แก้ไขปัญหาการกักเก็บน้ำผิวดินแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน


แก้ไขปัญหาการกักเก็บน้ำผิวดินแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน

เมื่อมีเวลาแล้วนึกย้อนกลับไปในอดีต ยุคที่ปู่ย่า ตายายของเราทำอาชีพเกษตรกรรมในรูปแบบที่ยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยเหมือนกับปัจจุบันนี้ ไม่มีปุ๋ยเคมี ไม่มียาฆ่าแมลง ไม่มียาฆ่าหญ้า ไม่มีรถแทรกเตอร์ แต่ท่านก็ทำของท่านมาได้ สามารถเลี้ยงบุตรหลานให้เติบโตมาเป็นเจ้าคนนายคนก็เยอะ สืบสานวัฒนธรรมการเกษตรไทยก็แยะ โดยที่ยังมีความสุขมากกว่าผู้คนหรือสังคมปัจจุบันด้วยซ้ำ

การทำการเกษตรในยุคเก่านั้น ส่วนใหญ่ก็จะมีเพียงจอบ เสียม พลั่วเป็นหลัก ไม่มีเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ น้ำหนักมากมากดทับดิน ดินในอดีตจึงไม่แน่นแข็ง โดยเฉพาะดินชั้นล่างที่ลึกลงไปประมาณ

การที่ไม่มียาฆ่าหญ้าจึงทำให้ไม่มีสารพิษที่สะสมอยู่ในดินคอยควบคุมการเจริญเติบโตของพืช เพราะยาลืมว่ายาฆ่าหญ้า คุมหญ้า ก็สามารถส่งผลกระทบกับพืชหลักได้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะหญ้าก็จะว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะส่งผลกระทบได้ไม่มากในระยะแรก แต่ในระยะยาวการสะสมที่มากขึ้นก็สามารถทำให้พืชอาน ชงักงันได้เช่นเดียวกัน

การย้อนกลับมาทำการเกษตรแบบเก่า แบบเดิมๆ แบบภูมิปัญญาชาวบ้านก็น่าจะดีไม่น้อย โดยเฉพาะท่านผู้อ่านที่มีโซนพอเพียงของตนเองเพียงหนึ่งถึงสองไร่ก็เพียงพอ ไม่ว่าท่านจะมีพื้นที่มากมายเป็นร้อยไร่ พันไร่ก็ไม่สำคัญ ขอเพียงแบ่งมาทำโซนพอพียงให้แก่ตนเองสักหนึ่งไร่ เพื่อให้ความสุขแก่ตนเองก็น่าจะดี่ไม่น้อยนะครับ แบ่งตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แต่ที่เล่ามาทั้งหมดก็ยังไม่ตรงกับประเด็นที่จั่วหัวเอาไว้นักนะครับ เพียงแต่อยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรลองมาปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรแบบง่ายกันดูบ้าง โดยเริ่มจากแปลงเล็กๆ นะครับ เช่นการกำจัดหญ้าโดยไม่ใช้ยาคุมและฆ่าหญ้า ใช้วิธีการตัดหรือดาย ตัดเพียงครึ่งเดียวไม่ให้รกเกะกะจนทำงานไม่ได้ แล้วนำเศษซากหญ้านั้นไปสุมรวมกองที่โคนต้น เพื่อลดการสูญเสียน้ำจากผิวดินที่อาจจะถูกสายลม แสงแดด ระเหยไป และอีกวิธีหนึ่งการใช้จอบเสียมพรวนดินด้านบนเพื่อตัดขาดท่อแคปปิราลี (ไส้ตะเกียง) ที่นำเอาความชื้นชั้นใต้ดินขึ้นมาสู่อากาศเสียหมด ถ้าเราพรวนดินเพื่อทำลายไส้ตะเกียงของดิน ผิวดินด้านบนที่ถูกทำลายท่อแคปปิลารี จะเป็นตัวกักเก็บรับความชื้นจากไส้ตะเกียงของน้ำที่ระเหยขึ้นมาสุดที่พื้นผิวการพรวนดิน

การเลี้ยงหญ้าให้เขียวรำไรทั้งแปลง การใช้เศษซากหญ้า อินทรียวัตถุ ตอซังฟางข้าวคลุมดิน การใช้จอบพรวนดินทำลายตัดขาดท่อแคปปิลารีไม่ให้ขึ้นมาสู่ผิวดินด้านบน ให้ดินที่พรวนเป็นตัวดักกดทบน้ำที่ปลายท่อแคปปิลารีด้านล่าง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการกักเก็บรักษาความชื้นในดินให้คงอยู่กับต้นไม้ให้ได้นาน ๆ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเย็น ความชื้นในดินถูกอากาศกอบโกยหอบหิ้วไปเสียหมด ก็จะเป็นการประหยัดต้นทุนเรื่องน้ำให้แก่พืชได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษwww.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606465เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท