รักษา สติ รู้เหตุ และ ความยึดมั่นในสิ่งถูก ตรง และเที่ยง ก็ต้องเพียรพยายามรักษาให้ดี ความสุขและทุกข์ของมนุษย์ทำงาน ก็มีด้วยประการนี้


ข้อมูลที่ได้มา มักไม่มีคุณภาพ พอที่จะมั่นใจว่าจะนำไปตัดสินอะไรๆได้นั่นเอง พอข้อมูลมันไม่จริง ไม่เที่ยง เป็นการเห็นรูป มิใช่รู้พฤติกรรม ก็นำมาตัดสิน ให้ประโยชน์ใคร มันก็ไม่ตรงไม่ใช่ พอความไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมเกิดมันท้อ มันไม่มั่นใจว่าทำดีได้ดี

เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ - พระราชดำรัส

"บางทีบางครั้งการเรียนการสอน มันได้หลักการแต่ไม่ได้วิธีคิด

วิธีคิดเป็นสิ่งที่จะนำความรู้ไป เรียนรู้(จากการปฏิบัติงาน)อย่างถ่องแท้ได้ ต่อยอดเพิ่มประโยชน์จากความรู้ได้

จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งๆ ประวัติศาสตร์ก็จะสอนเราเอง เรามองเห็นการเมืองการปกครองระบอบการปกครอง ไม่ถ่องแท้

หากไม่ศึกษาหรือประสบกับเหตุการณ์นั้น ด้วยสติ วิเคราะห์จับใจความเหตุผล ถึงรู้ว่า "วิธีคิดที่แน่วแน่่ ตรง เที่ยง

เกิดจากศรัทธาที่ถูกบนความรู้ที่มีคุณภาพ" และการมีสติรู้เหตุ พื้นฐานความรู้ความเข้าใจ เป็นประเด็นหลักที่

ทำให้ผู้ที่คิดร้าย คิดทำลายสิ่งดี หาวิธีบิดเบือนความจริง เพราะอารมณ์มันมาก่อนเหตุผล เสมอเพราะผัสสะง่าย

คิดง่าย และยิ่งความเคารพ ในการเป็นอยู่ร่วมกัน ส่วนบุคคลด้วยแล้วยิ่งเบียดเบียนคนอื่นโดยไม่รู้ตัว

ความรักและความสามัคคี เป็นจุดเดียวที่ทำให้ความสงบสุข เกิดก่อและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างยั่งยืน

เพียงแต่ว่า "การไม่ให้คนดีปกครองบ้านเมืองสมัยนี้มันทำยาก เพียงเพราะข้อมูลที่ได้มา มักไม่มีคุณภาพ

พอที่จะมั่นใจว่าจะนำไปตัดสินอะไรๆได้นั่นเอง" พอข้อมูลมันไม่จริง ไม่เที่ยง

เป็นการเห็นรูป(กายกระทำการ เนื่องด้วยสังขารที่ทำตามสัญญาชั่วขณะ)

มิใช่รู้พฤติกรรม(เจตนา ที่ทำจากเวทนา ความรู้ วิธีคิด)เป็นการเห็นรูป มิใช่รู้พฤติกรรมก็นำมาตัดสิน

ให้ประโยชน์ใคร มันก็ไม่ตรงไม่ใช่ พอความไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมเกิดมันท้อ มันไม่มั่นใจว่าทำดีได้ดี

มันคือ motivation ก็ท้อ Passion มีก้อออกมาทำงานที่ตนชอบบางทีทำเพราะมีความสุข ไม่เห็นกำไรเป็นหลักก็พบเจอ

คือจิตอารยะ ตลาดอารยะ จิตอาสา

นี่คือ ในเมื่อไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ คนดีก็เลยอยู่ที่ไหนไม่ได้นาน เพราะความผิดพลาดเรื่องข้อมูลนั่นเอง

คือความทุกข์ของมนุษย์ทำงาน ก็เลือกจะไม่ทุกข์ เพียงแต่จะเลือกสู้หรือเลือกเลี่ยง ความสุขและทุกข์ของมนุษย์ทำงาน

ก็มีด้วยเหตุประมาณนี้

เพียงแต่หากเลือก สู้ เดินต่อ อย่าได้สูญเสีย Motivation และทิ้งความเป็นตัวตน Passion หรือความเชื่อในความศรัทธา

หากยังพอมีหวัง(วิธีคิดและจินตนาการบริหารเป้าหมายสู่ความสำเร็จ)

พอวิเคราะห์เหตุ รู้วิธีแก้เหต รู้ KSF รู้ PDCA (ใช้สติปัฏฐานควบคุมอิทธิบาท4)รู้วิธีควบคุมตัวแปรผลกระทบหลักรองได้ ใจจะสุข

สุขคือ สามารถหยั่งรู้เตรียมขั้นตอนวิธีการรับมือ ให้พร้อม(Management of Change) แบบนี้

กายจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ทำให้หัวใจเต้นเร็ว กระชุ่มกระชวยเพราะสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น

ใจมีพลังเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงเร็วขึ้นมากขึ้น สมองแล่น ความกระตือรือล้นเกิด ความทะเยอทะยาน

เกิดการอยากรู้การบริหารเป้าหมายต่อไป

เพียงแต่ต้องรักษา

"สติ"....

"รู้เหตุ" (พร้อมแผนเผชิญเหตุ ด้วยBest Practice ดีและทันสมัยที่สุด) และ....

"ความยึดมั่นในสิ่งถูก ตรง และเที่ยง"....

ก็ต้องเพียรพยายามรักษาให้ดี

ความสุขและทุกข์ของมนุษย์ทำงาน ก็มีด้วยประการนี้"

โสตถิทัศน์ฯ


@ จึงนั่งกอดความชั่วมั่วมุสา
ตนทำผิดไม่รู้เห็นน่าเวทนา
อนิจจาหนอชีวิตของคนทราม
เห็นผิดเป็นชอบก่อกรรมบ่อย
สู้ไม่ถอยความชั่วกลัวคนหยา
อ้างความดีของตนทุกโมงยาม
เฝ้าประนามคนอื่นไม่ดีพอ
@ ทุจริตต่อหน้าที่มีคนรู้
ก็ขี้ตู่ว่าบริสุทธิ์อีกหนอ
ศาลกล่าวโทษตามความจริงไม่รั้งรอ
ยังตัดพ้อว่าศาลไม่ยุติธรรม
คนมีกรรมทำผิดอยู่เนืองเนือ
เห็นทุกเรื่องนั้นถูกวันยังค่ำ
เห็นกงจักรเป็นดอกบัวอยู่ประจำ
จึงกระทำแต่กรรมชั่ว ตัวว่าดี
เอื้ออารมณ์
๒ มีนาคม ๒๕๕๓
นิติธรรม นิติรัฐ หมดอำนาจนิติรัฐ = นิติธรรม
@ รอบข้างเขาทำไม่ได้ไม่ดูตั
ยังเอากฎมาแถมั่วนัวไปได้
ก็กฎนี้เพิ่มมากเกินคู่มือใช้
ก็บันทึกแจ้งให้ได้อย่างต้องการ
บังคับเขาให้ทำทุกกระบวน
ก็ไม่วายจับจดผิดกระบวนได้
แล้วจะมีเทคนิคไว้ทำอะไร
ใช้เทคนิคไม่ได้กฎขวางคลอง
@ พอผู้ออกกฎหมดอำนาจ
ก็ถึงคราวเขาจะมาดมุ่งหมายให้
กระบวนการยืดหยุ่นหน่อยไม่เป็นไร
แต่นั้นไซร์ไม่ขัดกฏสากล
ลองมองย้อนน้ำหนักตรวจยังไม่มี
เกณฑ์คงที่ให้น้ำหนักสำคัญกว่า
ไม่มองวัตถุประสงค์องค์คงคา
ก็รีบด่วนสรุปว่าไม่ ใช้อารมณ์
@ พอเขาไม่ เห็นด้วยกฎ ไม่สะท้อนผลสัมฤทธิ์
ก็หลงผิดคาดคั้นเอากฏแถ
ก็ผมทำมาอย่างนี้เห็นแน่แท้
เชื่อแน่ๆจะใช้ไปจนวันตาย
เครื่องมือชี้ผลลัพธ์จับประเด็น
ผู้ตรวจทำไม่ได้เป็นเบ่งอำนาจ
อันความรู้วินิจฉัยไต่สวนความ
ก็มักหยามวิธีการตามกฏมี
ยึดติดเครื่องมือ หลงอำนาจ กฎไม่ชัดเจน บันทึกแจ้งให้ทำไม่โปร่งใส ตรวจขั้นตอนการปฏิบัติเล็กๆน้อยๆที่มิใช่ตัวแปรที่มีผลกระทบหลัก ไม่นำ ปสก.มาช่วยแก้ไขปัญหาโดยมุ่งให้เกิดการให้บริการที่ต่อเนื่องหาทางออก ไม่มี Material Guidance แนะนำทางออกพาผู้ปฏิบัติเข้าทางตัน
@ หลงว่าใช้อำนาจเที่ยงธรรมแล้ว
ก็ไม่แคล้วยึดเครื่องมือเป็นหลักฐาน
วัตถุประสงค์องค์รวมกลับมองข้าม
พอถูกถามทำอย่างไรไปไม่เป็น
องค์ความรู้วินิจฉัยด้านเทคนิค
จะตระหนักถ้าลองคิดให้ถ้วนถี่
ปัญหามาแก้ปัญหาปัญญามี
แนะวิธีให้เขาเราช่วยกัน
@เป็นองค์ความรู้ต่อผู้บริโภค
กิจการเดินไปข้างหน้าอย่างแข็งขัน
เทคนิคมาปัญญามีเราช่วยกัน
บรรลุธรรม บรรลุกฏ บรรลุงาน
การตรวจมิใช่การจับผิด
การแสวงหาอภิสิทธิ์ตัวกฏหมา
เขามิได้เจตนาอย่ามองร้าย
มุ่งหมายสิ่งเดียวกันความปลอดภัย
@ การงานตรวจจะเดินได้ไปพร้อมกัน
กฎเอื้อการปฏิบัติดียิ่งดีขึ้น
ลดระยะเวลาให้เร็วฉนั้นจึง
เรียกได้ว่าพัฒนาการบริการ
การที่ไม่วิเคราะห์งานหาทางออก
ก็เหมือนมีกฏเหล็กข้องอไม่ได้
การปฏิบัติเกิดไม่ได้เพราะกฏไซร้
ออกบังคับเฉไฉบิดเบือนจริง
@เหตุสุดท้ายผู้ปฏิบัติทำตามคน
ทำตามคนบังคับใช้กฏเพราะเกรงกริ่ง
ไม่เคารพกฏเหมือนเดิมเพราะความจริง
กฏหมายที่มีจริงไม่ยุติธรรม
วันนี้ผู้แถกฏหมดอำนาจ
ก็ถึงวิบากกรรมผู้วินิจฉัย
จะเอากฏไม่ชอบธรรมนำมาใช้
เห็นผลแล้วว่าไม่มีใครปฏิบัติตาม
@ รีบกลับมาปรับตัวเองดีเป็นแน่แท้
กฏอันใดรีบแก้ให้ชัดเจนก่อน
กรรมวิธีดีดีสอนแนะก่อน
มุ่งหาคู่มือแนะนำประชาชน
ใครหลงผิดยึดติดกฏคิดเสียใหม่
ระบอบใช้หนังสือบังคับหมดไปแล้ว
เปิดคู่มือการดำเนินงานใช้เป็นแนว
ออกนอกแนวเมื่อไหร่ไม่ยุติธรรม...

.....

ขอขอบคุณข้อมูล : อิทธิบาท 4 / PDCA โดย พุทธจิตธรรมญาณ (buddhajitdhammayan-at-hotmail-dot-com)

อิทธิบาท 4-คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย

(1)ฉันทะ-ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป

(2)วิริยะ-ความเพียร คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย

(3)จิตตะ-ความคิด คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป

(4)วิมังสา-ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญ ตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น

ข้อสังเกต -หลักการ PDCA ของการควบคุมคุณภาพ(QC-Quality Control หรือ QCC -Quality Control Circle)

ที่ฝรั่ง และญี่ปุ่นคิดค้นกันขึ้นมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม การผลิต การให้บริการต่างๆ ก็นำหลักการของอิทธฺบาท 4

นี้มาใช้นั่นเอง

P = Planning การวางแผนงาน

D = Doing การปฏิบัติการ การทำ การผลิต

PD คือ ฉันทะ วิริยะ และจิตตะ

C = Checking การตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงงาน

A = Action การตั้งมาตรฐานของงาน

CA คือ วิมังสา...

หมายเลขบันทึก: 605554เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2016 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2016 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท