​หมัดไฟสามแบบ ในพระรอดลำพูน "แก่ไฟ"


หมัดไฟสามแบบ

(เม็ดแก้วใสๆ ฟองสีน้ำตาลดำ และเม็ดสีโลหะ) จากหินอัคนี
ในพระรอดลำพูน "แก่ไฟ"
****************************
เนื่องจากพระรอดลำพูนเป็นพระที่ทำจากหินบด นำมาปั้น แล้วเผาที่ความร้อนสูง (แต่จะสูงไม่เท่ากันทุกองค์) ที่ทำจากหินอย่างน้อย 4 ชนิด คือ

ก. ไดโอไรท์ สีออกขาว เพราะมีซิลิก้ามาก
ข. พูมิซ หินฟองสีต่างๆที่ออกไปทางโทนสีน้ำตาลแดง ถึงน้ำตาลไหม้ เพราะมีเหล็กมาก
ค. แอนดีไซท์ สีเขียวแก่ เพราะมีทั้ง เหล็ก และแมงกานีสมาก
ง. บะซอลท์ สีดำ เพราะมีแมงกานีสมาก

เมื่อนำพระที่ปั้นแล้วมาเผาที่ความร้อนต่างๆ แล้วแต่ว่าองค์ไหนจะได้รับความร้อนมากน้อย ไม่เท่ากัน และหินแต่ละชนิดก็จะมีจุดหลอมเหลวไม่เท่ากันอีกด้วย

1. ในระดับความร้อนค่อนข้างต่ำ เนื้อจะยังไม่ประสานกันดี ที่น่าจะผุพังไปหมดแล้ว
2. ในระดับความร้อนปานกลาง จะทำให้มีการเชื่อมประสานกันของผงหินบดบางส่วน ทำให้มีสองสี เนื้อส่วนที่โดนความร้อนโดยตรงจะแข็งมากหน่อย แต่ส่วนที่ได้รับความร้อนน้อยจะไม่แข็งมาก อาจจะกร่อน หักบิ่นได้ง่ายสูงพอสมควร
3. ในระดับความร้อนสูง ที่ถือว่าพอดี ก็จะทำให้เกิดการละลายเชื่อมกันของผงหินที่ปั้นเป็นองค์พระได้สมบูรณ์ครบถ้วนพอดี แข็งแกร่ง งดงามและทนทาน
4. ในระดับความร้อนที่สูงมาก จะเริ่มเกิดฟองจากการละลายตัวของหินส่วนที่ละลายง่ายกว่า เช่น ซิลิก้า (เกิดเป็นเม็ดแก้วใสๆ) และ หินฟองพูมิซ (เกิดเป็นฟองสีดำๆอมน้ำตาลแดง) จนกระทั่งเม็ดสีคล้ายโลหะ (Metallic) ปูดโปนออกมาจากเนื้อ ทำให้มีลักษณะตะปุ่มตะป่ำ ที่วงการเรียกกันว่า "หมัดไฟ" และใช้เป็นตัวชี้วัดพระรอดแท้ๆ จะเกิดสีอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าพระองค์นั้นแก่อะไร

ลักษณะของหมัดไฟนี้ มีความพยายามที่จะทำเลียนแบบโดยไม่เข้าใจหลักการพื้นฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้เราสามารถสังเกตได้โดยง่าย
ดังนั้นการจับหลักการพื้นฐาน ก็จะพบความไม่สอดคล้องกันของมวลสารหลักและสีของหมัดไฟได้แบบไม่ยากนักครับ

หมายเลขบันทึก: 604987เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2016 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2016 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท