เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อน อาทรผ่อนคลายให้พืชด้วยหินแร่ภูเขาไฟ


เดี๋ยวหนาวเดี๋ยวร้อน อาทรผ่อนคลายให้พืชด้วยหินแร่ภูเขาไฟ

อากาศบ้านเรายามนี้ดูแปรปรวนรวนเรพิกลอยู่ไม่เบาเหมือนกันนะครับ สังเกตจากสภาพภูมิอากาศที่บางสัปดาห์ก็หนาวเสียจนต้องผิงไฟ และต่อมาไม่กี่สัปดาห์ร้อนตับแล่บกันไปแบบไม่มีอะไรแน่นอนตามหลักอนิจจังและอิทัปปัจจยตา ข่าวคราวผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศจากสื่อต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศก็ปรากฎว่าทำให้มีการเจ็บป่วยล้มตายไปพอสมควร โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วงอยู่พอสมควรนะครับ โดยเฉพาะประเทศไทยของเราที่กำลังเข้าสู่ยุคของสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็กและหนุ่มสาว จึงเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้ประเทศของเราขาดแคลนแรงงานในการพัฒนาประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านชาวอาเซียน และเพื่อนๆต่างทวีปในบางประเทศ

นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องดูแลแก้ไขกันไปในระดับนโยบายว่าในอนาคตผู้นำของเราจะมีแผนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรให้ประเทศของเราอยู่รอดปลอดภัยสอดคล้องไปด้วยกันกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน......กลับมาที่เรื่องของความหนาวและผู้สูงอายุกันอีกนิดครับ คืออยากจะให้ลูกๆหลานๆ ช่วยกันดูแลเอาใจใส่ปู่ย่าตายายกันสักนิดนะครับ บางทีท่านก็อาจจะหลงๆ ลืมๆ และก็รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กับสภาพอากาศที่เย็นจัด ร้อนจัด ร่างกายของท่านอาจปรับตัวไม่ทัน ส่งผลทำให้ท่านเจ็บป่วยล้มหมอนนอนเสื่อกันได้ง่ายๆ ช่วยหาผ้าห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง ให้เหมาะสมเป็นพิเศษในยามนี้แก่ท่านสักนิดก็คงจะดีไม่น้อย มิฉะนั้นเดี๋ยวจะกลายเป็นว่าปล่อยให้ท่านไปเป็นดาราจำเป็นเรื่องภัยหนาวตามข่าวหรือสื่อต่างๆโดยไม่ตั้งใจ

พืชไร่ไม้ผลก็เช่นเดียวกันนะครับ ท่านผู้อ่านที่ปลูก ข้าว ฟัก แฟง แตงกวา บวบ มะระ พริก ถั่วฝักยาว ฯลฯ ถ้าพืชของท่านสัมผัสกับอากาศที่หนาวๆ ร้อนๆ เช่นนี้ ก็มีปัญหาได้ด้วยเช่นเดียวกันนะครับ ไม่ว่าจะเป็นอาการเหลือง เหี่ยว เฉาอ่อนแอ ต้นเตี้ย แคระแกร็น โรงแมลงศัตรูพืชระบาดได้ง่ายจากความที่เขาเจริญเติบโตในพื้นที่สภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม มีผลการวิจัยที่ได้ตีพิมพ์โดย โลกสถาบันวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชื่อวารสารนานาชาติสิ่งแวดล้อมเคมีเชิงนิเวศน์ธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์วิศวกรรมฉบับที่: 5, No: 11, 2011 ชื่อเรื่อง ผลของซีโอไลต์ต่อการสร้างความต้านทานการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในดินเขตร้อนภายใต้ภาวะโลกร้อนโดย ไม ทาห์น และมาซาโอะ โยชิดะ ซึ่งเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการใช้หินแร่ภูเขาไฟ ซึ่งมีแร่ธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืชเกือบครบถ้วนทั้งธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมและธาตุพิเศษอย่าง ซืลิก้าที่ละลายน้ำได้

สิ่งต่างๆ เหล่านี้จากหินแร่ภูเขาไฟ ช่วยทำให้เกิดการประหยัดน้ำ ประหยัดปุ๋ย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและในการวิจัยครั้งนี้เขาศึกษาหินแร่ภูเขาไฟที่ช่วยต้านทานการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่เกิดแบบรวดเร็วเกินไปจากอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้น เมื่ออินทรีย์วัตถุและความอุดมสมบูรณ์ในเนื้อดินไม่ขาดหายไปอย่างรวดเร็ว ภูมิต้านทาน ความแข็งแรงของพืชก็มีมากขึ้น สามารถทนทานต่อสภาพภูมิอากาศและสภาพดินที่แย่ๆได้ดีขึ้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ

มนตรีบุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 606452เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2016 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท