KM วันละคำ 672. KM 3.0 มจธ.


กลุ่ม CKO ควรเอาใจใส่ “การจัดการหัวปลา” ในคณะของตน ให้มากขึ้น ดังนั้น COP ของ CKO จึงควรเน้น ลปรร. วิธีการจัดการเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ที่เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ

KM วันละคำ 672. KM 3.0 มจธ.

วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดการประชุมปฏิบัติการ CKO Forum และ ดร. ก้องกาญจน์ วชิรพนัง หัวหน้า KM Team เชิญผมไปเป็นวิทยากร คุยกันทางอีเมล์หลายยก ก็ตกลงกันว่า จัดกระบวนการดังนี้

(ร่าง)

KMUTT CKO Forum

KM เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต

15 July 2016

13.30 – 16.30 น.

วิจารณ์ พานิช (KMI) : facilitator

………….

เป้าหมายของกิจกรรม ๓ ชั่วโมง

เป้าหมายหลัก การพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ในปี 2559 - 2560 (เป้าหมายรอง ใช้ KM อย่างมียุทธศาสตร์เพื่อหนุนเป้าหมายหลัก)

  • เพื่อทำความชัดเจนในหน้าที่ของ CKO ของแต่ละส่วนงาน
  • เพื่อวางรูปแบบ CoP ของ CKO สำหรับนำไปใช้และปรับปรุงในปี 2559 – 2560
  • เพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบของ IT Support

คำถามหลักในการประชุม

  • เป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ของการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตในหน่วยงานของท่านคืออะไร ... Critical Knowledge
  • รู้ได้อย่างไรว่าเป้าหมายส่วนใดดี/พัฒนา ขึ้น หรือบรรลุผลอย่างน่าชื่นชม

ขั้นตอน/กระบวนการ

  • ผู้บริหารของ มจธ. กล่าวนำ ๑๕ นาที
  • วิทยากรเกริ่นนำด้านทฤษฎี KM 3.0 ๑๕ นาที
  • BAR - ผู้เข้าร่วม ๒๓ คน บอกความต้องการของตน คนละ ๑ นาที
  • ประชุมกลุ่มครั้งที่ ๑ (๒๕ + ๕ นาที) เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต หน้าที่หลักของ CKO คืออะไร critical knowledge ของ CKO คืออะไร (แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ และ ๒ CKO ของคณะ, กลุ่มที่ ๓ CKO หน่วยสนับสนุน ๕ หน่วย
  • พัก ๑๕ นาที
  • ประชุมกลุ่มครั้งที่ ๒ (๒๕ + ๕ นาที) CoP ของ CKO ควรมีกิจกรรมอะไรบ้าง
  • สรุป การดำเนินการต่อไป ๑๕ นาที

Note-taker สรุปประเด็นใน ๕ นาทีหลัง

Note-taker สรุปประเด็นใน ๕ นาทีหลัง

ข้อเสนอ

  • ขอให้เชิญ รศ. ดร. ธีรณี อจลากุล มาร่วมเพื่อให้ความเห็นและดำเนินการให้มีการใช้ big data technology สนับสนุน KM คุณภาพบัณฑิต
  • ขอให้เชิญ อ. จิตติ อภิบุญ เข้าร่วม เพื่อให้ความเห็นด้านการประยุกต์ KM 3.0


ดู PowerPoint ที่ผมใช้ประกอบการกล่าวนำได้ ที่ KM 3.0_590715.docx เสียดายที่เกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิค จึงไม่มี narrated ppt มาให้ชม

จะเห็นว่า KM ของ มจธ. ดำเนินการสอดคล้องกับหลักการ KM 3.0 ในแง่ที่โฟกัสเป้าหมายชัดเจนมาก คือ “KM เพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิต” และมีการจัดโครงสร้างคือมี KM Team, มีทีม Change Agent / Facilitator ที่ได้รับการฝึกอบรมจากทีม สคส. (ดร. ประพนธ์ และคุณธวัช หมัดเต๊ะ) จึงเข้าใจว่าทีม คุณอำนวย” (facilitator) เข้มแข็ง แต่ “คุณเอื้อ” (CKO) บางคณะไม่เข้มแข็ง เขาจึงต้องการให้ผมไปกระตุ้นความเข้มแข็งของ “คุณเอื้อ” จากกระบวนการ BAR ก็พบว่า “คุณเอื้อ” เปลี่ยนตัวค่อนข้างบ่อย และบางท่านมองหน้าที่นี้แยกจากหน้าที่บริหาร ตามปกติของตน คือมองตำแหน่ง CKO เป็นงานเพิ่ม ความเอาใจใส่จึงไม่มาก หลายคนไม่รู้ว่าทำหน้าที่อะไร หลายคนไม่รู้จัก KM แน่ชัด ที่คลาสสิคคือบางคนมอง KM กับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตเป็นคนละกิจกรรม ย่อหน้านี้เขียนแบบวิพากษ์นะครับ ในภาพรวมถือได้ว่า KM ของ มจธ. เข้มแข็งอย่างน่าชื่นชมทีเดียว หลังจากทำกระบวนการกลุ่มสองรอบ และมีการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม (มี ๓ กลุ่ม) ผมก็ให้คำแนะนำสั้นๆ และตอบคำถาม โดยมีคำแนะนำคือ

  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ CKO ที่เรียกว่า CoP ของ CKO น่าจะใช้ Learning / Sharing Space ทั้งสองแบบ คือพื้นที่จริง (real space) และพื้นที่เสมือน (virtual space) real space หมายถึงการพบปะหรือประชุมแบบมาพบหน้าพบตัวกัน (F2F – Face to Face) อย่างในบ่ายวันนี้ ส่วน virtual space หมายถึงการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่าน ICT สมัยใหม่ ที่อาจเป็นโซเลี่ยลมีเดียก็ได้ จะช่วยประหยัดเวลา และช่วยให้การ ลปรร. เกิดขึ้น ณ “teachable moment” ตามหลักการของ KM 3.0
  • CKO ของ มจธ. ควรเน้น “การจัดการหัวปลา ให้มากขึ้น
  • “ความรู้’ ที่เอามา “จัดการ” ให้มีการนำไปใช้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนั้น ต้องเน้นที่ความรู้เพื่อการปฏิบัติ และความรู้จากการปฏิบัติ เป็นหลัก แต่ก็ต้องมีการนำ “ความรู้ทฤษฎี” หรือ “ความรู้ภายนอก” เข้ามาเสริมด้วย ตามที่กล่าวไว้ใน PowerPoint ตอนผมกล่าวนำ และเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของ KM 3.0
  • เครื่องมือ KM ที่ใช้ง่ายที่สุด และทรงพลังที่สุด คือ AAR หรือ reflection ที่หากทำเก่ง ก็จะกลายเป็น critical reflection ที่หากใช้ในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัยจะมีคุณประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของบุคคลผู้นั้น อย่างประมาณค่ามิได้ และหากมีวง ลปรร. ในพื้นที่จริงหรือพื้นที่เสมือนก็จะเพิ่มพลังการเรียนรู้ขึ้นไปอีก ที่จริงที่ผมกำลังเขียนบันทึกนี้ลง บล็อก ก็เพื่อใช้พลัง critical reflection นี่แหละ


    ผมได้ให้คำแนะนำต่อ ดร. ก้องกาญจน์ และทีม KM ให้เลือกหยิบประเด็นที่ได้รับคำแนะนำจากการประชุม กลุ่มของ CKO ในบ่ายวันนี้ไปดำเนินการต่อ

    กลับมาที่บ้าน ผม AAR กับตัวเอง แล้วเขียนบันทึกนี้ จึงขอให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม แก่ทีม KM ของ มจธ. ว่า

    • กลุ่ม CKO ควรเอาใจใส่ “การจัดการหัวปลา” ในคณะของตน ให้มากขึ้น ดังนั้น COP ของ CKO จึงควรเน้น ลปรร. วิธีการจัดการเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ที่เชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ
    • Critical Knowledge ของ CKO มจธ. จึงเป็นความรู้เกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มจธ. ที่กำหนดไว้ในเอกสารวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของ มจธ. และที่ CKO และทีม Change Agent (CA) นำมาร่วมกันตีความเป็นความรู้ปฏิบัติ เป็นความรู้เกี่ยวกับหลักการ/วิธีการ จัดรูปแบบการเรียนรู้เพื่อ บรรลุเป้าหมายนั้น สำหรับให้ทีม CA นำไปใช้เสาะหา วิธีปฏิบัติที่ดี (Good Practice) นำมาสื่อสารเล่าลือ และตีความคุณค่า โดยต้องไม่ลืมชวนนักศึกษา มาให้ความเห็นด้วย ว่าวิธีการเรียนแบบใหม่มีคุณค่า ต่อนักศึกษาอย่างไร
    • ตีความ Critical Knowledge ของ CKO มจธ. ได้อีกชั้นหนึ่งว่า เป็นความรู้วิธีการส่งเสริมให้ CA ของคณะ ทำงานสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ สู่การพัฒนาคุณภาพบัณฑิต
    • คำแนะนำที่เป็นรูปธรรม และก่อผลกระทบมากที่สุดคือ CKO ควรประชุมพบปะกับทีม Change Agent ในคณะของตนอย่างน้อยเดือนละครั้ง ครั้งละ ๓๐ - ๖๐ นาที เพื่อคุยกันเรื่อง
    • กล่าวโดยสรุป ภารกิจของ CKO คือ การจัดการคุณค่า ของการปฏิบัติงาน ที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายหลัก ขององค์กร (ในที่นี้คือ คุณภาพของบัณฑิต) ทั้งการปฏิบัติงานของ CA และของ คุณกิจ” คือผู้ทำหน้าที่จัดบรรยากาศ จัดห้องเรียน และจัดกิจกรรม เพื่อการบรรลุเป้าหมายคุณภาพของบัณฑิต (“คุณกิจจึงหมายถึงอาจารย์ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน และตัวนักศึกษาเอง)
    • ย้ำรูปธรรมของคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ มจธ. และวิธีจัดการเรียนรู้เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น
    • ในช่วงเดือนที่ผ่านมา CA ท่านใดได้ทำหน้าที่ และได้ประสบการณ์ หรือการเรียนรู้ ที่อยาก share กันบ้าง
    • ในช่วงเดือนที่ผ่านมา CA ท่านใดพบวิธีการจัดการเรียนรู้/กิจกรรมการเรียนรู้ ที่น่าจะมีความหมายต่อการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิตบ้าง จะมีวิธีตรวจสอบอย่างไร ว่ากิจกรรมนั้นถือเป็น Good Practice จริง
    • ในช่วงเดือนต่อไป มีแผนปฏิบัติของ CA อย่างไรบ้าง
    • CKO คอยจับประเด็นวิธีทำงานของ CA ที่น่าชื่นชม และเชื่อมโยงสู่คุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพ ของบัณฑิต และเชื่อมโยงสู่การทำหน้าที่ของ CA ให้บรรลุผลดียิ่งขึ้น
    • กล่าวอย่างง่ายที่สุด การพบปะของ CKO และ CA ใช้ KM Process คือ AAR งานในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา และ BAR งานใช้ช่วง ๑ เดือนข้างหน้า

    วิจารณ์ พานิช

    ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙

    ห้องรอรับรถที่ไปใช้บริการซ่อมบำรุง ศูนย์โตโยต้าแจ้งวัฒนะ


    รศ. ดร. บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดี และว่าที่รองเลขาธิการ กกอ. กล่าวเปิด



    หน้าที่และ Critical Knowledge ของ CKO



    ข้อเสนอกิจกรรม CKO Forum



    รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากรกล่าวปิด



    ถ่ายรูปหมู่หลังจบการประชุม

    หมายเลขบันทึก: 610748เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2016 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2016 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    น่าสนใจมาก

    จำได้ว่าทีมงาน ของ มจธ เข้มแข็ง

    ขอบคุณที่บันทึกเรื่องดีๆให้อ่าน

    ถ้า ทีม CKO ใส่ใจหัวปลาน้อยคงดำเนินงานลำบากครับ

    ขอบคุณมากๆครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท