เปลี่ยนเพื่อเรียนรู้...ครูคือผู้ให้ ศิษย์คือผู้นำ


ขอบพระคุณอ.ดร. ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ ท่านวิทยากรผู้มาปลุกพลังครูเพื่อศิษย์สู่การเปลี่ยนแปลงทักษะการเรียนรู้เพิ่มสมรรถนะวิชาชีพกิจกรรมบำบัดและกายภาพบำบัด...ปลุกพลังคิดยืดหยุ่น เปิดใจกว้าง ระดมทีมรับฟังทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา...Transformative Assessment As/For Learning

เมื่อเอ่ยถึงการเรียนรู้เพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 หรือคศ.2001-2100 ซึ่งจะหมดลงในอีก 84 ปีข้างหน้า หรือผ่านมาแล้ว 15 ปี ผมก็เพิ่งตกผลึกความรู้ความเข้าใจในสัญลักษณ์บ่อน้ำพุกับรุ้งกินน้ำที่มาจากองค์กรผู้ใช้บัณฑิตภาคเอกชนหรือ Partnership for the 21st century skills (P21) สะท้อนความต้องการบัณฑิตผู้มีทักษะคิดแก้ปัญหา ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะคิดสร้างสรรค์ ซึ่งส่งผลให้สถาบันการศึกษาเร่งปรับกระบวนการบริหารหลักสูตรมากมายในปัจจุบัน แต่ผู้นำสุขภาวะแห่งการเรียนรู้ทั้งหลาย เช่น นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ ผู้ใช้บัณฑิต และผู้บริหารการศึกษาทุกภาคส่วนควรทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบและเชิงระบบเกี่ยวกับทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 สู่ 22 ที่มุ่งเน้นให้การพัฒนาทุกรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ทุกคนทุกภาคส่วนเกิดการแสดงบทบาทของ “Deeper Learner” เช่น วิเคราะห์และสังเคราะห์ทักษะชีวิตที่ตระหนักรู้รักตัวเองให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและในสมรรถนะวิชาชีพ/การประกอบอาชีพตามลำดับสำคัญ


โจทย์ที่อ.ดร.ชยุตม์เชิญชวนให้ท้าทายระดมความคิดเป็นกลุ่มผู้สอนโดยให้ทบทวนว่า “ในมุมมองของผู้ต้องการ/ผู้ใช้บัณฑิต ทักษะศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็น 3 อันดับแรกคืออะไร” ต่อยอดไปสู่คำถามเดียวกันแต่ในมุมมองครูบาอาจารย์จนถึงคณบดี-ผู้บริหารสถาบัน สุดท้ายทักษะที่ได้จากสองข้อสอดคล้องกันและมีพฤติกรรมบ่งชี้ที่ชัดเจนอะไรบ้าง เช่น แก้ปัญหาได้ต้องมีความรู้อะไรหรือ Literacies อะไร ต้องมีพฤติกรรมย่อยหรือ Competency อะไรบ้างที่จะสังเกตได้ว่าแก้ปัญหาได้เป็นรูปธรรมอย่างละเอียดแท้จริง (คุณธรรมจริยธรรมความรู้เป็นฐานของทักษะ…มิใช่ทักษะโดยตรง) และควรวัดเชิงปริมาณ (การวัด หรือ measurement) มาตีความเชิงปริมาณมาเป็นคุณค่า (การประเมินค่า หรือ evaluation) และ/หรือวิเคราะห์วางแผนตัดสินใจสรุปข้อมูลทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างเป็นระบบ (การประเมิน หรือ assessment) ซึ่งผู้เป็นครูควรท้าทายการวางแผนให้สอดคล้องกันตั้งแต่การวัดและ/หรือการประเมิน การจัดกิจกรรมการสอนและการเรียนรู้ ศักยภาพผู้วัดและ/หรือผู้ประเมิน การเปิดโอกาสให้วัดและ/หรือประเมินตนเอง กลุ่มเพื่อนเรียน และกลุ่มอื่นๆ ที่ช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น โปร่งใส และเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่สุขภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง พูดง่ายๆคือ ผู้เรียนแสดงความรู้ความสามารถจากการลงมือปฏิบัติและได้ข้อมูลที่มีประโยชน์ในบริบทหลากหลายเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องและเกิดกระบวนการสร้างศักยภาพทั้งผู้เรียน ผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เห็นชัดถึง Core Competency ทั้งประชาคม

“คนเราไม่ต้องจำทุกอย่าง แต่ต้องหยิบยกความรู้บางประเด็นต่อยอดไปใช้ได้จริงในกิจกรรมการดำเนินชีวิต” อ.ดร.ชยุตม์ได้เน้นการใช้วิจารณญาณในการระบุพฤติกรรมบ่งชี้ตามคำกริยาต่างๆ ตาม Bloom’s Taxonomy แต่ควรทำงานเป็นทีมในการกำหนดระดับคุณภาพและคะแนนที่ต้องการโดยแบ่งคุณลักษณะของสิ่งที่จะประเมินออกเป็นมิติย่อยๆ เริ่มจากเขียนคำบรรยายให้ถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน ระดับสูงสุดจนลดหลั่นลงไป เกิดการทดลองใช้เกณฑ์การให้คะแนน เกิดการปรับปรุง และตกลงทำความเข้าใจก่อนใช้กับผู้เรียนจริงๆ มีการวัด/ประเมินสัก 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย นำเผยแพร่เป็นผลงานวิจัยชั้นเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้คือ การสร้าง Scoring Rubrics ที่มี Descriptor บวกกับ Rating scale และพัฒนามาจากการประเมินผลแบบสรุปเป็นเกรด/ตัวเลข (Summative Assessment) ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำหลังเรียนเป็น Final exam เท่านั้น ทำได้ระหว่างเรียนและก่อนเรียน ควบคู่กับการสะท้อนคิดสะกิดใจ (Formative Feedback แต่หลายคนเข้าใจเป็น Assessment ระหว่างเรียน ซึ่งผิด) โดยทำได้ก่อน ขณะ หลังเรียนในทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกบุคคล เชิงบวกสร้างสรรค์และมีเหตุผลตาม Expected learning outcome ในแต่ละคาบเรียนแบบที่ไม่บังคับผู้เรียนมากจนเกินไป

นั่นคืออ.ดร.ชยุฒม์ได้ย้ำว่า “ควรประเมินเพื่อปรับการเรียนการสอน และ/หรือกำกับติดตามสะท้อนผลให้เกิด Deeper & Active learner มากกว่าการตัดสินผลผ่านตก” ตัวอย่างที่น่าสนใจ การจัด Workshop ให้ผู้เรียนที่ไม่เข้าใจการเรียนรู้ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้นก่อนที่จะต่อยอดเรียนรู้ในรายวิชาภาคการศึกษาถัดไป

ค้นคว้ากระบวนการเรียนรู้แบบมีชีวิตชีวาจาก Google ด้วย Intel Designing Effective Projects แต่สิ่งสำคัญคือ การประเมินเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เหมาะสม มีความหมาย ยืดหยุ่น ยั้งยืน และสร้างบรรยากาศ ที่กระตุ้นจากทักษะสู่ศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต นี่คือแก่นแท้ของ Transformative Assessment ในทุกระดับตั้งแต่ครู/อจ. นักเรียน/นศ. บรรยากาศให้เกิด Transformative Learning ผู้บริหารหลักสูตรจนถึงระดับส่วนงาน/สถาบัน และสังคมรอบด้านอย่างสำเร็จสร้างสรรค์โดยที่ต้องไปแบกโลกทั้งใบ อุปมาเช่น ภาระงานที่ยาวนานเกินไป อะไรก็คิดว่าดี ไม่เห็นด้วยก็ปล่อย อย่าเพียงมองแค่ Active Learning Techniques และ One side fit all แต่มองภาพรวม ภาพกว้าง และภาพลึก ว่า “พื้นฐานผู้เรียนต่างกัน ทำอย่างไรจะให้เกิดการพัฒนาทักษะจากกระบวนการเรียนรู้แบบ Differentiated Learning ทีี่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน…ทำให้ผู้เรียนตระหนักรู้เองว่า ควรพัฒนาทักษะภายในตนเองอย่างไรบ้างตลอดชีวิต”

ตัวอย่างที่อาจารย์กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดนำเสนอ คิือ ต้องการทักษะแก้ปัญหา ทักษะความเป็นผู้นำ ทักษะคิดสร้างสรรค์ ทักษะสงสัยใฝ่รู้ ทักษะวิพากษ์คิดวิเคราะห์ ทักษะการทำงานเป็นทีม และทักษะการสื่อสารเปิดรับความคิดเห็น ซึ่งควรเน้นตัวชี้วัดแสวงหาคำตอบกับหลักฐานเชิงประจักษ์ อธิบายความต้องการของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้ รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการฝึกคนไข้ให้พึ่งพาตนเองได้ในสังคม และรักที่จะเรียนรู้ด้วยการค้นหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย [อ.ดร.ชยุตม์แนะนำให้ระบุพฤติกรรมบ่งชี้ที่มีรายละเอียดสามารถสังเกตได้ชัดเจนกว่านี้]

หมายเลขบันทึก: 609379เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2016 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับพี่หมอ..

-"คนเราไม่ต้องจำทุกอย่าง แต่ต้องหยิบยกความรู้บางประเด็นต่อยอดไปใช้ได้จริงในกิจกรรมการดำเนินชีวิต”.

-ขอบคุณนะครับ..

-ตามมาให้กำลังใจครับ


ขอบพระคุณมากครับและขอส่งกำลังใจมอบแด่คุณเพชรน้ำหนึ่งนะครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท