การใช้ ''จุลินทรีย์'' ในการดูแลต้นลำไย


ความร้อนสะสมในดิน + ความชื้น ก่อให้เกิดสภาวะอุณหภูมิอบอ้าว ซึ่งจะเกิดในช่วงแรกของฤดูฝน จะสร้างสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ในการการทำลำไย จากนู๋ยุ้ย แก้มตุ่ย (สาวน้อยใจดี เกษตรรำไพฯ)

การใช้ ''จุลินทรีย์'' ในการดูแลต้นลำไย:

ช่วงหน้าร้อน ต้นลำไยได้รับความร้อนจากแสงแดด ใบไม้คายน้ำตลอด ต้นลำไย จึง Save ตัวเองด้วยการสลัดใบ เพื่อลดการคายน้ำลง (เกษตรกรบางคนคิดว่า ต้นลำไยขาดน้ำ.. แห้งตาย)

แต่เมื่อฝนมา ต้นไม้ได้รับความชื้น.. กระบวนการฟื้นฟูตนเองของเนื้อเยื้อเจริญก็จะเริ่มทำงานต่อ... เราจึงเห็นใบลำไยเริ่มแตกออกมาใหม่

ความร้อนสะสมในดิน + ความชื้น ก่อให้เกิดสภาวะอุณหภูมิอบอ้าว ซึ่งจะเกิดในช่วงแรกของฤดูฝน จะสร้างสภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ที่จะมาช่วยย่อยสลายซากแห้งๆ ของพืชที่ตาย หรือเศษใบลำไยที่ร่วงหล่นทับถมให้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นส่วรประกอบทำให้ดินมีสภาพดี

เชื้อจุลินทรีย์จำนวนมากที่เกิดในช่วงเวลานี้ คือเชื้อกลุ่มเชื้อฉวยโอกาส

หากในสวนมีการตกค้าง และสะสมของยาฆ่าเชื้อรา ในช่วงทำผลผลิตเพื่อให้ได้ผิวลูกสวย จะทำให้ปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มเชื้อดีตายไปเป็นจำนวนมาก คงเหลือพวกจุลินทรีย์เชื้อไม่ดี

จุลินทรีย์เชื้อไม่ดี... ที่เหลืออยู่จึงชักชวนจุลินทรีย์กลุ่มเชื้อฉวยโอกาสให้มาเข้าพวก มีปริมาณมากขึ้น พร้อมจะก่อความเสียหายให้กับดิน ราก และต้นลำไยของเกษตรกรได้

การป้องกัน แก้ไขปัญหา :

1. ในช่วงทำผลผลิต ควรใช้ยากำจัดเชื้อรา ในปริมาณที่เหมาะสม.. อย่าใช้มากเกินไป

2. ควรล้างพิษยากำจัดเชื้อรา.. ทันที หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

3. ควรเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ประเภทเชื้อดีลงไปในดิน ลำต้น และทรงพุ่ม ในช่วงแรกของฤดูฝน และใช้สม่ำเสมอทุกๆ เดือน ก่อนถึงวันราดสารฯ

จุลินทรีย์เชื้อดี จะช่วยชักชวนเชื้อฉวยโอกาสให้เข้าพวก กลายเป็นเชื้อดี ช่วยย่อยสลายใบลำไย ย่อยสลายเซลผนังของเปลือกต้นลำไยที่เสื่อมโทรม ลดปัญหาการเกิดโรคเชื้อราบริเวณเปลือกลำไย ช่วยให้ต้นลำไยแข็งแรง ส่งเสริมเนื้อเยื้อเจริญให้แตกตาใบได้เต็มที่ พร้อมที่จะเริ่มเก็บสะสมอาหารสำหรับเตรียมทำดอกลำไยในรุ่นต่อๆ ไป.

''จุลินชีพชีวภาพ''.... จุลินทรีย์เชื้อดี

หมายเลขบันทึก: 610791เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท