การดูแลช่อผลลำไย ในระยะ ''บักห่ำน้อย''


ดังนั้นหลังการผสมเกสร และลำไยเริ่มติดผลเป็นระยะ... บักห่ำน้อยแล้ว เกษตรกรควรพ่นยากำจัดหนอน และแมลงเหล่านี้.. ป้องกันไว้.. ล่วงหน้า
  • เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย

จากนู๋ยุ้ย แก้มตุ้ย (สาวน้อยใจดี เกษตรรำไพฯ)

การดูแลป้องกัน.. ช่อดอก และช่อผลลำไยระยะบักห่ำน้อย :

ช่วงนี้จะมี ผึ้ง ชันโรง ผีเสื้อ มวน และแมลง ผสมเกสรอื่นๆ เข้ามาช่วยผสมเกสรในช่วงนี้ ค่อนข้างมาก

มากันอย่างเป็นมิตร เจ้าของสวน สบายใจ

แต่หลังจากนี้.. มันจะเริ่มไม่เป็นมิตรกับเกษตรกรแล้ว

(ยกเว้น ผึ้ง และชันโรง และแมลงปอ)


กลุ่มพวกผีเสื้อ.. และแมลง.. จะผสมพันธุ์ และวางไข่ทิ้งไว้

เพื่อรอการเกิดออกมาเป็นหนอน ที่จะเริ่มมากัดกินดอกลำไย.. ต่อไป


สังเกตุง่ายๆ พบแมลงปอบินวนในสวนลำไย แสดงว่าหนอนออกจากไข่แล้ว

จุดใด มีแมลงปอ บินวนมากๆ จุดนั้นจะมีหนอน.. เพียบ

อย่าฉีดยา ไล่แมลงปอ.. นะ

เขามาช่วยเกษตรกรกำจัดหนอน.. ค่ะ

§

§

เมื่อหนอนออกมาแล้ว มันก็จะเริ่มกัดกินดอกลำไย

กินอิ่มแล้ว.. ก็จะดึงกลีบดอกลำไยมาทำรังดักแด้


หนอนบางพวกจะเจาะขั้ว เจาะลูกลำไย

หนอนบางพวกจะฝั่งตัวในก้านลำไย เพื่อคอยดูดน้ำเลี้ยงกิน

หนอนบางชนิดจะถักม้วนใบ.. ห่อตนเองไว้

เพื่อป้องกันฝนและแมลงมารบกวนในช่วงเข้าดักแด้


ดังนั้นหลังการผสมเกสร และลำไยเริ่มติดผลเป็นระยะ... บักห่ำน้อยแล้ว

เกษตรกรควรพ่นยากำจัดหนอน และแมลงเหล่านี้.. ป้องกันไว้.. ล่วงหน้า


อีกไม่นาน.. เพลี้ยไก่แจ้... ที่เคยมาวุ่นวายกับยอดอ่อนของช่อดอกในช่วงเริ่มแทงยอดช่อดอกใหม่ๆ

พวกนี้พอกินอิ่มแล้วก็จะไปผสมพันธุ์.. วางไข่ทิ้งไว้..

เพื่อจะกลับมาใหม่

§

§

ช่วงนี้.. แมลงดังกล่าวข้างต้น.. จะเริ่มออกจากไข่ เป็นตัวอ่อน (ถึงจิ๋ว แต่... พร้อมเจาะดูด)

พวกมันจะบินมาเจาะยอดอ่อนของช่อดอกดอกที่กำลังบาน รวมถึงช่อผล.. ระยะบักห่ำน้อย เพื่อดูดกินสารอาหารที่มาเลี้ยงช่อดอก หรือช่อผลเหล่านั้น


อาการที่จะเกิดคือ....

ช่อดอก ช่อผลจะห้อยคอตก เหมือนคนหมดแรง ดอกที่ติดผลจะร่วง หรือ.. แห้งตาย


ให้ป้องกัน แก้ไข.. ด้วยการเด็ดใบที่เกิดไข่แมลงที่พบเห็นออก

เอาออกให้มากที่สุด... แล้วเอาไปเผานอกสวน


ใช้ อิมิดาคลอพิค (ยาดูดซึม) ผสมน้ำฉีดพ่นทรงพุ่ม และช่อดอก

โดยให้ปรับแรงดันน้ำให้เป็นฝอยละเอียดที่สุด อย่าพ่นปะทะช่อดอกตรงๆ

ให้ฉีดขึ้นเหนือฟ้า โดยให้ละอองร่วงลงมาที่ช่อดอก

หากฉีดพ่นปะทะช่อดอกตรงๆ และแรงๆ จะทำให้ดอก และผลอ่อนร่วง..


ส่วนช่อใบ... สามารถพ่นได้ตามแรงดันปกติ แต่หากเกรงว่าจะพลาดไปโดนช่อ ก็ควรพ่นเบาๆ

§

§

§

เมื่อลำไยเริ่มสลัดดอก และมีผลอ่อน.. ระยะบักห่ำน้อยแล้ว ทำไงต่อดี...


ช่วงนี้แนะนำให้ใช้...

คาร์โบซัลเฟน (เพื่อป้องกันเพลี้ย และหนอน มวน ทั้งแบบเสนอตัว ตามใบ ตามช่อดอก ให้เห็นกันซึ่งหน้า จะจะ หรือประเภทอีแอบเจาะดูด โดนตัวเป็นตาย)

+คาเบนดาซิม

(เพื่อกำจัดการเพิ่มขยายของเชื้อราดำที่พบตามใบ เนื่องจากเกษตรกรให้น้ำตาลทางด่วนตกค้างไว้จำนวนมาก)

+อิมิดาคลอพิค

(เพื่อป้องกันเพลี้ยไก่แจ้ และหนอนที่ยังซ่อนตามก้านช่อดอก)

+แคลเซี่ยมโบรอน

(เพื่อจัดเรียงลำดับของผนังเซลล์วอล)

+ไวท์ออยล์ (เพื่อช่วยจับยาให้ยังพอมีอยู่ตามใบ หากฝนตกบ่อย)

***กรุณาอ่านเพิ่มเติม ''ข้อควรรู้... เกี่ยวกับสารจับใบ''


เพียงเท่านี้.. ก็เป็นการป้องกันแมลงศัตรู ที่จะมาทำลายผลลำไยอ่อน... ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 610777เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท