๑๔ พื้นที่มีความหมาย : วัยทำงานฟันดี


ต่อจากบันทึกนี้นะคะ วัยทำงานก็อยากฟันดีนะ

ทบทวนนิด พี่ปิ ทพญ.ปิยะดา ประเสริฐสม สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เริ่มเขียนโครงการขอทุนให้

ภารกิจเยอะ ยังต้องจัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานด้วย

มีทีม project manager ดำเนินแผนงานต่อ คุณหมอโอ๋ หมอโซ่ พี่มาลี พี่ happy พี่จิ๋ม หมอกล้วย หมออู่ หมอฝน พี่ต่วง หมอนุ้ก

คุณหมอช้าง พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน

มาช่วยเติมความรู้จากผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ถาม – ตอบกันได้อย่างไหลรื่น สนุกดี

จากภาพ .... ถ้าอ่านภาษาไทยแล้วงง อ่านภาษาอังกฤษจะเข้าใจกว่านะคะ อิ อิ AEC

โดยเฉพาะแนวทาง – วิธีการทำงานแบบใหม่ ๆ เพื่อสุขสาธารณะของปวงชน

อาจารย์มีกรอบแนวคิดการจัดระบบดูแลสุขภาพตามกลุ่มประชากร : กลุ่มโรคเรื้อรัง มาฝากพวกเราด้วย

โรคในช่องปากหลัก ๆ ของกลุ่มวัยทำงาน แม้จะเป็นโรคติดเชื้อ แต่ก็เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและเรื้อรังไปเรื่อย ๆ

อาการรุนแรงเพิ่มตามอายุด้วย คล้ายกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)

^_,^

ไม่นึกฝันจะมาถึงจุดจุดนี้ น้าน !!!! เหมือนดาราชอบตอบเลย อิ อิ

ยังไม่ได้เหรียญที่แสดงว่ารับราชการ ๒๕ ปี แต่บอกได้ว่าบรรยากาศประชุมวันนี้ต่างจาก ๒๐ ปีที่แล้ว สมัยประชุมกับ “กองทันตสาธารณสุข” แน่นอน

ไม่ได้ฝันไว้แต่แรกว่าจะได้โอกาสกลับทาง เดิมทีระบบราชการชอบใช้ .... สั่งการ

วันนี้ ออกแบบการทำงานใน ๑๔ อำเภอ พื้นที่สมัครใจก่อน ตัดเสื้อ ๑๔ แบบ ใน ๔ ภาค

แล้วทีมกลางค่อยหาทางวิเคราะห์ สังเคราะห์เอง จะเกิดเสื้อ S, M, L, XL ตามเงื่อนไข ปัจจัยใด

หรือเงื่อนไขแบบนี้ ควรจะตัดเสื้อแขนสั้น เงื่อนไขนั้นเหมาะกับแบบแขนสามส่วน หรือแขนยาว เป็นต้น

และเชื่อว่าแต่ละอำเภอ แต่ละพื้นที่ จะสามารถเลือกนำไปดัดแปลงให้ใส่สบาย .... งดงามตามแบบฉบับของตนเอง

^_,^

(รวมหัวคิดภาคเหนือ)

(สุมรวมภาคอีสาน โปรดสังเกตท่าทางของท่านผู้ฟัง .... สบายเกิ๊น ๕ ๕ ๕ ๕)

(ตั้งใจคุยภาคกลาง ตั้งใจนำเสนอ)

(ภาคใต้เลื้อยคุย และเสนอ ... กรมธรรม์ น่าติดตาม)

แต่ละภาคเสนอกิจกรรมตุ๊กตาคร่าว ๆ วิเคราะห์ตนเองเร็ว ๆ ใช้ประสบการณ์เดิมและปัจจัยที่เคยสำเร็จมากหน่อย

^_,^

คุณหมออู่บอกโจทย์การบ้าน Situation analysis จากข้อมูลที่เรามีในระบบฐานข้อมูลแล้วและหาเพิ่ม

จำนวนและประเภทงานบริการสุขภาพช่องปาก ก่อนเริ่มดำเนินงานนี้ ข้อมูลปีงบ ๒๕๕๘

อายุ อาชีพ ประชากร type ๑ + ๓

Gap ของการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก

(รอตารางสมบูรณ์ที่ต้องเติมข้อมูล วันจันทร์ ๔ เม.ย. นี้ ... ทางเมล์)

(หน้าตาพี่เอร็ดอร่อยกับส้มโอของฝากจากพี่สุน ห้วยพลู อ.นครชัยศรี มาก ๆ เลยค่ะ อิ อิ)

ฝากการบ้านพี่ปิ อาจต้องใช้เวลา สอบถาม หาข้อมูล วิเคราะห์เพิ่มเติมอีก

ปัจจัยด้านสังคม สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ต้นทุนทางสังคม รายบุคคล – ครอบครัว ชุมชนระดับต่าง ๆ

ระบบบริการสาธารณสุข ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง …. การพึ่งตนเองและเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปาก

ใช้ประโยชนต่อในการวิเคราะห์แนวโน้มความเป็นไปได้ในการออกแบบกิจกรรมของโครงการ

^_,^

หันกลับไปดูวัตถุประสงค์แผนงาน ๓ ปี อีกครั้ง โดยเฉพาะข้อ ๒, ๓ สำหรับพื้นที่ ๑๔ อำเภอ

  • ข้อเสนอเชิงนโยบายการดูแลสุขภาพช่องปากวัยทำงาน (กลุ่มนอกสถานประกอบการ ไม่ได้สังกัดองค์กรหรือหน่วยงาน)
  • พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากวัยทำงาน (เน้น self care)
  • เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากวัยทำงาน

เหตุนั้น การดูแลตนเองที่พอเหมาะ ... ชาวบ้านบอกเอง

และแค่ไหน .... จะไปเข้ารับบริการจากระบบที่จัดโดยรัฐหรือบางพื้นที่จะมีร่วมเอกชน อาจจะมีรูปแบบหน้าตาใหม่เปลี่ยนไป หลังแผนงานนี้สิ้นสุด

แค่คิดว่าจะได้มาพบปะ workshop กันอีกในขั้นแรก พื้นฐานของงานขั้นต่อไป

Situation analysis .... คงจะมีเครื่องมือ วิธีการวิเคราะห์อำเภอของเราอย่างเป็นระบบที่น่าสนใจ

ให้เห็นข้อดี ความภาคภูมิใจ จุดแข็ง ความเชื่อมโยงที่ควรพัฒนาต่อ

น่าสนุกมากเลย

ส่งการบ้านต้นเดือนพฤษภาคม (หวังกระเป๋าทำมือ ๕ ๕ ๕ ๕)

แล้วค่อยพบกันอีกนะคะ ไม่นาน

สวัสดีค่ะ

^_,^



ความเห็น (4)

ผู้หญิงยิงเรือ ผู้ชายยิงฟัน ;)...

ดิฉันชอบบันทึกแบบบนี้มากเป็นพิเศษค่ะ ไม่เพียงบอกว่าทำอะไร แต่ลงรายละเอียดว่าทำอย่างไร เพื่ออะไร ระหว่างนี้มีปัญหาอะไร แก้ไขอย่างไร ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร ภาพถ่าย และสะท้อนความรู้สึก ครบครัน

รักแล้วรัก้ลยค่ะ คุณธิ

ผู้ชายฟันสวย ผู้หญิงก็สวยด้วยคร้า

ว้าว !!!! ปลื้ม ๆ ๆ ๆ ๆ ขอบคุณมากคร้าคุณพี่ดารนี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท