Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ปรนัยวิเคราะห์เพื่อฝึกฝนความเข้าใจเกี่ยวกับภาคประชาสังคมในฐานะกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน


กรณีศึกษากลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน : ภาคประชาสังคม

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙

-----------

คำถาม[1]

---------

  1. ถามว่า อะไรคือลักษณะของภาคประชาสังคม
    • ก.เป็นการรวมตัวขององค์กรที่มิใช่ของรัฐ และเป็นอิสระจากรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์พลเมืองของรัฐ
    • ข.เป็นองค์กรซึ่งเกิดจากการจัดตั้งของรัฐ แต่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์พลเมืองของรัฐ
    • ค.เป็นองค์กรซึ่งเกิดจากการความร่วมมือระหว่างองค์กรรัฐและประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์พลเมืองของรั
    • ง.ถูกทุกข้อ
  2. ถามว่า ข้อใดดังต่อไปนี้ไม่มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม
    • ก.กรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
    • ข.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    • ค.มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ซึ่งมีข้อตกลงกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
    • ง.ถูกทุกข้อ
  3. ถามว่า องค์กรในภาคประชาสังคมมักมีเจตจำนงเพื่อพลเมืองในลักษณะใด
    • ก.เพื่อสิทธิในสุขภาวะของผู้ด้อยโอกาสในสังคม อาทิมูลนิธิเพื่อดูแลคนพิการ
    • ข.เพื่อประโยชน์ร่วมกันของมนุษย์ที่ประกอบอาชีพเดียวกัน อาทิ สมาคมเพื่อการรวมตัวกันของผู้ประกอบธุรกิจเฉพาพเรื่อง
    • ค.เพื่อการส่งเสริมความเชื่อของมนุษย์ที่มีอยู่ร่วมกัน อาทิ สมาคมทางศาสนา
    • ง.ถูกทุกข้อ
  4. ถามว่า อะไรคือแนวคิดในการจำแนกองค์กรในภาคประชาสังคมที่น่าจะถูกต้อง
    • ก.องค์กรในภาคประชาสังคมอาจถูกจำแนกได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) องค์กรที่ทำงานภายในประเทศใดประเทศหนึ่ง และ (๒) องค์กรที่ทำงานข้ามประเทศ
    • ข.องค์กรในภาคประชาสังคมอาจถูกจำแนกได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) องค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และ (๒) องค์กรที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
    • ค.องค์กรในภาคประชาสังคมอาจถูกจำแนกได้ ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) องค์กรที่ทำงานด้านวิชาการ และ (๒) องค์กรที่ทำงานด้านปฏิบัติ
    • ง.ถูกทุกข้อ
  5. ถามว่า ข้อใด “มิใช่” ข้อวิเคราะห์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับบางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
    • ก.ไม่อาจมีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
    • ข.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะแม้เป็นองค์กรที่ทำงานในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ แต่เกิดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักศึกษาที่สนใจในการใช้วิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในการสร้างต้นแบบการทำงานเพื่อการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายให้แก่มนุษย์ในสังคมไทย จึงเป็นอิสระจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ
    • ค.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่ (๑) ทำงานข้ามประเทศ (๒) ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และ (๓) มีวัตถุประสงค์ในการทำงานวิชาการเพื่อพัฒนาต้นแบบทางกฎหมาย
    • ง.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมนุษย์ที่ยังประสบปัญหาการรับรองสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันทำให้ประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือปัญหาความเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ
  6. ถามว่า ข้อเท็จจริงในข้อใดที่อาจทำให้ คลินิกโรงพยาบาลอุ้มผาง อาจไม่มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม
    • ก.ไม่อาจมีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยโรงพยาบาลชุมชนของรัฐ
    • ข.ไม่อาจมีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะบุคลากรบางส่วนมีสถานะเป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงสาธารณสุข จึงไม่เป็นอิสระจากองค์กรของรัฐ
    • ค.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่ (๑) ทำงานข้ามประเทศ (๒) ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และ (๓) มีวัตถุประสงค์ในการทำงานวิชาการเพื่อพัฒนาต้นแบบทางกฎหมาย
    • ง.ถูกทุกข้อ
  7. ถามว่า ข้อใด “มิใช่” ข้อวิเคราะห์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโครงการสี่หมอชายแดนตาก
    • ก.ไม่อาจมีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยโรงพยาบาลชุมชนของรัฐ
    • ข.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะแม้เป็นองค์กรที่สมาชิกส่วนหนึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนของรัฐ แต่สมาชิกอีกส่วนก็เป็นองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐ
    • ค.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่ (๑) ทำงานข้ามประเทศ (๒) ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปทำงาน และ (๓) มีวัตถุประสงค์ในการทำงานด้านปฏิบัติเพื่อให้ความช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกเป็น “ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง (Urban Refugee)”
    • ง.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมนุษย์ที่ยังประสบปัญหาการรับรองสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันทำให้ประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือปัญหาความเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ เช่นกัน
  8. ถามว่า ข้อใด “มิใช่” สมาชิกของโครงการสี่หมอชายแดนตาก
    • ก.โรงพยาบาลอุ้มผาง/โรงพยาบาลพบพระ/โรงพยาบาลท่าสองยาง/โรงพยาบาลแม่ระมาด
    • ข.โรงพยาบาลเมืองตาก/โรงพยาบาลสามเงา/โรงพยาบาลบ้านตาก/โรงพยาบาลแม่สอด
    • ค.บางกอกคลินิก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • ง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
  9. ถามว่า ข้อใด “มิใช่” ข้อวิเคราะห์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับ BPSOS
    • ก.ไม่อาจมีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับมนุษย์ที่มีสถานะเป็น “ผู้ลี้ภัย” ที่อาจเข้ามาในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไทยว่าด้วยคนเข้าเมือง
    • ข.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคม เพราะแม้เป็นองค์กรที่ทำงานอย่างเป็นอิสระจากองค์กรของรัฐทุกรัฐบนโลก เพื่อมนุษย์ที่เคยหลบหนีออกจากประเทศเวียดนามใต้ในยุคที่มีความขัดแย้งกับประเทศเวียดนามเหนือ ตลอดจนครอบครัว ซึ่งอาจประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือปัญหาความเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติอยู่ในปัจจุบัน
    • ค.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่ (๑) ทำงานข้ามประเทศ (๒) อาจมีหรือไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปทำงาน และ (๓) มีวัตถุประสงค์ในการทำงานด้านปฏิบัติเพื่อให้ความช่วยเหลือมนุษย์ที่ตกเป็น “ผู้ลี้ภัยในเขตเมือง (Urban Refugee)”
    • ง.มีสถานะเป็นองค์กรในภาคประชาสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อมนุษย์ที่ยังประสบปัญหาการรับรองสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมาย อันทำให้ประสบปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ หรือปัญหาความเสมือนไร้รัฐไร้สัญชาติ เช่นกัน
  10. ถามว่า ข้อใดเป็นประโยชน์ที่รัฐได้จากการยอมรับให้ภาคประชาสังคมเกิดขึ้นและทำงานอย่างเป็นอิสระ
    • ก.เป็นกลไกส่งเสริมการจัดการสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่องค์กรของรัฐทำไม่ได้
    • ข.เป็นกลไกส่งเสริมการจัดการสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่องค์กรของรัฐทำผิดพลาด
    • ค.เป็นกลไกส่งเสริมการจัดการสิทธิมนุษยชนในเรื่องที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน จึงเป็นการรับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน และเป็นการสร้างบรรยากาศประชาธิปไตยให้แก่ประเทศ
    • ง.ถูกทุกข้อ

[1] ข้อสอบในวิชา น.๓๙๖ สิทธิมนุษยชน หลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ ภาคฤดูฝน เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 611767เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2016 01:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2016 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท