แรงงานคุกและเวลาว่าง (Prison labour and leisure time)


แรงงานนักโทษในเรือนจำเยอรมัน มีลักษณะเป็นนักโทษแรงงานบังคับ ตามพระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา ๔๑ (sect. 41 Prison Act) ที่ได้กำหนดให้ผู้ต้องขังทุกคนต้องทำงาน.....................


แรงงานคุกและเวลาว่าง (Prison labour and leisure time) ที่นำเสนอในบทความนี้ หมายถึง แรงงานคุก และ เวลาว่างจากการทำงานของนักโทษในเยอรมัน ข้อมูลจากงานวิจัย เรื่อง นโยบายทางอาญาและคุกเยอรมัน (German criminal and prison policy) โดย แอ็กเซิล บาวเดอะเช่อ (Axel Boetticher) และ โยฮันเน ฟีท (Johannes Feest) พบว่า หลักเกณฑ์การทำงานของแรงงานคุก หรือ แรงงานนักโทษ หรือ แรงงานผู้ต้องขัง ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา 41 (sect. 41 Prison Act) ที่ได้กำหนดให้ผู้ต้องขังต้องรับการศึกษา การฝึกอบรม และ ต้องทำงานตามที่ทางเรือนจำกำหนด กรณีไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษทางวินัยฐานไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมคุก เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการทำงานเพื่อดัดสันดานนักโทษ สร้างนิสัยรักการทำงาน ลดความเกียจคร้าน และ รู้สึกสำนึกในความผิดที่ได้กระทำ แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายคุก หรือ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุกโดยการใช้แรงงานนักโทษรับจ้างผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และ อื่นๆ หารายได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน แนวคิดในการซ่อมแซมชดใช้หนี้ หรือ ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ และ แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ เป็นต้น ส่วนเวลาว่างจากการทำงานของนักโทษ (leisure time) ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา 67 (Section 67 Prison Act) ที่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่เรือนจำมีหน้าที่ในการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมนันทนาการ โดยจะเป็นการกล่าวถึง แนวทางการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน เวลาว่างจากการทำงานของนักโทษในเยอรมัน โดยสังเขป ดังนี้

เฟอร์นิเจอร์แรงงานนักโทษในเยอรมันตะวันตก (2012)

แนวทางการดำเนินงาน ทางเรือนจำจะเป็นผู้จัดหางานให้นักโทษทำ และ จ่ายค่าจ้างแรงให้นักโทษ ทำให้นักโทษมีรายได้จากการทำงานไว้ใช้สอยในเรือนจำ เช่น ซื้อบุหรี่ ค่าเช่าทีวี ค่าบัตรโทรศัพท์ ค่าแสตมป์ หรือ ซื้อสินค้าอื่นๆ ภายในเรือนจำ สำหรับนักโทษที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งปีจะได้รับสิทธิ์สำหรับวันหยุดสิบแปดวันในการใช้เวลาว่างพักผ่อนอยู่ในคุก หรือ ลากลับบ้าน และ กรณีนักโทษที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสองเดือนสามารถนำวันหยุด หรือ วันลามาใช้สิทธิ์หักเป็นวันลดโทษได้ เป็นต้น

การบริหารค่าจ้างแรงงานนักโทษ เงินที่ได้รับจากค่าจ้างแรงงานนักโทษ จะถูกเก็บไว้โดยน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง (3 ใน 7) ของเงินที่ได้รับนักโทษสามารถใช้จ่ายได้ ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อพ้นโทษ และ เงินค่าจ้างแรงงานนักโทษ สามารถยึดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2003 และ ตามกฎหมายนักโทษไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินสดภายในเรือนจำ ซึ่งเป็นการถือกำเนิดของบัตรโทรศัพท์ ดังนั้น บุหรี่ และ กาแฟสำเร็จรูปจะเป็นสกุลเงินที่ใช้แทนเงินสดในเรือนจำ

ผลการดำเนินงาน ข้อมูลจาก Nordrhein-Westfalen ตีพิมพ์ปี 2007 พบว่า เรือน มีผลกำไรจากการใช้แรงงานนักโทษผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และ อื่นๆ ภายในเรือนจำ 44.9 ล้านยูโร ซึ่งผลกำไร ดังกล่าว ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายตามปกติของเรือนจำ และ จ่ายค่าจ้างให้นักโทษ จำนวน 10.58 ยูโร ต่อวัน (ในปี 2006)

เวลาว่าง (leisure time)

พระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา 67 (Section 67 Prison Act) กำหนดให้เจ้าหน้าที่เรือนจำมีหน้าที่ในการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมนันทนาการนักโทษที่มีเวลาว่างจากการทำงาน เช่น กิจกรรมด้านการศึกษา (โรงเรียนการศึกษาทางไกล และ การศึกษาต่อเนื่อง) กิจกรรมของกลุ่ม กีฬา สิทธิในการใช้ห้องสมุด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การผลิตวารสารคุกโดยนักโทษ อาสาสมัคร (การให้คำปรึกษา แนะนำ ด้านยาเสพติด กฎหมาย หนี้ และ อื่น ๆ)

โดยสรุป

แรงงานนักโทษในเรือนจำเยอรมัน มีลักษณะเป็นนักโทษแรงงานบังคับตามพระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา 41 ที่ได้กำหนดให้ผู้ต้องขังทุกคนต้องทำงาน เป็นการดำเนินการภายใต้ แนวคิดการทำงานเพื่อดัดสันดานนักโทษ แนวคิดในการลดค่าใช้จ่ายคุก หรือ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก โดยการใช้แรงงานนักโทษรับจ้างผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และ อื่นๆ หารายได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายคุกซึ่งมาจากภาษีอากรของประชาชน แนวคิดในการซ่อมแซมชดใช้หนี้ หรือ ทฤษฎีซ่อมแซมชดใช้หนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิยึดค่าจ้างเพื่อชำระหนี้ และ แนวคิดในการลดการกระทำความผิดซ้ำ ตามพระราชบัญญัติเรือนจำ มาตรา 67 ที่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่เรือนจำมีหน้าที่ในการสร้างความหลากหลายของกิจกรรมนันทนาการในเวลาว่างจากการทำงานของนักโทษ ที่เชื่อว่ากิจกรรมฯ ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะบรรลุเป้าหมายในการลดการกระทำความผิดซ้ำมากที่สุด

....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๘ เมษายน ๒๕๕๙


อ้างอิง

ข้อมูลเนื้อหาจาก แอ็กเซิล บาวเดอะเช่อ (Axel Boetticher) และ โยฮันเน ฟีท (Johannes Feest) งานวิจัย เรื่อง นโยบายทางอาญาและคุกเยอรมัน (German criminal and prison policy)

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.thetimes.co.uk/tto/business/industries /retailing/article3603103.ece



หมายเลขบันทึก: 605101เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2016 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ คุณหมอธิรัมภา มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท