จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมการพิมพ์ ไอเดียจากแท็กซี่


การปิดตัวลงของนิตยสารรายสัปดาห์ที่เคยเป็นที่นิยมของผู้คนมากว่ายี่สิบปี

เช้านี้

แปลกใจเมื่อเรียกแท็กซี่คันแรก ก็ยินยอมไปส่งโดยดี ไม่ทราบว่าเป็นโชคดีของทั้งคนขับหรือผู้โดยสาร (บอกได้เลยว่ายังเจอท่านโชเฟอร์ปฏิเสธอยู่เนืองๆ แต่ก็ไม่อยากเสียเวลารายงาน ก็เรียกคันต่อไป ก็เท่านั้นเองครับ)

นั่งไปสักพัก พี่คนขับก็ส่งหนังสือพิมพ์ใหม่ให้หนึ่งเล่ม พอรับมาก็เกิดความรู้สึกที่แปลกปนอึ้งขึ้นมาในขณะนั้นเลยครับ คือทบทวนได้ว่าตัวเองไม่ได้จับหนังสือพิมพ์เป็นเล่มๆ พลิกไปมาได้อย่างนี้มานานมาก นานจนจำไม่ได้ว่าครั้งล่าสุดที่อ่านหนังสือพิมพ์แบบจับต้องได้เมื่อไหร่กันแน่ รู้เลยว่านี่คงถึงจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์แล้วละ ด้วยวิถีชีวิตคนในยุคนี้ไม่ได้ข้องแวะร้านขายหนังสือเลย การจะหาหนังสือพิมพ์ฉบับวันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายแล้ว

พี่คนขับเล่าและให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงการปิดตัวลงของนิตยสารรายสัปดาห์ที่เคยเป็นที่นิยมของผู้คนมากว่ายี่สิบปี ชนิดที่บอกว่าเคยมีผู้คนติดนวนิยายในนิตยสารจนงอมแงม จนต้องไปสั่งที่แผงให้สำรองไว้ให้และรีบมารับจากแผงเพื่ออ่านตอนต่อของนิยายที่เคยอ่านไว้เมื่อสัปดาห์ก่อน

เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปทั่วโลก แม้นิตยสารระดับโลกที่ลงภาพวาบหวิวก็ต้องปรับตัวและลดปริมาณการพิมพ์ลง เพิ่มช่องทางการอ่านทางดิจิตอลมากขึ้น

ผลกระทบโดยตรงน่าจะเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตหนังสือ การส่งหนังสือ ระบบการขาย ฯลฯ

จะว่าไป เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็มีข้อดีเหมือนกัน เพราะในเมื่อการพิมพ์ลดลง การใช้กระดาษก็ลดลง ก็ลดการใช้ไม้มาทำกระดาษลดลง

คงจะเป็นกรณีที่กล่าวได้ว่า ในดีมีเสีย ในเสียก็มีดี

คงต้องจับกระแสกันต่อนะครับ

หมอสุข

สุขุม เจียมตน

คำสำคัญ (Tags): #doctorsukh#สิ่งพิมพ์
หมายเลขบันทึก: 609449เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2016 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2016 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท