บริจาคโลหิตต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ (กิจกรรมอิสระ 2)


เหล่ากาชาดจังหวัดมหาสารคามร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต วันที่ 8 กรกฎาคม 2559

เพื่อเชิญชวนนิสิต บุคลากร และชุมชน ได้ร่วมกันบริจาคโลหิต เป็นการกุศล และเป็นสิ่งที่ดี วิชาการพัฒนานิสิต ได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมกับนิสิต ให้เข้าร่วมกิจกรรมการบริจาคโลหิต และกิจกรรมต่างๆ

ดิฉันให้บริจาคในครั้งนี้ไม่ได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนด 3 เดือน ดิฉันจึงมีหน้าช่วยจัดสถานที่ แจกเอกสาร และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มา บริจาคโลหิต การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นสิ่งที่ดีและมีค่ามาก เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม และยังช่วยต่อลมหายใจของอีกหนึ่งชีวิต เป็นการทำความดีที่สูงสุดแล้วค่ะ

เพราะฉะนั้น หากใครที่ยังไม่เคยบริจาคโลหิต ก็ขอเชิญชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆไปบริจาคโลหิตกันเยอะๆนะค่ะ

การเสียเลือดครั้งนี้ทำให้มีอะไรดี ๆ เกิดขึ้นกับสุขภาพมากกว่าที่คิด

1. ป้องกันโรคหัวใจ


โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจนั้นก็มาจากเลือดที่มี­­­­ความหนืดผิดปกติ โดยมีผลมาจากการที่ในเลือดมีระดับธาตุเหล็กสูงจนเกินไป จนไปเกิดการออกซิเดชั่นและทำลายหลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย และทำให้เกิดอาการหัวใจวายในที่สุด การบริจาคเลือดจะช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวายและโรคหลอดเลือดหัวใจ­­­­ได้ เพราะการบริจาคเลือดจะสามารถช่วยลดระดับธาตุเหล็กในร่างกาย ให้อยู่ในระดับที่ปกติได้

2. เผาผลาญแคลอรี

การบริจาคเลือดเพียงครั้งเดียวสามารถเผาผลาญแคลอรีได้มากถึง 650 แคลอรี ซึ่งเป็นผลดีกับการควบคุมน้ำหนักเลยเชียวล่ะ คุณหมอคนดังแห่งโลกไซเบอร์ก็เคยบอกไว้ด้วยนะ แต่ก็­อย่าคิดจะบริจาคเลือดเพื่อหวังลดน้ำหนักเชียว เพราะการบริจาคเลือดแต่ละครั้งต้องห่างกัน 2 - 3 เดือน เป็นอย่างต่ำค่ะ แถมถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถบริจาคเลือดได้อีกด้วย

3. ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายที่สูงเกินไปนอกจากจะส่งผลให้เกิดโรคเ­­­­กี่ยวกับระบบหลอดเลือดหัวใจแล้ว ก็ยังทำให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย เพราะระดับธาตุเหล็กที่สูงในร่างกายจะทำให้สารอนุมูลอิสระเพิ่ม­­­­มากขึ้น ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายแปรสภาพกลายเป็นเซลล์มะเร็งนั่นเอง การบริจาคเลือดจะช่วยลดปริมาณธาตุเหล็กในเลือดให้อยู่ในระดับที­­­­่ปกติ และทำให้ความเสี่ยงลดลงค่ะ

ใครสามารถบริจาคเลือดได้บ้าง

1. ต้องมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป

2. ต้องมีอายุระหว่าง 17 ปี ถึง 60 ปีบริบูรณ์ (ถ้าเป็นผู้บริจาคครั้งแรกต้องอายุไม่เกิน 55 ปี)

3. ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่อยู่ระหว่างไม่สบาย หรือกำลังรับประทานยาใด ๆ

4. ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ หรือติดยาเสพติด

5. สตรีไม่อยู่ในระหว่างมีประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา

เตรียมตัวอย่างไรดี ก่อนไปบริจาคเลือด

1. ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่จะมาบริจาคโลหิต

2. ควรมีสุขภาพสมบูรณ์ทุกประการ ไม่เป็นไข้หวัด หรืออยู่ระหว่างรับประทานยาแก้อักเสบใด ๆ

3. รับประทานอาหารมื้อหลักก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ อาหารที่ประกอบด้วยกะทิ แกงต่าง ๆ ของทอด ของหวาน ฯลฯ เนื่องจากจะทำให้สีพลาสมาผิดปกติ เป็นสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้ได้

4. ดื่มน้ำ 3-4 แก้ว และเครื่องดื่มเหลวเพิ่ม เช่น น้ำผลไม้ นม น้ำหวาน เพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตในร่างกาย จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อน เช่น มึนงง อ่อนเพลีย หรือวิงเวียนศีรษะภายหลังบริจาคโลหิต

5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาบริจาคโลหิต 24 ชั่วโมง

6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

7. ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่แขนเสื้อไม่คับเกินไป สามารถดึงขึ้นเหนือข้อศอกได้อย่างน้อย 3 นิ้ว

การบริจาคเลือดนอกจากจะเป็นการทำบุญที่ดีแล้วก็ยังมีประโยชน์กั­­­­บสุขภาพมากถึงเพียงนี้เลยล่ะ ได้ประโยชน์ดี ๆ 2 ต่อแบบนี้ ทำใจให้สบาย ๆ แล้วไปบริจาคต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยกันค่ะ แต่ก็อย่าลืมว่าก่อนบริจาคเลือดควรสังเกตตัวเองด้วยว่าพร้อมหรือไม่ เพร­าะถ้าหากร่างกายของเราไม่พร้อมแล้วยังดันทุรังไปบริจาคเลือด อาจเกิดผลเสียกับร่างกายได้เหมือนกัน

หมายเลขบันทึก: 610038เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2016 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 09:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการช่วยเหลือสังคมที่ง่ายงามที่สุดอีกวิธีการหนึ่ง และขอบคุณที่สืบค้นความรู้อื่นๆ มาฝากผู้อ่าน นะครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท