คิดเป็นระบบ ลบภาพร้าย คลายจิตกลัว ตัวมั่นใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่มีความดีงามตามหาความฝันด้วยความพยายามที่จะรักตัวเองให้มากๆ เพื่อต่อสู่กับภาพความคิดลบจากการใช้สมองอารมณ์ที่เคยชินกับโกรธกลัวระแวงที่ลวงอยู่ในใจมากตลอดเวลาที่ครุ่นคิดตามจริตลักษณ์ 6

ผมได้ประเมินและฝึกกิจกรรมบำบัดบูรณาการจิตใต้สำนึกให้เคสนี้มาได้ 5 ครั้งๆละ 2 ชม. ก็พบว่า “มีความก้าวหน้าดีขึ้นมาก โดยเฉพาะจากอารมณ์เศร้าทุกครั้งที่พูดย้อนอดีตและชวนให้คิดถึงการวางแผนชีวิตในวันข้างหน้า ก็ดูสงบน้ำตาซึมเล็กน้อยและค่อยๆคิดตอบโต้ซักถามอย่างมีชีวิตชีวาและดูคิดเป็นระบบรวดเร็วมากขึ้น…วันนี้ก็ค้นพบ Self-efficacy ถึง 70% จากใจ ทั้งๆที่จากการทำแบบทดสอบ Transactional Analysis (TA) พบภาวะผู้นำด้วยพลังเมตตา 42% (สมองสองซีก) พลังร่าเริงเพียง 21% (สมองซีกขวาที่ควรเพิ่มจินตนาการ) และพลังเหตุผล 37% (สมองซีกซ้ายที่คิดกังวลตามลักษณ์ 6 ที่ควร “แตะแล้ววาง หรือ ปล่อยวางความคิด ซึ่งตอนหลังเคสค้นพบคำจากจิตใต้สำนึกเมื่อทำ State Management ด้วยการเลือกท่าโยคะที่รู้สึกดี 8-9/10 แล้วปรับท่าทางความรู้สึกขณะปรับท่าทางเมื่อมีการใส่เก้าอี้เตี้ย-บอล-ยืนทรงตัว)” เมื่อคิดทางตรรกะก็จะเห็นว่า “สมองสองซีกควรทำงานได้ตามความคิดตอบแบบสอบถาม TA คือ 21% + 37% = 56% แต่ทำได้จริงๆ ที่รู้สึกจากตัวเคสเองต้องเติมเต็มถึง 56% - 42% = 16% คือ ความร่าเริงผ่านกิจกรรมที่ชอบเคลื่อนไหวจะเพิ่มจินตนาการได้ดีขึ้น จากการฝึกกิจกรรมบำบัดที่ผ่านมา 4 ครั้ง และน่าสนใจที่คุณแม่ก็มีลักษณ์ 6 เหมือนเคสลูก ที่มีพลังเหตุผล 33% พลังเมตตา 34% และพลังร่าเริง 32% ซึ่งจะช่วยเป็นโค้ชที่ปรึกษาให้ลูกได้เสมอ

โดยเฉพาะเมื่อค้นพบการทำแบบสำรวจลักษณ์และทบทวนจุดแข็งกับจุดที่ควรพัฒนาของลักษณ์ของเคสคือ “ลักษณ์ 6” ที่ผมดึงจุดแข็งของลักษณ์ 5 และ 7 มาชวนท้าทายคิดแบบจิตใต้สำนึกด้วยกระบวนการ Chunk Size และ Meta Model & Program ในรูปแบบ Rapport Feedback & Mentor to Sponsorship

คราวนี้ผมพบความน่าสนใจขณะฝึกเคสทำท่าคิดฝันให้เห็นภาพที่รู้สึกดี ท่าคิดวิเคราะห์ความเป็นได้ และท่าที่เรียนรู้ตั้งใจทำจริง ตามกระบวนการ NLP - Walt Disney Strategy คลิกอ่านที่นี่ [Citation with Acknowledgement at http://nlp-now.co.uk] ร่วมกับการเดิน Logical Levels of Change กับการใช้ Cut-Movie ในภาพที่สมองอารมณ์ดึงดูดให้นำอดีตมาประมวลผลด้วยทั้งภาพดีและภาพร้าย ก็พบว่า เคสต้อง Cut ภาพร้ายออกไปเป็นระยะๆ ถึง 2-5 ภาพก่อนที่จะต้องตั้งคำถามที่ปรับและเชื่อมต่อจากคำพูดด้วยการจับหัวใจในทุกการก้าวเดินไปกลับ ลองมาเรียนรู้บทสนทนาจากใจได้อย่างน่าปลื้มใจในความพยายามรักตัวเองอย่างไว้ใจและเชื่อใจทั้งเคสกับโค้ชกว่า 2 ชม. ดังนี้

รอบที่หนึ่ง: น้องเห็นภาพฝันอะไร…“ชอบภาพเป็นครูอาสาสอนเด็กบนดอย” วิเคราะห์ว่าจะให้ทำฝันนี้มีประโยชน์อย่างไร “เด็กสอนความสนุกสนานและจินตนาการให้สุขภาพอารมณ์ดี แต่ต้องคุยกับพ่อแม่ให้มั่นใจในการดูแลตนเอง การเปลี่ยนบรรยากาศทำให้ปรับการนอนให้หลับยากวันแรกและหลับดีวันต่อๆไปจากที่เคยไปค่ายอากาศเย็นๆ” แล้วจะต้องทำอะไรก่อนเพื่อให้ฝันเป็นจริง “บอกหมอจันทร์นี้ว่า จะเตรียมตัวทดลองไปทริปสั้นๆ 2-3 วันร่วมงานค้นจากธนาคารจิตอาสาและลองค้นหาคอร์สออนไลน์ที่จะช่วยนำไปสอนเด็ก พร้อมๆ มีอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ชอบสะสมไว้สอนหลานๆ แล้ว [มีช่วงอารมณ์ลังเลเข้ามาทำให้ความมั่นใจเหลือเพียง 30% แต่พอกระตุ้นจับหัวใจและทบทวนปล่อยวางอารมณ์ก็ทำให้เห็นความตั้งใจถึง 70%]”

รอบที่สอง: น้องเห็นภาพฝันอะไร…“อยากไปเรียนต่ออเมริกา หลักสูตรผู้ประกอบการที่จะต่อยอดเป็นผู้บริหารธุรกิจที่บ้าน อีก 10 ปีข้างหน้า” วิเคราะห์ว่าจะให้ทำฝันนี้มีประโยชน์อย่าง ไร “ผ่อนคลายหายกลัว แล้วอยากทำอะไรที่ได้เงินเพื่อตนเองและครอบครัว แล้วต้องทำอะไรก่อนเพื่อให้ฝันเป็นจริง “บอกพ่อแม่ให้มั่นใจในการดูแลการกินยาด้วยตนเองได้ถึง 80% อีก 20% ห่วงปรับตัวเรื่องนอนหลับยาก จากนั้นก็มีมองไว้สองมหาลัยนานาชาติที่ต้องเตรียมคะแนนภาษาอังกฤษ”

รอบสุดท้าย: น้องเห็นภาพฝันอะไร…“ซ้อนกันระหว่างภาพพระราบิดากับรัชกาลที่ห้า [สักพักมีภาพอดีตให้ Cut-Movie ภาพที่กดดันและคงเหลือภาพที่ร่าเริง]” วิเคราะห์ว่าจะให้ทำฝันนี้มีประโยชน์อย่าง ไร “รู้สึกดี แต่นึกไม่ออกว่าจะเกี่ยวกับตัวเรายังงัย [บ่นรู้สึกสับสน น้ำตาซึมเล็กน้อย]” แล้วเรากำลังคิดอยากทำอะไร - มีการปรับท่าจากวิเคราะห์มาเป็นท่าลงมือทำได้อย่างอัตโนมัติ“บอกหมอกับพ่อแม่ให้ยอมรับเพราะเราอยากเชื่อในตนเอง 40% แต่มีความกลัวอยู่ 60%”

ก้าวแรกจับหัวใจในฐานค้นหาความเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งตนต่อจากรอบสุดท้ายของ Walt Disney สู่ Logical Levels of Change

เคสคือเด็กคนหนึ่ง [รู้สึกเมื่อยๆ] เห็นความดีในตนเอง อยากกล้าคิดทำครูจิตอาสาสัก 70% (ย้อนดูพลังที่หายไปแค่ 16% ก่อนหน้าที่จะฝึกจิตใต้สำนึก) ส่วนเรื่องเรียนต่อเป็นระยะยาว อยากพัฒนาความร่าเริง ที่เคยเห็นเป็นภาพผู้นำกองเชียร์ในอดีต [สักพักมีภาพอดีตให้ Cut-Movie ภาพที่กดดันและคงเหลือภาพที่ร่าเริง จากนั้นก็ร้องเพลงออกมาได้สนุกสนาน “อยากให้เราร้องดังๆ ให้ใครคือใครได้รู้ว่า…] ทำให้รู้สึก “เป็นตัวของตัวเอง ปลดปล่อย ยกมือขึ้นมั่นใจใจความรักของตัวเอง ตะโกนบอกชื่อที่เพื่อนๆชอบเรียกได้ดังชัดเจน 3 ครั้ง สีหน้าดูสนใจมากมาย”

หมายเลขบันทึก: 611045เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2016 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2016 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านแล้วให้ความรู้เพิ่มเติมในศาสตร์จิตวิทยาควบคู่กับความสนุกสนานในการคิดวิเคราะห์ตามและให้กิจกรรมบำบัดในแต่ละเคสค่ะ ขอบคุณ ดร.ที่นำพาความเป็นOTมาไกลได้เพียงนี้ และขอบคุณความรู้ที่แบ่งปันมาค่ะจะ

ติดตามงานของดร.ตลอดไปค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋และคุณปนัดดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท