กายรวมจิต มิตรร่วมใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาทั้งสามท่านที่เปิดใจ-โล่งใจ-สบายใจ ให้ผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้ด้วยการลงมือฝึกฝนบูรณาการกิจกรรมบำบัดและ NLP ทำให้เกิดปิ๊งแว๊บ แป๊ปเดียว เกี่ยวพัน ทันใจ ให้รู้ ดูตน สนคน ทนสู้ อยู่ดี มีสุข ทุกวัน...ขอบพระคุณตัวเอง กัลยาณมิตร และทุกสรรพสิ่ง ที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดปัญญากิจกรรมบำบัดศึกษาเพื่อมวลชนสมบูรณ์สำเร็จสร้างสรรค์สังคม

เมื่อคิดเชิงระบบภาพลึกด้วยการประเมินโปรแกรม หรือ Systems thinking of program evaluation ก็พบว่า กรณีศึกษาแรก ปวดหลังคดเรื้อรัง ทำกายภาพบำบัดแล้วดีขึ้น 30% เมื่อมาฝึกกิจกรรมบำบัดในท่าทางผ่อนคลาย ทรงตัว และยืดหยุ่นด้วยโปรแกรมการจัดการความล้าและการสงวนพลังงานด้วยตนเองก็ดีขึ้นอีก 30% รวมเป็น 60% ยังขาดอีก 40% จึงคิดเป็นระบบภาพกว้างด้วยการออกแบบโปรแกรม หรือ Systemic thinking of program creation ก็เสนอให้กรณีศึกษาฝึกจิตใต้สำนึกร่วมกับกิจกรรมบำบัดสื่อการใช้ตัวเองบำบัด หรือ Therapeutic use of self และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปรับท่าทางที่ตระหนักรู้ว่า "เป็นท่าที่สบายในทุกอิริยาบถ" หรือ Mindfulness based learning

เมื่อคิดทบทวนอย่างมีระบบหลังจากให้โปรแกรม หรือ Systematic review of program action ก็เกิดความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ คือ หลังจากการทำ Neuro-Linguistic Programming หรือ NLP ด้วยเครื่องมือ State Management & Reimprinting ก็สามารถให้กรณีศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบภาพหรือ Visual Learning Style ทำให้ค่อยๆคุมคลี่คลายความรู้สึกปวดตึงขมับซ้ายจากการฟุ้งคิดด้วยจินตนาการมากมายในสมองซีกขวา สังเกตตาซ้ายปิดไม่สนิท แต่ก็ให้จิตใจผ่อนคลายความรู้สึกปรับร่างกายซ้ายขวาให้สมมาตรมั่นคงและมั่นใจในศักยภาพการรับรู้สึกนึกคิดระหว่างสมอง จิต และส่วนต่างๆ ตั้งแต่ศรีษะ ใบหน้า ดวงตา ลมหายใจยาวๆ เปิดปากออกเสียงตามใจ คอ บ่า ไหล่ แขน มือ หน้าอก หัวใจ เอว สะโพก ก้น ขา และเท้า (จากภาพย่อยมาภาพรวมเชื่อมด้วยลมหายใจจนนิ่งและผ่อนคลายกายใจ) ทำให้ความรู้สึกสบายและมั่นใจในกายจิตแห่งตนจาก 6/10 เป็น 7/10 จนถึงการกลับไปเรียนรู้ความรักของคุณแม่ แม้ว่าจะตำหนิจนทำให้วัยเด็กเสียใจ ย้อนไปถึงปมที่ยึดติดกับการสูญเสียน้องชายที่สวมร่างบอกพี่สาว (เคส) ให้เพิ่มพลังร่าเริง ลดความมีสาระแห่งชีวิตที่ตึงเครียดตลอดเวลา รวมทั้งคลายหยุดเสียใจกับเหตุการณ์ในอดีตเสียที ทำให้ความรู้สึกสบายและมั่นใจในกายจิตแห่งตนจาก 7/10 เป็น 8/10 สุดท้ายให้จินตนาภาพความสนุกสนานร่าเริงในชีวิตด้วยภาพการเคลื่อนไหวเล่นบาส ก็ให้หลับตามีอารมณ์ร่วมและให้เคลื่อนไหวอิสระกับร่างกายแล้วผ่อนคลายด้วยท่าโยคะที่เคสฝึกบ่อยๆ แต่เลือกและปรับท่าจนทำให้ความรู้สึกสบายและมั่นใจในกายจิตแห่งตนจาก 8/10 เป็น 10/10 จบลงด้วยความปลื้มใจในเวลาทั้งหมดเพียง 1 ชม.

กรณีศึกษาสองก็ไม่ยากนัก ปวดเอวซีกขวาหลังตื่นนอนทุกเช้า สักพักก็คลาย คุณหมอส่งกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็ดีขึ้น 50% เมื่อมาฝึกกิจกรรมบำบัดในท่าทางผ่อนคลาย ทรงตัว และยืดหยุ่นด้วยโปรแกรมการจัดการความล้าและการสงวนพลังงานด้วยตนเองก็ดีขึ้นอีก 20% รวมเป็น 70% ยังขาดอีก 50% จึงคิดเป็นระบบภาพกว้างด้วยการออกแบบโปรแกรม หรือ Systemic thinking of program creation ก็เสนอให้กรณีศึกษาฝึกจิตใต้สำนึกร่วมกับกิจกรรมบำบัดสื่อการใช้ตัวเองบำบัด หรือ Therapeutic use of self และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปรับท่าทางที่ตระหนักรู้ว่า "เป็นท่าที่สบายในทุกอิริยาบถ" หรือ Mindfulness based learning

เมื่อคิดทบทวนอย่างมีระบบหลังจากให้โปรแกรม หรือ Systematic review of program action ก็เกิดความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ คือ หลังจากการทำ Neuro-Linguistic Programming หรือ NLP ด้วยเครื่องมือ State Management & Emotional Freedom Tapping (EFT) เน้นลดภาวะกังวล ก็สามารถให้กรณีศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบภาพหรือ Auditory Digital Learning Style ทำให้ค่อยๆคุมคลี่คลายความรู้สึกตึงสะบักขวาจากการฟุ้งคิดด้วยเหตุผลมากมายในสมองซีกซ้าย สังเกตคิ้วขมวดจนตึงกลางหน้าผาก แต่ก็ให้จิตใจผ่อนคลายความรู้สึกปรับร่างกายซ้ายขวาให้สมมาตรมั่นคงและมั่นใจในศักยภาพการรับรู้สึกนึกคิดระหว่างสมอง จิต และส่วนต่างๆ ตั้งแต่ศรีษะ ใบหน้า ดวงตา ลมหายใจยาวๆ เปิดปากออกเสียงตามใจ คอ บ่า ไหล่ แขน มือ หน้าอก หัวใจ เอว สะโพก ก้น ขา และเท้า (จากภาพย่อยมาภาพรวมเชื่อมด้วยลมหายใจจนนิ่งและผ่อนคลายกายใจ) ทำให้ความรู้สึกสบายและมั่นใจในกายจิตแห่งตนจาก 7/10 เป็น 8/10 สุดท้ายให้ขยับเชื่อมั่นในการเคลื่อนไหวร่างกายหมุนรอบตัวไปทางซ้าย พบว่า มีอาการมึนหัว จึงให้ค่อยๆ ทำสมาธิทบทวนความรู้สึกที่ผ่อนคลายตามลำดับจากศรีษะไปจนถึงปลายเท้า ต่อด้วยการทำความเข้าใจยอมรับอาการเรื้อรังของเอวซีกขวาที่ไม่หายทั้งหมด แต่ควรเพิ่มพลังแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ สะเอว แล้วเลือกท่าโยคะที่เคสฝึกบ่อยๆ แต่เลือกและปรับท่าจนทำให้ความรู้สึกสบายและมั่นใจในกายจิตแห่งตนจาก 8/10 เป็น 10/10 จบลงด้วยความปลื้มใจในเวลาทั้งหมดเพียง 30 ชม.

ส่วนกรณีสามก็น่าสนใจทำให้รู้ว่า "การฝึกสมาธิพึงใช้ใจมากกว่าคิดตึงยึดลมหายใจ" นี่คือกิจกรรมบำบัดบูรณาการฝึกจิตใต้สำนึกกว่า 2 ชม.ครึ่งด้วยความก้าวหน้า ศึกษาจากการบันทึก SOAP (Subjective, Objective, Assessment, & Plan/Progress/Programming) ด้วยการใช้เหตุผลทางคลินิกร่วมใจกายจิตสังคม




และทั้งหมดนี้ทำให้ผมเติมเต็มจากการใช้ดวงใจให้หัวใจสัมผัสจิตใจด้วยคุณธรรมประจำใจ ศีลธรรมประจำจิต (คิด) และจริยธรรมประจำกาย สื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดทำให้ได้อุปลักษณ์น่าสนใจคล้ายลายแทง ดังภาพข้างล่าง




ขอบพระคุณท่านอาจารย์ชลวิทย์และอาจารย์กวี ที่ทำให้ผม "เชื่อมั่นใจในศรัทธา ความรัก ความตาย ด้วยคิดเชิงระบบ คือ รู้สึกดีต่อตนเองและผู้อื่น มีวิสัยทัศน์ด้วยดวงใจ มีวินัยวางแผน มีจิตคิดสร้างสรรค์ ใช้กายรวดเร็ว มีความสุขุมสติสัมปชัญญะ และมุ่งเป้าหมายสำเร็จ" ด้วยการพัฒนาตนเองคล้ายใช้ตนเองบำบัดอย่างมีกระบวนการเรียนรู้ที่สำเร็จเป็นระบบ 7 ข้อ คือ พูดจาดี (ข้อมูลดี อารมณ์ร่วม ใตร่ตรอง พูดคิดบวก มองรอบด้านสร้างสรรค์) เป้าหมายดี มนุษย์สัมพันธ์ดี คิดบวกทุกอย่างเป็นไปได้ คาดหวังในชีวิต บุคลิกภาพดี (มองหน้า สบตา ยิ้ม ทักทาย) และน่าเชื่อถือ (ตรงเวลาและรักษาคำพูด) และเกิดคุณค่าในการใช้ชีวิตดูแลตนเองและผู้อื่นจากกิจกรรมการทำงาน/การใช้เวลาว่าง/การเข้าสังคม อย่างมีความสัมพันธ์วิเคราะห์สังเคราะห์กิจกรรมรอบตัวเชิงระบบ 5 ช. คือ ใช่ (ทำทันที 3 นาที) ชอบ (Love to Do - Stay Hungry Stay Foolish - Steve Jobs) เชื่อ (เราเปลี่ยนแปลงได้ เชื่อมั่นใน ME และ WE เชื่อมั่น Teamwork) โชว์ผลงาน (ชีวิตเราสั้นนัก จงไม่ประมาท) ชมคนต่อหน้า ทุกงานที่ทำ ทุกสถานที่ ทุกโอกาส และทุกวัน (ควรติเฉพาะคนลับ ติ 1 คำจำตลอดชีวิต...ต้อง Reward, Recognition, & Remove barrier )

หมายเลขบันทึก: 609115เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2016 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2016 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากครับอ.ต้นและพี่ดารนี

5 ช. คือ ใช่ (ทำทันที 3 นาที) ชอบ (Love to Do - Stay Hungry Stay Foolish - Steve Jobs) เชื่อ (เราเปลี่ยนแปลงได้ เชื่อมั่นใน ME และ WE เชื่อมั่น Teamwork) โชว์ผลงาน (ชีวิตเราสั้นนัก จงไม่ประมาท) ชมคนต่อหน้า ทุกงานที่ทำ ทุกสถานที่ ทุกโอกาส และทุกวัน.

เราต้องขอไปหัดชมก่อนดีกว่าค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.โอ๋ และพี่ดร.จันทวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท