การเลือกตั้งประธานกรรมการสหกรณ์โดยตรง ทำให้ผู้เสียสละจะเข้าทำงานในสหกรณ์เสียโอกาสไป


การเลือกตั้งประธานกรรมการสหกรณ์โดยตรง ทำให้ผู้เสียสละจะเข้าทำงานในสหกรณ์เสียโอกาสไป

หลังจากการเลือกตั้งชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด วันที่ 4 มิถุนายน 2559 แล้ว เราขบวนการสหกรณ์ไทย มาพัฒนา กฏหมายสหกรณ์ ปรับวิธีการเลือกตั้ง ไม่ต้องเขียนไว้ใน พรบ. เขียนไว้ในข้อบังคับก็พอเพียงแล้ว



การสหกรณ์นั้นเป็นการแบ่งปัน ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อ กระจายความสุขระหว่างกันให้ทั่วถึง



การที่กฏหมาย กำหนดให้เลือกประธาน แยกจากกรรมการ (ตามพรบ.สหกรณ์ 2542 จุดที่สมควรปรับปรุงพัฒนา)จะเกิดผลเสียคือ จะมีผู้เสียสละลงสมัครเป็นประธานกรรมการสหกรณ์ต้องสูญเสียความตั้งใจ และโอกาส ที่จะเข้ามาร่วมงานพัฒนาสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ



ดังตัวอย่างเช่น
มีผู้สมัครประธานกรรมการ หมายเลข 100 , 200 และ 300
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า หมายเลข 200 ได้เป็นประธานกรรมการ
ทำให้หมายเลข 100 กับ หมายเลข 300 จะไม่ได้เข้ามาร่วมคิด ร่วมทำในฐานะประธานกรรมการ และฐานะกรรมการ เสียผู้เสียสละที่จะมาช่วยงานไป 2 ท่านเลย



ถ้าเลือกแบบที่บรรพชนสหกรณ์สร้างสอนไว้ คือเลือกกรรมการ แล้วไปเลือกประธานเอง ทั้ง หมายเลข 100 หมายเลข 200 หมายเลข 300 สมัครเป็นกรรมการ เมื่อเป็นกรรมการแล้วก็ให้กรรมการเลือก ประธานในภายหลังจากเลือกกรรมการการแล้ว ผู้เสียสละหมายเลข 100 200 และ 300 ก็จะได้เป็นกรรมการทั้ง 3 ท่าน แต่หมายเลข 200 จะได้เป็นประธานกรรมการ



ทำให้ผู้เสียสละระดับผู้นำทั้งสามท่านได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำ เพื่อพัฒนาสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ ภายใต้ปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน ไม่เป็นการแข่งขัน แย่งชิง กัน แต่จะมาช่วยกันได้



วิธีนี้สามารถนำไปลดความขัดแย้งใน การเลือกตั้งองค์การปกครองท้องถิ่นได้ด้วยเช่นกัน



พีระพงศ์ วาระเสน
8 พฤษภาคม 2559

คำสำคัญ (Tags): #การเลือกตั้ง
หมายเลขบันทึก: 606079เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2016 07:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2016 07:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท