ข้อควรรู้เกี่ยวกับสารจับใบ


เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย

จากนู๋ยุ้ย แก้มตุ่ย (สาวน้อยใจดี เกษตรรำไพฯ)


ข้อควรรู้... เกี่ยวกับสารจับใบ :


สารจับใบ เป็นสารที่เกษตรกร นิยมใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพสารเคมีอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ในการกำจัดไข่แมลง และแมลงต่างๆ ในช่วงฤดูฝนได้แก่ ปิโตเลียมออยล์ , ไวท์ออยล์, พาราฟิลออยล์

สารในกลุ่มนี้ หลังฉีดพ่น จะมีลักษณะเป็นน้ำมัน หรือแผ่นฟิลม์บางๆ เคลือบใบ และปิดปากใบลำไยไว้

นิยมนำมาใช้ผสมสารเคมี เพื่อกำจัดไข่แมลง และแมลง ไร และไข่ โดยทางสัมผัส

อัตราส่วนในการใช้ : 20-30 cc.

นิยมนำมาใช้สำหรับผสมร่วมกับยาฆ่าแมลงตัวอื่น เช่น คลอไพรีฟอส สารไพรีทรอย ยาประเภทถูกตัวตายเช่น คาราเต้ (แลมด้าไซฮาโลทริล) เพื่อกำจัดเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง ไข่เพลี้ยอ่อน และตัวแก่ ไข่ไร และตัวแก่


ข้อควรระวังในการใช้ :

- ห้ามใช้ฉีดพ่นในขณะที่ลำไยกำลังออกดอก หรือกำลังบาน จะทำให้ดอกเสียหาย

- ห้ามฉีดพ่นซัลเฟอร์ ในช่วงระยะ 2-3 สัปดาห์ หลังจากใช้ยากลุ่มนี้แล้ว

- ห้ามใช้ผสมร่วมกับ.. คาร์บาริล

- ห้ามใช้หลังการใช้.. แคปแทน หรือ.. ซัลเฟอร์ ในช่วงเวลา 60-90 วัน

- ห้ามใช้ขณะที่มีอากาศร้อน แดดแรง จะทำให้ใบไหม้

- ทำให้ความสามารถในการคายน้ำ หรือการดูดปุ๋ยคีเลตของใบลำไยลดลง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

- เป็นสารที่มีคุณสมบัติกัดกร่อนยาง สามารถทำให้ลูกยางในเครื่องพ่นยาเสื่อมสภาพเร็ว

หมายเลขบันทึก: 610782เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 09:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท