AAR R2R Forum 9 : R2R Education ตอนที่ 3


AAR R2R Forum 9 : R2R Education ตอนที่ 3

"..เมื่อย้อนมองการศึกษาเปรียบเหมือนพื้นที่แห้งแล้ง ไม่ชุ่มฉ่ำ คนเรียนไม่มีความสุข เต็มไปด้วยการแข่งขัน แต่ข้าพเจ้ามองเห็นพลังเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในห้อง R2R Education นี้.. .." -- กะปุ๋ม

"ภายใต้บรรยากาศที่ดูแห้งแล้ง ยังคงมีเมล็ดพันธุ์ตกหล่นอยู่ รอความชุ่มฉ่ำจากสายฝนแม้ว่าบางครั้งฝนมันตกไม่ทั่วฟ้า บางเมล็ดแค่โดนนำ้ก็พร้อมที่จะเติบโต หยั่งรากลึกลงไปในดิน ---> ผมเห็นความสนใจ ผมสังเกตเห็นความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานด้านการศึกษาของผู้ร่วมวงสนทนาแบบไม่ลดละ การเข้าฟังซ้ำๆ หรือการแช่อยู่ในนำ้นานๆ การได้มุมมองที่แตกต่าง อาจจะช่วยให้เมล็ดพันธุ์เหล่านี้เจริญงอกงามได้เช่นกัน"---อ.หมอแทน

https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1055941437787154 ตอนที่ 1

เป็นบทสนทนาที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับ อ.หมอแทน(พ.ท.ดร.นพ.ทนงสรรค์ เทียนถาวร) หลังจากที่ได้ไปเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ในห้อง R2R Education ในงาน R2R Forum ครั้งที่ 9

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสองวัน ข้าพเจ้ามองเห็นถึงความตั้งใจของ อ.หมอสุธีในการออกแบบเพื่อให้เป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) เพื่อให้เห็นภาพความเข้าใจชัดแจ้งขึ้น ข้าพเจ้าก็ลองวาดเป็นภาพถึงความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมในแต่ละ session ว่ามีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างไร

และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในห้อง R2R Education กับ R2R ที่เกิดขึ้นนอกห้องดำเนินไปอย่างไร

ในความสงสัยอันประเด็นหลังหรือคำถามที่ผุดขึ้น ทำให้ข้าพเจ้าไปตกผลึกในช่วงสุดท้าย คือ Poster Round ที่เป็นผลงานวิจัยที่อาจารย์จากสถาบันต่างๆ นำผลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษา ที่ยังพบว่าเป็นปัญหาอยู่มาศึกษาวิจัย หรือเราจะคุ้นชินในชื่อว่า Classroom Research

ข้าพเจ้ามองว่า R2R ในการศึกษานั้นเป็นการสร้างต้นน้ำหรือสายธารของการสร้างคนให้เกิดการสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง อธิบายง่ายๆ คือ เป็นแหล่งผลิตคนที่จะมาทำงานในวันข้างหน้า(อนาคต) นั่นเอง เมื่อจบมาทำงานก็จะมีความคุ้นชินเกี่ยวกับ R2R และสร้างนำ R2R มาเนียนใช้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้เลย

ถ้าระบบการศึกษาดึง R2R มาใช้ในระบบการเรียนการสอนและให้เด็กซึมซับในเรื่องกระบวนการและทักษะทางการวิจัยเราก็จะได้คนที่จบออกมาเป็นหน่อเนื้อของบุคคลที่คุ้นชินในเรื่องการสร้างความรู้ ...โดยเครื่องมือ R2R

ยกตัวอย่างเช่น ผลงาน R2R ของ อ.ดร.ภญ.นันทวรรณ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาเชียงใหม่ นำเครื่องมือ R2R มาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ที่ลงฝึกงานตามโรงพยาบาลต่างๆ และจับคู่กับพี่เภสัชกรในโรงพยาบาลร่วมกันทำ R2R เพื่อมีเป้าหมายให้เด็กนักศึกษาได้มองเห็นปัญหาหน้างาน และกระบวนการพัฒนางานได้ชัดเจนขึ้น

ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยที่จะขับเคลื่อนแนวคิดเช่นนี้
และมองว่าสิ่งที่อาจารย์สุธีและอาจารย์สองสามท่านกำลังช่วยกันทำนั้นเปรียบดั่งความตั้งใจและพยายามที่จะปลูกต้นไม้แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในวงการการศึกษา ที่อาจจะมีแนวความคิดความเชื่อในเรื่องการวิจัยและ R2R ยังไม่สว่างกระจ่างมากนัก ไม่ง่ายและดูเหมือยจะยากมาก แต่หลายท่านก็มองเห็นโอกาสและแสงสว่างที่จะก้าวเดินไป

มีงานวิจัยหลายเรื่องที่ข้าพเจ้าได้นั่งฟังและเกิดปิติสุข แม้ว่าจะมี GAP อยู่บ้างแต่ได้เห็นถึงความพยายามและความตั้งใจที่อยากจะร่วมเรียนรู้ ... ข้าพเจ้าเชื่อในเรื่องการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง

“ทุกสรรพสิ่งเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้"
จากที่ อ.หมอแทนได้พูดว่า ..."เมล็ดพันธ์ุแม้เพียงสองสามเมล็ดก็มีคุณค่ามากมายและพร้อมที่จะเจริญเติบโตและงดงาม"

ข้าพเจ้ามองเห็นความเหนื่อยยาก และมองเห็นความตั้งใจอันมากมาย และมองเห็นการกระทำที่ว่า "แม้ทำคนเดียวก็จะทำ" ของ อ.หมอสุธี ...สามปีที่ได้เข้ามามีส่วนร่วม มีการเติบโตถึงแม้ว่าอาจจะไม่ใช่เป็นการระเบิดพลังแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลง และพลังความสุขความอบอุ่นอันบางๆ ที่ยังพอสัมผัสได้ ความอึมครึมมัวซัวค่อยๆ คลายออกข้าพเจ้าเชื่อว่า R2R Education นั้นจะเติบโตและงอกงาม ดั่งที่เคยพูดกับอาจารย์สุธีว่า "สิ่งที่อาจารย์ทำคือ เพิ่มพื้นที่สีเขียวลดพื้นที่แห่งความแห้งแล้ง ในที่นี้หมายถึงในใจของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษานั้นเอง"...

‪#‎KMR2RtoTransformation‬
‪#‎R2RForum‬

***เราทุกคนต้องสนใจเรื่องการศึกษา ..เพราะการศึกษานั้นคือเครื่องมือสร้างคน..และควรเป็นการสร้างที่นำมาสู่การเติบโตและเจริญงอกงาม"

"หลุมดำมีมากมาย...เพียงเราก้าวผ่านและเดินไป"

https://www.facebook.com/nipaporn.lakornwong/posts/1056443327736965 ตอนที่ 2

คำสำคัญ (Tags): #r2r#km#ha#transformation#R2R forum9
หมายเลขบันทึก: 610776เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท