วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้งแบบเมืองสรวงโมเด็ล ***วัชรินทร์ เขจรวงศ์ รายงาน


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ปัญหาเรื่องน้ำแล้งแบบเมืองสรวงโมเด็ล

พื้นที่ฝนแล้งแมลงกินดินไม่ดี เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ทางการเกษตรของคนภาคอีสาน มายาวนานหลายชั่วอายุคน ผมฟังคำพูดที่พร่ำเพื่อ แบบคนช่างคิด ช่างพูดแต่ไม่ช่างทำ เมื่อมีโอกาสที่ต้องสามารถได้ คิดได้ คิดเป็น แต่ไม่ทำทันที มาวันนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยการนำของ ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ท่านทำงานแบบเชิงรุกอย่างมีคุณภาพ จุดประกายสานฝันให้คนในท้องถิ่น ท้องที่ เกษตรกร สามารถบริหารจัดการเรื่องงบประมาณด้วยตนเอง มี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล หรือเกษตรตำบล เป็นมิตรแท้ของเกษตร

อำเภอเมืองสรวง ห่างจาก จังหวัดร้อยเอ็ด 26 กิโลเมตร ก่อนถึงทุ่งกุลาร้องไห้ คืออำเภอสุวรรณภูมิ- อำเภอเกษตรวิสัย ประมาณ 20-25 กิโลเมตร พื้นที่ ทางการเกษตรนาข้าว ประมาณ 81,250 ไร่ รวมอื่นๆ พืชผัก พืชไร่ ไม่ผล ไม่เกิน 100,000 ไร่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองสรวง กรมส่งเสริมการเกษตร 3,855 ครัวเรือน จาก 49 หมู่บ้าน 5 ตำบล พื้นที่แบบอาศัยน้ำฝน ลำน้ำธรรมชาติ ห้วย หนองคลองบึง ไม่มี วังอีผุย พื้นที่ประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร ตื้นเขินไร้การดูแล หากการขุดลอกโดยรัฐบาลทหาร สามารถทำได้ทันที คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ขอได้โปรดส่งคณะทำงานลงไปสำรวจพื้นที่และดำเนินการให้เกษตรอำเภอเมืองสรวง อำเภออาจสามารถ ด้วย ครับ

การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเป็นวัฏจักรของคนอีสาน หนาว แล้ง ร้อน ฝน เป็นวงจรมายาวนานมากๆ แต่การแก้ไขปัญหาไม่เป็นไปตามระบบ และการจัดสรรงบประมาณ แบบแท่งไอตีม ต่างคนต่างเลีย ต่างคนต่างดูด ถึงมือประชาชนเหลือแค่กลิ่นไอติม เลียไม่ได้ ดูดไม่ได้ กลัวไม้มันแทงลิ้น การจัดสรรงบประมาณของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ช่างดลใจประชาชนจริงๆ คิดเอง ทำเอง รับผลประโยชน์เอง รัฐบาลส่งไอติมมาให้ทั้งแท่งเลย งานนี้เกษตรกร ประชาชน ได้ผลประโยชน์เต็มๆ ตามโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 ตำบลละล้าน หรือ ตำบลละ 5 ล้าน ของกระทรวงมหาดไทย

อำเภอเมืองสรวง เป็นอำเภอที่ใช้น้ำอย่างประหยัด แบบอย่างของเกษตรกรที่แท้จริง ที่นี่มีการปลูกแตงร้านระบบน้ำหยด ปลูกฟัก แฟง หอม แบบน้ำสปริงเกอร์ กลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง 33 คน พื้นที่กว่า 30 ไร่ ลงทุนครั้งแรก ซื้อท่อพลาสล่อน สายยาง ตาข่าย ท่อระบบน้ำหยด ไร่ละ 15,000-20,000 บาท เป็นทุนนอน แต่สามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง 7-10 ปี ปลูกแตงร้าน อายุ 38 วัน เก็บแตงขายได้ คอแรก 100 ก.ก./ไร่ คอ 2 ประมาณ 200 ก.ก./ไร่ เก็บไปถึงวันที่ 15 จะได้สูงสุดคือ 500 ก.ก./ไร่ จะลดลงๆ ประมาณ 25-30 วัน ผลผลิตแตงร้านประมาณ 4,000-5,000 ก.ก./ไร่ รายได้ ขึ้นกับราคา 6-15 บาท /ก.ก. เกษตรกรปลูกเป็นแปลงพี่แปลงน้อง คือเก็บเกี่ยวแปลงพี่หมด แปลงน้องให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง รายได้ต่อเนื่อง สามารถส่งตลาด ผ่านพ่อค้าคนกลางวันละ 8,000-10,000 ก.ก./วัน วันละ 80,000-100,000 บาท/วัน เกษตรกรที่อำเภอเมืองสรวง เขาพัฒนาไปไกลมากๆ “ที่นี่ระบบน้ำหยด”

ประเทศไทย ยังไม่แล้งขนาดนั้น หากรัฐบาลทหาร “คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คสช.” ดำเนินการอย่างจริงจัง 38 วันเขียวขจี เกษตรกรมีรายได้ ไม่ต้องรอนาน กระบวนการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน หรือพืชผัก GAP การเกษตรดีที่เหมาะสม ก้าวเข้าสู่การเกษตรอินทรีย์ พืชอาหารปลอดภัย ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์(ศพก.) รัฐบาลถ่ายโอนงบประมาณลงไปเพื่อดำเนินการเป็นศูนย์นำร่อง การแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง การใช้น้ำอย่างประหยัด ระบบน้ำหยด อำเภอเมืองสรวงพร้อมเป็นเมืองสรวงโมเด็ล ครับ

***วัชรินทร์ เขจรวงศ์ รายงาน

คำสำคัญ (Tags): #น้ำหยด
หมายเลขบันทึก: 605725เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท