โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ (Freedom through Reading Program)


โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ (Freedom through Reading Program) กำหนดให้ผู้ต้องขังอ่านหนังสือ 1 เล่ม สำหรับการลดวันต้องโทษได้ 4 วัน ตลอดระยะเวลา 1 ปี สามารถอ่านได้ถึง 12 เล่ม สำหรับการลดโทษ รวมไม่เกิน 48 วัน ต่อปี.................

โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ และ/หรือ โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพ (Freedom through Reading Program) และ/หรือ (Redemption through Reading Program) เป็นโปรแกรมตามนโยบายของรัฐบาลบราซิล ดำเนินการภายใต้แนวคิด และ วัตถุประสงค์ในการแก้ไข ปัญหาผู้ต้องขังที่ไม่รู้หนังสือในเรือนจำบราซิล เนื่องจากประเทศบราซิล มีประชากรประมาณ 186 ล้านคน และ 1 ใน 10 คน ที่มีอายุเกินกว่า 15 ปี ยังคงไม่สามารถอ่านหนังสือได้ (ตามการสำรวจสำมะโนประชากร 2010) และ มีประชากรผู้ต้องขังประมาณ 514,582 คน (ณ ปี 2012) ผู้ต้องขังมากกว่า 26,000 คน คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 5 ที่ไม่รู้หนังสือ และ ร้อยละ 46 ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนั้น ยังมีปริมาณผู้ต้องขังเกินอัตราความจุอยู่ที่ร้อยละ 167 (ความจุ ณ ธันวาคม 2011) นับว่าเป็นเรือนจำที่มีความแออัดมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อให้เกิดปัญหานักโทษล้นคุก ส่งผลกระทบต่อการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง นอกจากนั้น กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้อ้างว่าเรือนจำบราซิลมีความแออัดยัดเยียดที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังอย่างรุนแรง ทำให้รัฐบาล และ กรมราชทัณฑ์บราซิล ได้แก้ไขปัญหา ดังกล่าว โดยการนำ โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพ มาใช้ในการดำเนินงาน โดยจักได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์การดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน และ ผลการดำเนินงาน โดยสังเขป ดังนี้



หลักเกณฑ์การดำเนินงาน

หลักเกณฑ์การดำเนินงานตามโปรแกรมอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพ ได้แก่ หลักเกณฑ์ตามกฎหมายอาญา ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 1984 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎหมายอาญา ฉบับที่ 12433 และ 2011) ส่วนที่สี่ ว่าด้วยเรื่อง การลดวันต้องโทษ หรือ การกระทำบางอย่างเพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ต้องขัง (Redemption) มาตรา 126 – มาตรา 130 และ กฎหมายรองรับการดำเนินงานของโปรแกรมอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพซึ่งประกาศใช้เมื่อ มิถุนายน 2012

แนวคิด/แนวทางการดำเนินงาน

โปรแกรมอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพ ดำเนินงานภายใต้ แนวคิดในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังที่ไม่รู้หนังสือ และ แนวคิดในการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกในเรือนจำบราซิล มีการดำเนินงานในเรือนจำหลายแห่งทั่วประเทศ มีคณะกรรมการพิเศษเป็นผู้ทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้ต้องขังบางประเภทที่สมัครใจ และ มีคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับโปรแกรม โดยผู้ต้องขังแต่ละคนจะต้องอ่านหนังสือ 1 เล่ม สำหรับการลดโทษได้ 4 วัน หนังสือแต่ละเล่มจะมีเวลาอ่าน 4 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 1 ปี สามารถอ่านได้ถึง 12 เล่ม สำหรับการลดโทษรวมไม่เกิน 48 วัน ต่อปี วิธีการการเลือกหนังสืออ่านจะต้องเลือกจากรายชื่อที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ เช่น วรรณกรรม ปรัชญา วิทยาศาสตร์ หรือ คลาสสิก ฯลฯ และ เพื่อป้องกันการทุจริตเมื่ออ่านหนังสือเสร็จแต่ละเล่มจะต้องเขียนรายงานสรุปด้วยลายมือตามแบบฟอร์มที่คณะกรรมการฯ กำหนด เพื่อเสนอต่อพัศดี และ คณะกรรมการในการตรวจสอบก่อนที่จะเสนอให้ผู้พิพากษาพิจารณาลงนามลดวันต้องโทษ



ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงานตามโปรแกรมอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพ สำรวจโดยสถาบัน Pro - Livro พบว่าโครงการฯ เริ่มดำเนินการในปี 2009 ที่เรือนจำกลางแคนทัลดูวาส (Cantanduvas) ในรัฐปาระนา และ ในช่วงสามปีที่ผ่านมาที่เรือนจำเฟรสตา (Freitas) มีนักโทษ 207 คน คิดเป็นร้อยละ 34.5 ของประชากรของเรือนจำฯ มีส่วนร่วม ในโครงการฯ ในปี 2010 โครงการนี้ ได้นำไปใช้ที่เรือนจำกลางกัมโบกรัน ในรัฐมาโต กรอสโซ ดู ซูน และ ในเดือนมิถุนายน ปี 2010 กระทรวงยุติธรรมเปิดดำเนินการโครงการอ่านหนังสือเพื่อเสรีภาพในเรือนจำอื่น ๆ ของบราซิล เช่น เรือนจำปอโค เวลโฮ (PortoVelho) รัฐรอนโดเนีย และ เรือนจำมอสโซโร (Mossoro) รัฐริโอ แกรน์เด ดู นอท เป็นต้น



โดยสรุป

โปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ (Freedom through Reading Program) ได้กำหนดให้ การให้ผู้ต้องขังอ่านหนังสือ 1 เล่ม สำหรับการลดวันต้องโทษได้ 4 วัน หนังสือแต่ละเล่มจะมีเวลาอ่าน 4 สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 1 ปี สามารถอ่านได้ถึง 12 เล่ม สำหรับการลดโทษ รวมไม่เกิน 48 วัน ต่อปี ตามโปรแกรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ (Freedom through Reading Program) ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ต้องขัง และ ทางเรือนจำหลายประการ กล่าวคือ ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ ได้มีโอกาสเรียนรู้ วรรณกรรม ปรัชญา วิทยาศาสตร์ หรือ คลาสสิก ฯลฯ และ เรือนจำสามารถลดปริมาณการไม่รู้หนังสือของประชากร เพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง และ สามารถแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของรัฐบาล


......................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๕ เมษายน ๒๕๕๙


อ้างอิง

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ถอดรหัสโปรแกรมแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก ตอน บราซิเลีย โมเดล วารสารราชทัณฑ์ 62, 1 (2557) 36 - 45


หมายเลขบันทึก: 605381เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2016 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Innovative idea!

Reading should not only improve the overcrowding situation but also the prisoners. It may reduce violent and aggressive behaviour and increase more considerate interactions.

But how do they choose the books? Wouldn't certain books work well but some wouldn't and may even create 'rejection of the program'?

นวัตกรรมการอ่านหนังสือเพื่อลดวันต้องโทษ หรือ นโยบายทางอาญาของบราซิล เป็นนโยบายทางอาญา ที่นำเป้าหมายในการลดอัตราการไม่รู้หนังสือของนักโทษเป็นตัวตั้ง และ ยังแสดงให้เห็นถึง ตรรกะ และ วิสัยทัศน์คุก แนวคิดในการปฏิรูปคุก ที่คำนึงถึงความยุติธรรมทางอาญาทางสังคม ในบริบททางสังคม และ การเมือง และ นโยบายของรัฐบาล ขอบคุณ อาจารย์ Mr Sunthorn SR Rathmanus (SR) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม แสดงความเห็น และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท