ปอท.โชว์จับแก๊งแฮกเกอร์ เจาะบัญชีธนาคารออนไลน์


เมื่อวันที่ 29 ก.ค. พล.ต.ต. ศิริพงษ์ ติมุลา ผกก.ปอท. พ.ต.อ สมพร แดงดี รอง ผกก.ปอท. และ พ.ต.อ.ยศวีร์ พรพีพาน ผกก 1.บก.ปอท. แถลงจับกุมนายธงชัย แก้วศรีพุฒ อายุ 27 ปี น.ส.กรณ์ณัฐศา อภิธนาพิพัฒน์ อายุ 28 ปี นายครรชิต เอี่ยวกุล อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1667, 1668 และ 1669/2558 ลงวันที่ 24 ก.ค.58 ในข้อหา "ลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตราป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรานั้นมิได้มีไว้สำหรับตนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน" พร้อมของกลาง โน้ตบุ๊ค บัตรเอทีเอ็ม สมุดธนาคาร โทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง และเครื่องคอมพิวเตอร์

พล.ต.ต. ศิริพงศ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา น.ส.ผกามาส บุศยบุตร ผู้เสียหาย ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ กับ ปอท. กรณีเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา มีคนร้ายเข้าทำรายการโอนเงินออกจากบัญชี ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง จำนวน 163,500 บาท และเลขหมายโทรศัพท์ของตนเองใช้งานไม่ได้ ทางกก 1.บก.ปอท. จึงสืบสวนหาข้อมูลและออกหมายจับคนร้าย 3 คน โดยสืบทราบว่า ผู้ต้องหาทั้งหมดกระทำความผิดในจังหวัดยะลา จึงประสานแจ้งข้อมูลกับ เจ้าหน้าที่กก.1 บก.ปอท. สภ.เมืองยะลา บก.สส.ภ.จว.ยะลา กระทั่งเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กก.1 บก.ปอท.จึงเข้าจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3 รายได้ในพื้นที่อ.เมืองยะลา จากนั้นได้นำตัวผู้ต้องหาไปค้นบ้านพักของผู้ต้องหาซึ่งเป็นสถานที่ในการทำความผิด พบหลักฐานหลายรายการ คือโทรศัพท์ที่คนร้ายใช้ในการรับรหัสผ่านใช้ครั้งเดียวซึ่งใช้กับบัญชีผู้เสียหายและคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้กระทำความผิด

ผกก.ปอท. กล่าวต่อว่า เชื่อว่าคนร้ายทั้ง 3 ได้กระทำความผิดมากกว่า 10 บัญชี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลักล้าน จึงอยากฝากเตือนประชาชนที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำ ให้ระมัดระวังไวรัสหรือมัลแวร์ต่างๆ ไม่ควรโหลดโปรแกรมหรือไฟล์แนบจากอีเมล์และเว็บไซต์ของผู้ที่ไม่รู้จักมาก่อน เพราะไฟล์เหล่านี้ อาจจะมีไวรัสหรือมัลแวร์ติดมาด้วย ในส่วนของธนาคารอยากให้มีการปรับปรุงตรวจสอบให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สำหรับนายครรชิต หนึ่งในผู้ต้องหา ให้การสารภาพว่า ตนและพวกได้กระทำความผิดในลักษณะนี้มาประมาณ 1 เดือนแล้วและทำมาหลายธนาคาร โดยใช้มัลแวร์ หรือไวรัสโทรจันในการเจาะระบบข้อมูลในการขโมยข้อมูลจากเครื่องผู้เสียหายและปลอมบัตรประชาชนผู้เสียหายเพื่อไปเปิดซิมการ์ดใหม่สำหรับรับรหัสผ่านในการโอนเงินผ่านเข้าบัญชีของตนเองและพวกส่วนเงินที่ได้มานั้นนำมาใช้ทั่วไป....

สรุป ปัจจุบันการใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเข้าไปดำเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้นในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/crime/338253

หมายเลขบันทึก: 612771เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2016 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท