วัฒนธรรมการข่มขืนในประเทศไทย (Rape Culture in Thailand)


วัฒนธรรมการข่มขืนคือวิธีการซึ่งการกระทำรุนแรงทางเพศถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ และเป็นบรรทัดฐาน (normalized) วัฒนธรรมการข่มขืนจะเกี่ยวข้องกับเหยื่อ ที่ต้องถูกกล่าวหา, ถูกทำให้อับอาย, และต้องซ่อนความผิดของตนเอง วัฒนธรรมการข่มขืนนี้จะนำเสนอในสื่อ และสถาบันต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติการทางสังคมอีกด้วย เป็นที่แน่นอนว่าวัฒนธรรมการข่มขืนนี้ไม่ได้คงอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังปรากฏในทุกๆที่ แต่โพสต์นี้จะอภิปรายแต่เฉพาะวัฒนธรรมนี้ในประเทศไทยเท่านั้น

เมื่อไม่นานมานี้ฉันได้สอนนักเรียนจำนวน 4 คน ซึ่งเป็นชาย 2 คน และหญิง 2 คน ในระหว่างการสอน จะมีนักเรียนชายคนหนึ่งได้ทำเรื่องตลก (joke) เกี่ยวกับฉัน ให้นักเรียนหญิงอีกคนฟัง ฉันไม่ได้ยินสิ่งนั้น แต่นักเรียนหญิงคนนั้นบอกกับฉันว่า

“เขาบอกกับฉันว่าหากครูไม่ให้เขาผ่านวิชานี้ เขาจะข่มขืนอาจารย์”

ฉันโต้ตอบว่า “ฉันไม่เข้าใจ”

“ข่มขืนค่ะ เขาจะข่มขืนอาจารย์ค่ะ? เธอพยายามทวนพร้อมกับมีเสียงหัวเราะกลั้วตลอด (gigle)

“ฉันเข้าใจความหมายของคำว่าข่มขืน แต่ฉันไม่เข้าใจเรื่องตลก (joke)”

ในทันทีทันใดนั้นเธอจึงรู้สึกว่าฉันกำลังขุ่นใจ (offended) และกลับมาหาฉันอีกหลายครั้งเพื่อขอโทษ แต่นักเรียนชายที่พูดประโยคนั้นไม่ได้มาขอโทษแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าเรื่องตลกของเขานั้นไม่มีความเหมาะสมแต่อย่างใดเลย แฟนของเขาเป็นนักเรียนในห้องนั้น ฉันจึงคิดว่าเขาไม่ได้สนใจกับเรื่องตลกของเขาแต่อย่างใด ฉันรู้สึกสับสนและตกตื่นใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ฉันได้คุยกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นคนไทยฟัง และแน่นอนว่าปฏิกิริยาของเขาเป็นเหมือนกับฉัน เจ้านายของฉันได้พูดคุยกับฉันเมื่อเธอได้ยินเรื่องนี้ และขอโทษฉัน และบอกกับฉันว่าเธอจะเรียกนักเรียนชายที่กล่าวเรื่องตลกนี้ให้ได้ ประเด็นในเรื่องนี้ก็คือการกระทำดังกล่าวไม่ใช่การกระทำให้ยั่วประสาทแต่เพียงอย่างเดียว การข่มขืนถูกทำให้เป็นบรรทัดฐานซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา และในโพสต์นี้ฉันจะขอพยายามและรวบรวมการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ในมุมมองของฉันเอง

ในภาษาไทย จะมีคำอยู่ 2 คำ ที่มีความหมายถึงการข่มขืน คำหนึ่งก็คือการปล้ำ หรือการร่วมเพศโดยการใช้กำลัง (forced sex) และคำที่สองก็คือข่มขืน (rape) ในขณะที่คำสองคำนี้หมายถึงการข่มขืนต่อพวกเรา แต่ไม่มีกรณีอย่างนี้ในภาษาไทย จริงๆแล้วก็อาจดูเหมือนความขบขันที่กล่าวว่ามีคำอยู่สองคำในความหมายว่าการข่มขืน อันหนึ่งจริงจังมากกว่าอีกอันหนึ่ง สิ่งนี้จึงปรากฏเป็นกรณีศึกษา สำหรับพวกเรา การข่มขืนคือการข่มขืน ในบางครั้งจะยินยอม หรือไม่ยินยอมก็ตาม ในประเทศไทย สิ่งนี้ยังไม่ชัดเจน

คำว่าข่มขืนในภาษาไทยมีนัยยะของการกระทำทางอาญา (criminal act) (จะเป็นอย่างนี้เสมอไปใช่หรือไม่?) อย่างไรก็ตามคำว่าปล้ำ จะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า ปล้ำ เริ่มต้นโดยการใช้กำลัง (forceful) และดูป่าเถื่อน (violent) แต่ในบางครั้งอาจก่อให้เกิดความสัมพันธ์กันก็ได้ โดยปกติแล้ว จะเห็นฉากพวกนี้ในละครในบางครั้งความสัมพันธ์นี้เกิดขึ้นมาจากตัวละครฝ่ายหญิงที่หวงเนื้อหวงตัว (under some kind of ownership) และถูกข่มขืนโดยตัวละครผู้ชาย ในบางครั้งก็อาจเกิดจากการสำนึกผิดของผู้ชายในการข่มขืนผู้หญิง และต้องการจะดูแลเธอ และรับผิดชอบต่อการกระทำของตน ในเรื่องอื่นๆ อาจเกิดมาจากความพึงพอใจระหว่างคนสองคน แต่ในสภาวะของเพศสภาพเชิงวัฒนธรรม (cultural gender) ฝ่ายหญิงไม่สามารถเริ่มก่อนได้ ดังนั้นจึงอาศัยตัวละครเพศชายเป็นตัวเริ่มต้นในการกระทำการร่วมเพศกับตัวละครหญิง หลังจากได้เป็นแฟนกันแล้ว

การปล้ำโดยส่วนใหญ่จะมีนัยยะของ “หญิงดี” กัน “หญิงเลว” อยู่ด้วย ถ้าเป็นหญิงดี เขาจะทำทุกอย่างเพื่อเธอ แต่ถ้าเป็นหญิงเลว เขาจะทำโทษหล่อน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกรณี การตำหนิจะอยู่ที่ฝ่ายหญิง (victim) มากกว่าฝ่ายชาย (perpetrator) ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสลับซับซ้อน แต่วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับฉันก็คือการยกตัวอย่างให้ดูจะดีกว่า ฉากข้างล่างก็มาจากละครเรื่อง เกมส์ร้ายเกมส์รัก ซึ่งแสดงเรื่องการปล้ำระหว่างนักแสดง ตัวละครชายพยายามจะกอดและจูบด้วยความเมามัน แต่เธอจะตะโกนและทุบตีผู้ชาย ในเสี้ยววินาที จะเป็นฉากที่โรแมนติก โดยการที่ทั้งคู่นั่งอยู่กลางทะเลสาบ กอดกันอย่างมีความสุข ก่อนที่ย้ายกลับไปสู่ฉากเดิม หล่อนจะหยุดขัดขืนเขาและยอมตามเขาไปโดยดุษฎี

คลิปนี้มาจากละครเรื่อง สวรรค์เบี่ยง ซึ่งป่าเถื่อนกว่าเรื่องเมื่อครู่ การที่เหยื่อมาเจอผู้ข่มขืนเธอในเช้าวันต่อมา

นี่คือฉากจากละครเรื่อง เสน่ห์หาสัญญาแค้น ตอนนี้เป็นช่วงที่ดาราฝ่ายชายกำลังพยายามจะข่มขืนดาราหญิง เขาพบว่าเธอกำลังร้องไห้ และหยุดที่จะถามเธอว่าทำไม ต่อมาเขาจึงเริ่มได้สติว่ากำลังทำอะไรลงไป รู้สึกโมโห (upset) และออกจากห้องไป

ฉากเหล่านี้สามารถหาอย่างง่ายๆได้ในยูทูป เพราะเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา สามัญ บทความที่มีรายละเอียดสามารถหาได้ใน Coconuts Bangkok (http://bangkok.coconuts.co/2014/07/16/rape-culture-ramakien-railway-were-all-blame) ในนั้นจะกล่าวว่า “การข่มขืนยังคงถูกโค้ด (coded) ลงไปใน DNA ของละครไทย ดังจะเห็นได้จากซีรี่โทรทัศน์จะต้องมีความรุนแรงทางเพศ (sexual violence) ต่อฝ่ายหญิงเสมอๆ วัยรุ่นหญิงต่อมาที่ได้เห็นฉากๆนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากสื่อจะเรียนรู้ถึงบทบาทของตนเอง และวีรสตรีจะต้องพ่ายแพ้ต่อความรุนแรงทางเพศนี้เป็นประจำ

จริงๆแล้วในการศึกษาปี 2014 ได้แสดงว่าจะมีเปอร์เซ็นมากกว่า 80 ในละครที่มีการข่มขืน หรือความรุนแรงทางเพศสภาพ (gender-based violence) ในบทความ กล่าวว่าแทนที่ฉายภาพให้เห็นการกระทำเชิงอาญา (violent crime) และการทุบทำลายซึ่งสิทธิ แต่ละครไทยยังมีลักษณะที่เห็นว่าการข่มขืนเป็นธรรมดา ธรรมชาติ ซึ่งโดยมากแล้วจะอยู่ในรูปการแก้แค้นหรือการทำโทษ ในเรื่องบางเรื่อง ผู้ข่มขืนยังเคยเป็นพนักงานโรงแรม เพื่อที่หลอกล่อเหยื่อให้เข้าไปในโรงแรมเพื่อทำการข่มขืน ด้วยฉากที่เป็นธรรมชาติเหล่านี้ในละครไทย ดังนั้นจึงเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์การข่มขืน เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ในสังคมไทยการร่วมรักด้วยการใช้พละกำลัง (force sex) ภายในความสัมพันธ์ และ การข่มขืนโดยคนรู้จัก โดยส่วนใหญ่ก็คือการกระทำให้เป็นเรื่องธรรมดา (normalized) และส่วนหนึ่งเป็นปัญหาเช่นกัน โฆษณานี้ (http://www.thairath.co.th/content/474769) เป็นส่วนหนึ่งละคร ซึ่งบรรยายอย่างละเอียดถึงตัวละครผู้ชายกำลังข่มขืนลูกเลี้ยง พร้อมๆกับฉากที่อยู่ในเนื้อเรื่อง แต่ทั้งหมดสำหรับฉันแล้วเป็นเรื่องขุ่นข้องหมองใจ (disturbing) บทความเป็นภาษาไทย ฉันจะลองแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ขอโทษสำหรับความผิดพลาดนี้ด้วย)

“ในขณะที่มดกำลังหลับสนิท พ่อเลี้ยงของหล่อนที่ชื่อว่าเอ็กซ์ ย่องเข้ามาในห้อง จองมองหล่อนด้วยความหื่นกระหาย (lustfully) มือของเขาลูบไล้ไปที่ต้นขา และพยายามที่จะข่มขืนหล่อน ฉากนี้อาจทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นจนพอใจ (thrill) มดพยายามที่จะต่อสู้การข่มขืน เหงื่อของเอ็กซ์โทรมกายและเหมือนน้ำลายจะหกจากปาก มดถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาด้วยความกลัว และพยายามจะหนีรอดจากเอ็กซ์ เขาพยายามที่จะตบหล่อน และใช้เรี่ยวแรงทั้งหมดในการปลุกปล้ำ แต่หล่อนสู้กลับและเตะเขา ซึ่งทำให้กระโปรงหลุดออกมา เอ็กซ์ไม่ยอมให้หลุดมือ เขากลับขึ้นคร่อม (straddle) และกระชาก (yank) กระโปรงให้หลุดออกมา การเห็นเนื้อขาวๆกระตุ้นอารมณ์ เขาบีบคอ (strangle) จนหล่อนร้องไห้ กรุณาอย่าพลาดชมเรื่องนี้ที่ช่อง 8”

โฆษณานี้สับสนในตนเอง แต่ที่น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือ เหตุการณ์ทำนองนี้ไม่ปรากฏขึ้นในทีวีเท่านั้น พวกมันปรากฏขึ้นในโลกของความจริง และผู้คนที่เป็นเหยื่อจะถูกประณามมากกว่าได้รับการช่วยเหลือ ราชการไทย (Thai authorities) ประณามการข่มขืนหญิงอังกฤษที่อำเภอปาย ซึ่งอยู่ทางเหนือ ด้วยเท็จจริงที่ว่าหล่อนเมาและบาร์ที่หล่อนไปดื่มนั้นเปิดช้าเกินไป ต่อมาเหยื่อได้พูดออกมา และแนวเรื่องของหล่อนก็คล้ายๆกับเรื่องในละครในทำนองที่ว่าผู้ข่มขืนออกมารับผิด รู้ตนเองว่าได้กระทำผิด ขอโทษ และพยายามที่จะดูแลหล่อน ซึ่งก็คือขับรถพาหล่อนไปที่บ้าน

ในเนื้อข่าว หล่อนกล่าวว่าผู้ข่มขืนต้องการที่จะไปส่งหล่อนที่บ้าน แต่เขากลับพาหล่อนไปที่ป่า และข่มขืนหล่อน “ฉันรู้สึกกลัวที่สุดในชีวิต” หล่อนพูด “เขาพยายามทับฉัน และร้องไห้ พร่ำบอกแต่ว่าเขารักฉันมากแค่ไหน เขาต้องการจะแต่งกับฉัน และเขารู้สึกเสียใจ เขาหยิบแหวนขึ้นมา พยายามสวมที่นิ้วของฉัน แต่ฉันคืนแหวนให้เขาไป”

เธอพูดว่า ดูเหมือนผู้ชายจะรู้สึกนึกผิด และพาหล่อนไปที่บ้านพักหลังเล็กๆ (guesthouse) ที่หล่อนพอที่จะขอความช่วยเหลือได้ หล่อนถูกพาไปที่โรงพยาบาล แต่ไม่มีหมอมาทำหน้าที่ ตำรวจโทรไปหาหมอให้มาตรวจเธอที่บ้าน แต่หมอนอนหลับอยู่ และกรณีนี้ก็ไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน ดังนั้นตำรวจจึงพาเธอกลับไปที่บ้านพักอีกครั้งหนึ่ง หญิงคนนี้ถูกพาไปที่โรงพยาบาลในบ่ายวันต่อมา หล่อนต้องจ่ายเงินค่าตรวจสอบเรื่องการข่มขืนเป็นจำนวน 100 ดอลลาร์

การข่มขืนในปี 2014 และมีการฆาตกรรมเด็กหญิงอายุ 13 ปี บนรถไฟ ที่ได้เขย่าขวัญคนทั้งชาติ และมีการโต้เถียงกันถึงโทษขั้นเด็ดขาดสำหรับผู้ข่มขืน (harsher punishment) และก็มีเสียงของผู้ที่เคยถูกข่มขืนมาก่อนบนรถไฟเมื่อ 10 ปีล่วงมาแล้ว แต่เธอต้องหนีออกจากประเทศไทย หลังจากที่ถูกตราหน้า (stigmatized) และถูกไล่ออก โดยเจ้านาย เพราะเรื่องของเธอได้เป็นที่สนใจสำหรับนักข่าว หากสนใจ โปรดเปิดไปที่ (http://www.bangkokpost.com/print/419778/) และ (https://thaiwomantalks.com/2014/07/16/in-thailand-collective-responsibility-is-the-best-tribute-to-rape-victims/)

บทความที่อยู่ในขั้นยอดเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งจาก Kaewmala ก็คือเรื่องหญิงชาวต่างชาติ ถูกชายกระบี่ข่มขืน พ่อของเหยื่อสร้างวิดีโอเพื่อวิพากษ์ตำรวจในการให้ผู้สงสัยได้รับการประกันตัว ทั้งที่ๆเขาเข้ามามอบตัวและสารภาพ ตำรวจได้โต้กลับโดยการใช้วิดีโอ ซึ่งมีการกล่าวร้ายเหยื่อและทำลายชื่อเสียง คนไทยโดยมากตีกลับ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงเจตคติที่แตกต่างกันระหว่างสาธารณะ กับเจ้าหน้าที่ แต่ Kaewmala กล่าวว่า “สังคมของเราเป็นสังคมที่ทั้งใหม่และเก่าอยู่ด้วยกัน พวกเราดำรงอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นเร็วในบางที่ และอาจช้าในบางที่ การโต้กลับเชิงลบจากคนไทยรุ่นใหม่ๆที่มีต่อปฏิกิริยาของตำรวจเป็นตัวอย่างของการแตกหัก (clashes) ระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ในที่สุดคนรุ่นใหม่จะชนะ แต่เจตคติที่เปลี่ยนแปลงไปจำเป็นต้องใช้เวลา”

ถ้าจะมี ก็มีแต่กรณีที่ชัดเจน อย่างที่เรารู้ การข่มขืนโดยมากแล้วจะไม่มีการรายงานในสื่อใดๆ และในประเทศที่เจตคติที่มีต่อการข่มขืนล้าหลังยิ่งกว่าสิ่งใดๆ ดังนั้นเรื่องการข่มขืนจึงให้เราอย่างน้อยนิดจริงๆ เรื่องที่น่าถกเถียงในประเด็นก็คือ เราจำเป็นต้องมีการแทรกแซงหรือไม่ หากเห็นผัวเมียทะเลาะกัน บางครั้งก็มีความรุนแรง? ลูกศิษย์ และเพื่อนร่วมงานของฉันถามคำถามนี้ เรื่องนี้ได้เป็นที่สนใจ เพราะพวกเขาชมวิดีโอที่เป็นเชิงทดลองทางโซเชี่ยลมีเดียอันหนึ่ง (https://asiancorrespondent.com/2016/04/viral-video-most-thais-ignore-domestic-violence-in-social-experiment/) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีชายคนหนึ่งใช้ร่างกายและวาจาทำร้ายหญิงคนหนึ่ง กลางสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยผู้คน เพื่อดูว่าพวกคนที่ผ่านไปผ่านมาเหล่านั้นจะมีปฏิกิริยาอย่างไร

นักเรียนของฉันส่วนใหญ่ต่างกล่าวว่า โดยปกติแล้ว คนไทย หากเป็นผัวเมียกำลังทุบตีกันอยู่ก็จะไม่เข้าไปยุ่ง ปล่อยให้เป็นธุระของพวกเขาเอง เด็กคนหนึ่งกล่าวว่า “พวกเขาต่อสู้กัน แล้วก็ดีกัน และกลับมารักกันอย่างเดิม ซึ่งก็เป็นเรื่องโอเค ถึงแม้ว่าคนอื่นๆจะไม่เห็นด้วยก็ตาม อีกคนบอกกับฉันว่า มีเพื่อนคนหนึ่งถูกทำร้ายโดยผู้ชายที่จะเข้ามาลักกระเป๋า หล่อนจึงบอกให้ยาม (security guard) ให้ช่วยเหลือหน่อย ผู้ทำร้ายบอกกับตำรวจว่า “นี่เป็นเมียของฉัน” ถึงแม้ว่าหล่อนจะบอกว่าฉันไม่ใช่เมียของเขา แต่ยามก็ไม่ช่วยอะไรหล่อนเลย

กรณีที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ เสก โลโซ ซึ่งเป็นนักร้องเพลงร้อค ถูกถ่ายวิดีโอที่กำลังตบหน้าเมียภายนอกบ้าน ในปี 2014 วิดีโอนี้เป็นเหมือนตัวไวรัส (viral) ต่อมาหล่อนได้โพสต์ภาพหน้าที่เป็นรอยช้ำ (bruises)และปวดปูด (swollen) บนเฟซบุ๊ค ดังนั้นเขาจึงยื่นฟ้องหล่อนเป็นเงิน 2.5 ล้านบาทในการบาดเจ็บ โดยอ้างว่าหล่อนพยายามในการทำลายชื่อเสียง และทำให้คอนเสิร์ตของเขาถูกงด สิ่งนี้ดูเหมือนว่าจะน่าขัน แต่กฎหมายการสมรสในประเทศไทยที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทจะว่าด้วยความไม่รู้ของฝ่ายหญิง สิ่งนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้

เรื่องราวเหล่านี้คือตัวอย่างที่ว่าด้วยความรุนแรงเชิงเพศสภาพ (gender-based violence) ในประเทศไทยทั้งนั้น บทความจาก Harvard National Review ที่ชื่อThe Privileged Lie of Gender Equality in Thailand (http://hir.harvard.edu/privileged-lie-gender-equality-thailand/) ให้มุมมองที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องความเสมอภาคทางเพศสภาพในประเทศไทยไว้ว่า “การค้นหาคำว่าข่มขืนในประเทศไทย จะไปเจอหนังโป๊ที่เกี่ยวกับการข่มขืน (rape porn) มากกว่าข่าว หรือเว็บไซต์ที่พูดถึงเรื่องนี้” ฉันได้ทดลองดู ก็ปรากฏว่าจริงอย่างที่บอก

ในบทความยังได้พูดถึงการเชื่อมโยงกันระหว่างความไม่เสมอภาคและชนชั้นไว้ด้วย โดยมีเนื้อหาว่า ในขณะที่ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอยู่หลายส่วน เช่น มีนายกฯรัฐมนตรีหญิง มีผู้หญิงที่เป็น ดร. มากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สถานะภาพของหญิงไทยยังคงไม่สดใสนัก

“ความเป็นจริงก็คือหญิงไทยยังไม่ได้มีการเลื่อนชั้น (mobility), ได้รับโอกาสทางการศึกษา (education), และไม่มีส่วนร่วมในการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มแรงงานัก (labour force participation) แต่สิ่งที่หญิงไทยประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็คือ การขาดพลังอำนาจ (access to power) และ การลดชั้นทางวัฒนธรรม (cultural disempowerment) ซึ่งเกิดมาจาก การเป็นอาณานิคมทางวัฒนธรรม (sexual imperialism), นโยบายของรัฐ (state policies), และกระบวนการจำกัดทางเพศสภาพ (gender-specific socialization)”

เห็นได้ชัดเจนแล้วว่าวัฒนธรรมการข่มขืน และการตำหนิเหยื่อยังคงปรากฏในสังคมอยู่ ทั้งในสื่อและในกฎหมาย แต่เจตคติที่อยู่ในหมู่ผู้คนใช่ว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง การขอร้องให้เลิกเผยแพร่คติการล่อล่วงข่มขืนว่าเป็นสิ่งปกติได้ปรากฏขึ้น ได้มีผู้เซ็นชื่อประมาณ 60,000 รายชื่น และฉันนั้นก็ได้เซ็นชื่อไปแล้วรวมทั้งเพื่อนร่วมงาน และลูกศิษย์ของฉันด้วย ถ้าไม่มีเรื่องอื่นใด บทความนี้จะขอถามเหตุใดละครจึงยังไม่เลิกให้เจตคติว่าการข่มขืนเป็นเรื่องปกติ ทำไมจึงไม่แสดงให้เห็นว่าการข่มขืนเป็นปัญหา และลดทอนซึ่งมนุษยธรรมเสียที?

แปลและเรียบเรียงจาก

Under The Ropes. Rape Culture in Thailand. https://undertheropes.com/2016/04/01/rape-culture-in-thailand/

หมายเลขบันทึก: 607251เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2016 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2016 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รู้สึกเช่นเดียวกันค่ะกับคำว่าปล้ำกับข่มขืนว่ามีความหมายที่ต่างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท