พุทธสาวก พุทธสาริกา


พระอัสสชิ

เป็นผู้มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นครูที่ดี ชักนำให้อุปติสสะบวช(ต่อมาคือพระสารีบุตร)

พระกีสาโคตรมีเถรี

เอตทัคคะในด้าน “การครองจีวรเศร้าหมอง”

พระอนุรุทธะ

เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้า เอตทัคคะ “ทิพยจักขุ” มีสันโดษในปัจจัย 4

พระองคุลิมาล

มีชีวิตต้นคด ปลายตรง

พระธัมมาทินนาเถรี

มีความเป็นเลิศในการแสดงธรรม(ธรรมกถึก)

พระอานนท์

เป็นพุทธปัฏฐาก(ผู้รับใช้)พุทธอนุชา เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะหลายด้าน เช่น เป็นพหูสูต มีธิติ สติ คติ จดจำพระพุทธพจน์ได้ดี เป็นภัณฑาคาริก (ขุนคลังทางปัญญา)

พระปฏาจาราเถรี

เอตทัคคะในด้าน การจดจำพระวินัย

พระนางมัลลิกา

เป็นหญิงงามแบบกัลยาณี โดดเด่นเรื่องการเข้าใจชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม

หมอชีวกโกมารภัจจ์

เป็นหมอประจำพระพุทธเจ้า ริเริ่มการถวายจีวรเป็นคนแรก เป็นเอตทัคคะด้านการเป็นที่รักของปวงชน

จิตตคหบดี

ถวายสวน อัมพาฎกวัน ยกย่องเป็นอุบาสกธรรมกถึก

จูฬสุภัททา

มีความสามารถด้านวาทศิลป์และมีเหตุผล

สุมนมาลาการ

มีคุณธรรมด้านความกล้าและความเสียสละ

พระนาคเสนและพระยามิลินท์

บทสนทนาของทั้งสองท่าน คือ มิลินทปัญญา พระนาคเสน รักการศึกษาหาความรู้

(ธัมมกามตา) พระยามิลินหรือเมนันดอร์ สนใจศาสนาและปรัชญา

พระนารายณ์มหาราชมั่

นคงในพระพุทธศาสนา ถึงแม้นว่าฝรั่งเศสต้องการให้พระองค์เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. 121 จัดตั้งมหาจุฬาลงกรณ์

สมเด็จพระวันรัต(เฮง เขมจารี)

พระสงฆ์ผู้บุกเบิกการจัดการศึกษาแก่พระสงฆ์ฝ่ายมหายานแตกฉานพระปริยัติธรรม เป็นนักการบริหารคณะสงฆ์ที่ดีเยี่ยม


พระอาจารย์มั่น ภูริฑัตโต

พระป่าสายนักปฏิบัติด้านวิปัสสนากรรมฐาน


พระโพธิญาณเถระ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

ตั้งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ใช้ชีวิตเรียบง่าย มีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด เน้นความถูกต้องตามพระวินัยได้รับฉายาว่า”พระวิปัสสนาจารย์ผู้ทำให้ดอกบัวบานในโลก


พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

ตั้งสวนโมกขพลาราม จังหวัดสุราษฏร์ธานี เน้นการสอนให้เข้าใจธรรมะอย่างแท้จริง เน้น”แก่นธรรม”

เผยแพร่พระพุทธศาสนา มีงานเขียนจำนวนมาก โดดเด่น คือ คู่มือมนุษย์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ทัพธรรม

สมัยกึ่งพุทธกาล องค์การยูเนสโก ยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี 2548


พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)

โดดเด่นด้านการแสดงธรรมด้วยภาษาง่าย เน้นการยืนเทศน์ ได้รับฉายาว่า “ภิกษุใจสิงห์”และถือเป็นสหายธรรมของ

ท่านพุทธทาสภิกขุ ถือว่าท่านเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่ไปประกาศธรรมที่ภาคพื้นยุโรป


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)

เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีความแตกฉานในพระไตรปิกฎ สามารถสอบเปรียญธรรม9 ประโยคได้ตั้งแต่เป็นสามเณร

มีความเพียรและความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ


อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

ปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ตอนบวชเป็นพระรูปแรกที่แสดงธรรมเป็นภาษาอังกฤษเขียนตำรา ร่วมจัดตั้งองค์การ

พุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขียนพระไตรปิกฎฉบับประชาชน


ดร.ภิมจิ รามจิ อัมเบดการ์

เกิดในวรรณะศูทร นำพาวรรณะจัณฑาลประกาศตนเป็นพุทธมามกะ เพราะว่าพระพุทธศาสนาไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ

ได้รับฉายาว่า “อภิชาตบุตรแห่งหริชน”


อนาคาริ ธรรมปาละ นามเดิม เดวิด เทวะวิตถรณะ

มีบทบาทอย่างสูงต่อการฟื้นฟูและปกป้องพระพุทธศาสนาในอินเดีย ผลงานสำคัญ คือ การเรียกร้องให้คืนพุทธคยา

กลับมาเป็นสมบัติของชาวพุทธ

หมายเลขบันทึก: 613439เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2016 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2016 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท