ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ!)


ปราบเพลี้ยไฟไรแดง แห่งวิถีชีวภาพ (ก็ไม่ง่ายนะ

ปัญหาเรื่องเพลี้ยไฟไรแดงที่กำลังระบาดและสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้พี่น้องเกษตรกรอยู่ขนะนี้ ก็ไช่ว่าจะมีแต่ผู้ปลูกมะนาว กล้วยไม้ พริกเท่า มะละกอเท่านั้นนะครับ ยังมีพืชอื่นๆ อีกมากมายที่พบกับปัญหานี้ด้วยเช่นกันเพราะว่าช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ผ่านฝน ผ่านชื้น ผ่านแฉะมาเนิ่นนานจากปัญหาภัยแล้ง ก็ย่อมทำให้พืชหลากหลายชนิดเริ่มที่จะสะสมน้ำตาลไว้ในต้นมากขึ้น มากกว่าปริมาณของไนโตรเจนที่มากับน้ำฝน มากับความชื้นแฉะที่พื้นดินเดิมละลายออกมาจากปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก

ด้วยเหตุดังนี้ทำให้ความหวานในสรีระหรือส่วนต่างๆของพืชมีเพิ่มมากขึ้น กลุ่มของแมลงปากดูดทั้งหลายที่ชอบกินน้ำตาลก็สามารถที่จะใช้เป็นแหล่งอาหารในการดำรงชีวิตตามสภาพธรรมชาติที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะ “เพลี้ยไฟ” ก็เป็นแมลงจำพวกปากดูดเช่นกันมีขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายพืชต่างๆ ที่เขาชอบ โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะแตกยอดใหม่ๆ เมื่อใบพืชโตใหญ่ขยายขึ้นในส่วนของใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบ และเจ้าเพลี้ยไฟก็จะอาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น ในอดีตก็จะพบระบาดเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพที่พืชขาดน้ำนาน ถ้าระบาดมากๆทำให้พืชแห้งเหี่ยวล้มตายได้ แต่ปัจจุบันนั้นก็ไม่แน่ไม่นอนถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม เพลี้ยไฟก็สามารถกลับมาระบาดได้ด้วยเช่นกัน

วิธีการป้องกันกำจัดนั้น ก็ไช่ว่าจะทำได้ง่ายๆ นะครับ เพราะว่าตัวเขามีขนาดเล็กเรียกว่าแทบจะมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น จะฉีดพ่นให้สปอร์ของเจ้ารากินเพลี้ยอย่าง บิวเวอร์เรีย และ เมธาไรเซียม (ทริปโตฝาจ [Triptophaj], คัทออฟ [Cutoff]) เข้าไปสัมผัสเกาะติดกับตัวก็ค่อนข้างยาก ฉะนั้นในกรณีที่ต้องการปราบเจ้าเพลี้ยไฟและไรแดงให้อยู่หมัดอาจจะต้องกระทำแบบเป็นกระบวนการ คืออย่าปล่อยให้พืชอ่อนแอ จากปัญหาสภาพดินที่เป็นกรดหรือด่างจัด จนพืชได้รับแร่ธาตุสารอาหารไม่ครบถ้วน สร้างความแข็งแกร่งเพิ่มคุ้มกันตั้งแต่ระยะต้นเล็กๆ หรือเริ่มบำรุงหลังเก็บเกี่ยวด้วยการรองพื้นด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช [Pumish], พูมิชซัลเฟอร์ [Pumish Sulpher]) เปรียบเหมือนเป็นการวอร์เครื่องให้พืชมีความแข็งแรงและวิธีการเดินสำรวจตรวจตราหมั่นดูแปลงเรือกสวนไร่นาเราอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อจะได้ทราบว่า ณ จุดไหน บริเวณใดมีการระบาดในระยะแรกๆ จะได้เข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ การใช้กิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรคไม่ปล่อยให้มาสร้างอาการอ่อนแอและแพร่เชื้อโรคในสวนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต้องทำด้วยเช่นกัน

ทีนี้ก็มาถึงการกำจัดเขาด้วยสารสกัดจากกระเทียมพริกไท (ไพเรียม

นำกระเทียม

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606475เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท