โรครากเน่าโคนเน่า เข้าทำลายในสภาพน้ำชื้นดินเหนียวแข็ง


โรครากเน่าโคนเน่า เข้าทำลายในสภาพน้ำชื้นดินเหนียวแข็ง

สภาพอาการของพืชที่ปลูกลงไปแล้วมีอาการใบค่อยๆ เหลือง และร่วงหล่นและถ้ายังปล่อยไปแบบนั้นเรื่อยๆแบบไม่มีใครเหลียวแล ก็จะแห้งยืนต้นตายไปในที่สุด ลักษณะอาการแบบนี้ถ้าดูและสังเกตไม่ดีก็จะอาจจะหลงทางแก้ปัญหาแบบผิดๆ โดยคิดว่าเป็นอาการสาเหตุจากโรคทางใบ ไปฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อราทางใบ แล้วก็ฉีดเท่าไรก็ไม่หายสักทีถ้ามีแค่เพียงต้นสองต้นก็ไม่เป็น แต่ถ้ามีเป็นสิบเป็นร้อยไร่ก็เสียทั้งเวลาเปลืองทั้งเงินถือว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนโดยใช่เหตุแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ท่านผู้อ่าน พีน้องเกษตรกรลองไปสังเกตดูสภาพแวดล้อมที่บริเวณโคนต้นใต้ทรงพุ่มดูดีๆ ก็อาจจะถึงบางอ้อได้นะครับ ในกรณีที่เห็นอาการใบเหลืองดังที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้ว ไม่สามารถดูแลแก้ปัญหาตามนั้นได้ ก็แสดงว่าอาการใบเหลืองที่เห็นนั้นไม่ได้มาจากสาเหตุของเชื้อโรคเข้าทำลายทางใบโดยตรง แต่อาจจะเกิดจากรากของพืชไม่สามารถดูดกินลำเลียงอาหารขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่างๆ หรือกิ่งก้านใบได้ตามปรกติ จึงต้องส่งอาการตามธรรมชาติคือมีลักษณะสีของใบค่อยๆ เหลืองขึ้นให้เราได้เห็นทีละน้อยๆ เรื่อยไปจนถึงยืนต้นตาย

การที่รากของพืชมีปัญหานั้นก็มีสาเหตุหลักมากจากการที่มีปัญหาเรื่องของเชื้อโรคเข้าทำลายที่ระบบราก ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเชื้อรา ฟัยท็อปทอร่า Phytophthora ซึ่งถือเป็นตัวเจ้าปัญหาระดับคลาสสิค ไม่ว่าจะเป็น เงาะ ลองกอง มังคุด ทุเรียน มะนาว ฯลฯ มักจะสร้างความเสียหายให้พี่น้องชาวสวนได้เจ๊งไม่เป็นท่ามาแล้วหลายราย

สาเหตุหลักๆ ก็มักจะเกิดจากระบบการระบายถ่ายเทน้ำที่ระบบรากไม่ดีพอ ดินมักเหนียวแน่นเกินไป ราดรดน้ำแล้วก็ท่วมขัง แฉะ อยู่เป็นระยะเวลานาน ซึ่งเกิดจากคุณสมบัติของโครงสร้างเนื้อดินที่อาจจะขาดอินทรียวัตถุ ขาดกิจกรรมที่สร้างโดยจุลินทรีย์ (เพราะใช้สารเคมีที่เป็นพิษมาเป็นระยะเวลานาน จนเหลือแต่เนื้อดินที่เป็นอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว เรียกว่า “ดินตาย”) พอขาดกิจกรรมสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศน์ก็ทำให้ดินแน่นแข็ง เป็นดาน ระบายถ่ายเทน้ำไม่ดี รากแฉะน้ำขังพืชก็อ่อนแอ โรคต่างๆก็ฉวยโอกาสเข้าทำลายได้ง่าย

การดูแลแก้ไขปัญหาก็ไม่ยากครับ เพียงแค่เติมอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก หยุดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษฉีดพ่นลงไปทำลายล้างสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศน์พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ไส้เดือน จุลินทรีย์ แอคทิโนมัยซีส มัยคอร์รัยซ่า ได้ให้น้ำความชุ่มชื้น พรวนดินแบบธรรมชาติ ทำให้ดินมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่เหมาะสม ดินก็จะไม่แน่นแข็ง และถ้าต้องการแก้ปัญหาแบบเร่งด่วน ให้พืชที่ปลูกได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ก็อาจจะต้องใช้สารละลายดินดาน

ส่วนในกรณีที่เกิดโรครากเน่าโคนเน่าไปแล้ว อันนี้จะมัวแก้ไขแบบป้องกันคงจะไม่ได้ เมื่อเจ็บป่วยก็รักษา การรักษาแบบปลอดภัยไร้สารพิษก็คือการนำจุลินทรีย์ชีวภาพ ไตรโคเดอร์ม่า

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com


หมายเลขบันทึก: 606472เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท