถึงระบบเศรษฐกิจในครอบครัวของนักเรียนได้เป็นย่างดี

ในปีการศึกษา 2545 ได้รับมอบหมายให้เป็นครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/5 มีนักเรียน 56 คน (ใช้ระบบครูที่ปรึกษาปีต่อปี) ได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนอีกประมาณ 28 คน ทำให้ได้ฃ่วยเหลือนักเรียนได้ตรงเป้าหมายมากขึ้นและดูแลนักเรียนได้ทุกคนให้อยู่ในระเบียบของนักเรียนเป็นอย่างดี

ปีการศึกษา 2546 ได้เป็นครูที่ปรึกษาชั้น ม.1/10 มีนักเรียน 59 คน เป็นปีแรกที่โรงเรียนใช้ระบบครูที่ปรึกษาแบบติดตามเป็นเวลา 3 ปี ( 2546 – 2548) จนนักเรียนจบ ม.3 ซึ่งข้าพเจ้าได้ตั้งใจว่าจะต้องออกเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ครบ 59 คน 100 % โดยใช้เวลาในการเยี่ยมบ้านนักเรียนในวัน เสาร์ – อาทิตย์เป็นหลัก เป็นเวลา 2 ปีจึงเยี่ยมบ้านนักเรียนจนครบ 100 % โดยมีนักเรียนที่มีบ้านไกลสุดคือ หมู่บ้านวังไผ่ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี มีระยะทางไป – กลับ ประมาณ 80 กิโลเมตร

ปีการศึกษา 2549 ได้เป็นครูที่ปรึกษาชั้น ม. 1/7 มีนักเรียนจำนวน 58 คน ข้าพเจ้าได้ตั้งใจว่าจะต้องออกเยี่ยมบ้านรักเรียนทุกคนให้ครบ 100 % ภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โดยใช้ช่วงเวลาตอนเย็นของวันอัคารและวันพฤหัสบดี เริ่มออกเยี่นมบ้านนักเรียนตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม จนครบ 100% สาเหตุที่ต้องออกเยี่ยมบ้านใหเครบโดยเร็วเพราะมีเรื่องทุนเข้ามาหลายรายการจึงจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกนักเรียนให้ตรงกับความจำเป็นหรือปัญหาของนักเรียนจริงและตรงเป้าหมายที่เราจะให้การช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนชุดนี้มีบ้านไกลสุดอยู่ที่หมู่บ้านน้ำโจน อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี โดยใช้ระยะทาง ไป – กลับ ประมาณ 60 กว่ากิโลเมตรในการเริ่มต้นเยี่ยมบ้านนักเรียนตั้งปี 2544 – 2549 ข้าพเจ้าได้ใช้งบประมาณส่วนตัวทั้งหมด ไม่เคยเบิกงบประมาณจากโรงเรียนเลย ที่มีค่าใช้จ่ายมากคือ ค่าน้ำมันรถ (รถส่วนตัว)และค่าฟิล์มค่ารูปภาพ ส่วนเรื่องเอกสารก็ใช้ของโรงเรียนเป็นบางส่วนและใช้งบส่วนตัวบ้าง

การคัดกรองนักเรียนต้องได้ข้อมูลตามสภาพจริงมาคัดกรอง ไม่ใช่นั่งอยู่ในโรงเรียนแล้วจะคัดกรองได้ถูกต้อง การคัดกรองถูกต้อง การแก้ปัญหาก็จะถูกเป้าหมายด้วยครู หรือ คุรุ คือผู้ให้ ให้ความรู้ ให้ความอบอุ่น ให้ความยุติธรรม ให้ความเป้นกันเองกับนักเรียน และเป็นที่พึ่งของนักเรียนได้ ครูต้องเปรียบเสมือนเป็นพ่อ – แม่ คนที่ 2 ของนักเรียนได้

“การให้ที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน เป็นการให้ด้วยความบริสุทธิใจ ทำให้เกิดความสุขในชีวิตได้”

การทำงานทุกอย่างควรทำด้วยความสมัครใจ งานที่ทำก็จะมีคุณภาพและเกิดความภาคภูมิใจ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มีความคิดในแนวทางเดียวกัน และขอให้บุญกุศลช่วยให้ทุกท่านประสบความสุขในชีวิตส่วนตัว ครอบครัวตลอดไป

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ติอต่อ โทร 081 – 9032724 ครูอำนาจ

หมายเลขบันทึก: 61594เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขออนุโมทนาในการสร้างกุศลกับงานที่ดูแลช่วยเหลือเด็กๆโดยไม่หวังผลตอบแทน นะครับ
ชอบคำนี้ค่ะ  การรู้จักเด็กไม่ใช่แค่รู้จักหน้าตา  ความใส่ใจในรายละเอียดของเด็กเป็นเรืองสำคัญ  ขอบคุณในแนวคิด และแนวทางที่ดีนี้ค่ะ
อยากฟัง case ที่สุดๆในแต่ละด้านจากประกพการณ์เยี่ยมบ้าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท