(124) Morning Talk แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยามเช้า


ดิฉันมีธรรมเนียมปฏิบัติส่วนตัวว่า จะต้องนำสาระดีๆ ที่ได้รับรู้จากภายนอกมาฝากคนในหน่วยงานค่ะ สำหรับครั้งนี้พิเศษกว่านั้น ดิฉันนำมาลงในพื้นที่ GTK เพื่อรองรับการเชื่อมโยง (link) หน้าเว็บ KM โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์มายัง GTK ด้วย .. เพื่อเพิ่มช่องทาง เพิ่มความสะดวกให้ชาวพระศรีสู่โลกกว้างค่ะ

'Morning Talk แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยามเช้า' ในที่นี้ เป็น poster presentation ในงาน HA Forum ครั้งที่ 17 ที่ผ่านมา เรื่องนี้ดำเนินการโดยศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จุดเด่นที่ดิฉันมองเห็นคือการออกแบบงานประจำให้มีคุณภาพด้วยวิธีเรียบง่าย .. คุณภาพทุกลมหายใจเข้า-ออก

ดิฉันนึกถึงการรับ-ส่งเวรของพยาบาลแต่ละหน่วย เรารับ-ส่งเวรเช้า เวรบ่าย เวรดึก ทำกันวันละ 3 รอบ ปีหนึ่ง 365 วัน ก็แค่ 1,095 รอบเท่านั้นเอง (ฮา) ลองกลับมาถามตัวเองว่าได้อะไรบ้าง .. ได้ค่ะ ได้มากเสียด้วย

ในอดีต.. ที่หน่วย ECT (Electroconvulsive therapy Unit : หน่วยบำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า) โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เรามี pre-post conferrence กันทุกวัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทุกวัน

ยกตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวชที่รักษาด้วย ECT ครบ cause แล้ว ยังมีอาการ confuse หรืองุนงงสับสนระดับปานกลาง-มาก ผู้ป่วยบางรายมีอาการงงสับสนจนปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองไม่ได้ พยาบาลต้องช่วยดูแลให้เกือบทั้งหมด แพทย์สั่ง discharge plan หรือมีแผนการจำหน่ายผู้ป่วยกลับไว้แล้ว .. คำถามคือ เราจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับไปใช้วิตที่บ้านอย่างปกติสุขและปลอดภัยได้อย่างไร? ในช่วงที่ยังมีอาการงง สับสนนี้ เพราะผู้ป่วยอาจไม่ทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ หรือเดินไปเรื่อยๆ แล้วกลับบ้านไม่ถูก ฯลฯ

ก็มาทบทวนกันว่าพยาบาลหน่วย ECT และพยาบาลในหอผู้ป่วยนั้นๆ ใครมีบทบาทหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและญาติอย่างไร โดยพยาบาลหน่วย ECT จะเยี่ยมผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการต่ออีกทุกสัปดาห์ และเป็นผู้ประสานกับพยาบาลหอผู้ป่วยว่าควรให้ข้อมูลอะไรแก่ญาติบ้าง จนกว่าจะรับผู้ป่วยกลับ

เราบันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ส่วนที่เป็น TK (Tacit knowledge) นี้ไว้ทุกวัน แล้วนำมาทบทวนทุก 3 เดือน สรุปบันทึกเป็น EK (Explicit knowledge) นำ EK นี้มาปฏิบัติซ้ำ บันทึกผลการปฏิบัติไว้ (ภายใต้ระบบ pre-post conferrence) EK นี้จะได้รับการยืนยันความถูกต้องและต่อเติมความสมบูรณ์ผ่านการปฏิบัติอย่างซ้ำๆ ที่หน้างาน เมื่อเราบอกว่าเราปฏิบัติเรื่องใด อย่างไร เราบอกเล่าบนหลักฐาน หรือ evidence based ที่มีคุณค่า (เรื่องนี้เราได้รางวัลชนะเลิศ KM ในการนำเสนองานมหกรรมคุณภาพโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในปี 2557)

ดิฉันเจตนานำเรื่องนี้มาเปิดประเด็น ให้กำลังใจชาวพระศรีมหาโพธิ์และผู้สนใจที่ได้ "ทำ" สิ่งที่ควรทำอยู่แล้วเป็นปกติ แต่ที่ไม่เป็นปกติคือ ยังไม่ได้ "เขียน" (บันทึกการแลกเปลี่ยนเรีบนรู้) ในสิ่งที่ควรเขียนเท่านั้นเอง (ฮา)

ดิฉันมีธรรมเนียมปฏิบัติส่วนตัวว่า ต้องนำเนื้อหาสาระดีๆ ที่ได้รับรู้จากภายนอกกลับมาฝากคนในหน่วยงานค่ะ สำหรับครั้งนี้พิเศษกว่านั้น ดิฉันนำมาลงในพื้นที่ GTK เพื่อรองรับการเชื่อมโยง (link) หน้าเว็บ KM โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์มายัง GTK ด้วย .. เพิ่มช่องทาง เพิ่มความสะดวกให้ชาวพระศรีฯ สู่โลกกว้างค่ะ



หมายเลขบันทึก: 604740เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2016 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2016 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท