Human Skill in Biomedicine คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


สวัสดี ลูกศิษย์ และชาว Blog ทุกท่าน ,

วันนี้ผมได้รับเกียรติมาบรรยายพิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษา การทำงาน และการดำรงชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก รวมทั้งคณาจารย์ของภาควิชาชีวเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวนประมาณ 50 ท่าน ซึ่งเป็นการต่อยอดลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำที่คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.รุ่นที่ 3 คือ ผศ.ดร.กัญญานัช กนกวิรุฬห์ ซึ่งเป็นรองหัวหน้าภาควิชา และเป็นกำลังสำคัญในงานวันนี้ ทฤษฎีกระเด้งของผมได้เกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าครั้งนี้จะถือเป็นการชนะเล็ก ๆ แต่ก็เป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดชนะใหญ่ ๆ

ทั้งนี้ผมจึงเปิด Blog นี้เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปการบรรยายเรื่อง Human Skill in Biomedicine

บรรยายโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันที่ 30 มีนาคม 2559

ณ ห้องอดิเรก ณ ถลาง อาคารเรียนรวมและหอสมุด

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผศ.ดร.กัญญานัช กนกวิรุฬห์

การจัดงานครั้งนี้เนื่องจากเคยเป็นลูกศิษย์ของ ดร.จีระ และอาจารย์พิชญ์ภูรี คิดว่าความรู้จะเป็นประโยชน์มากที่จะได้นำมาแบ่งปันในภาควิชา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณบดีสุธรรม

ในนามคณะแพทยศาสตร์รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์ได้ใช้โอกาสในการเชิญดร.จีระ และอาจารย์พิชญ์ภูรีมาแลกเปลี่ยนชี้นำความคิด อาจารย์ให้ความเมตตาต่อคณะแพทยศาสตร์เรื่อยมา และคิดว่าเหมาะกับพวกเราในรุ่นบุกเบิก แรงบันดาลใจบางส่วนอาจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตทั้งหมดเลย มีการปรับเปลี่ยนมากขึ้น ได้รับการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนและกระตุ้น ได้นำแรงบันดาลใจมาให้พวกเรา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ได้รับเกียรติจากคณะแพทยศาสตร์มาทำ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่ได้ทำงานต่อเนื่องแบบทฤษฎีกระเด้ง วันนี้นับเป็นโอกาสเล็ก ๆ อันหนึ่ง เคยสอนปริญญาตรีของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราช ซึ่งปัจจุบันยังมีคนพูดถึงอยู่ อย่างในครั้งนี้ การบรรยายที่ Biomedicine จึงคิดว่าเป็นการทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง มูลนิธิฯไม่มีรายได้สนับสนุนโดยตรงจากรัฐบาล แต่ต้องดูแลมูลนิธิฯ ต่อไป แต่มูลนิธิฯ ไม่ได้ทำงานเฉพาะต่างประเทศเท่านั้น อย่างประธานมูลนิธิฯ คนแรก ท่านอาสา สารสิน ได้กล่าวว่าให้ดูแลคนในประเทศด้วย ซึ่งก็ได้รับโอกาสจะคณบดี และอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ที่สนใจให้มา

ที่มาในวันนี้ มีผู้เข้าเรียนเป็นนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอก ซึ่งอีกไม่กี่ปี เดินทางไปทำงาน อยากฝากสิ่งที่จะนำไปใช้หลังจากเรียนจบ และไปทำงานด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การได้ Human Skill จะเป็นการต่อยอดจากงานที่ทำมา คนต้องมี Human Skill ซึ่งจะไม่ให้หยุดที่เราทำแต่เป็นการต่อยอดต่อไปด้วย

สิ่งที่ได้คือ โอกาส ดร.จีระ มีทฤษฎี 3 ต. คือ แตกต่าง ต่อเนื่อง และติดตาม เราต้องเลือกสิ่งที่แตกต่าง Biomed ถ้ามีแนวความคิดใหม่ ๆ จะทำให้คิดต่อยอดจากสิ่งที่มีรอบตัวได้

อย่างไรก็ตามทฤษฎีต้องมีความคิดนอกกรอบ มีความคิดใหม่ ๆ เพื่อเติมให้นิ่มนวลและมีประโยชน์ต่อไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เส้นทางที่จะเดินแบบ ดร.จีระ เดินได้ ก่อนอื่นต้องมี Passion คือชอบสิ่งนั้น จะไม่มีอะไรสำเร็จถ้าเราไม่ชอบมัน

สิ่งหนึ่งที่ ฝากไว้คือทุกคนต้องสร้าง Reputation ให้มหาวิทยาลัยของคุณ ต้องเป็นการขยันที่มีคนสนใจด้วย อย่างเรียนเรื่อง Biomed เรียนไปเพื่ออะไรจะสร้าง Impact ต่อสังคมได้หรือไม่ ไม่ใช่ไปเรื่อย ๆ

1. เวลามาเรียนรู้ให้เอาสมองมาด้วย ไม่ใช่เรียนเพราะคณะส่งให้เรียน

2. ค้นหาตัวเอง ทุกเรื่องที่พูดถ้าไม่นำเข้าไปสมองไม่ต้องเรียน ให้ค้นหาตัวเองว่าเรียนปริญญาโท และเอก มีเป้าหมายเพื่ออะไร การไปต้องไปอย่างมีเป้าหมาย อย่าง ดร.จีระ โชคดีที่เกิดในครอบครัวดี สอนดี ให้เป็นคนดีและตั้งใจทำงาน

3. สร้าง Network ของคนในห้องนี้ ให้รู้จักกันให้ดี อย่างที่ Network ที่ท่านสุธรรมทำคือ Informal Network

4. Process ดร.จีระมาสร้างแรงบันดาลใจ มาสร้างให้คิด มีทฤษฎี 4L’s คือ

Learning Methodology

Learning Environment

Learning Opportunity การปะทะกันทางปัญญา

Learning Community หลังจากเรียนรู้แล้วจะทำอะไรต่อ

H- Strategy คือสร้างความได้เปรียบ ต้องถามว่า Journey จากนี้ไปได้อะไร เมื่อได้ปริญญาโท ปริญญาเอกแล้วจะทำอะไรต่อ ถ้าไม่มี Passion ,Purpose ,Meaning จะทำให้ Life ล้มเหลวได้

ดร.จีระ กล่าวว่า Brain อย่าไปยัดอะไรมาก ต้องถามตัวเองว่าตอน 40-50 ปีจะทำอะไร อย่างคุณพิชญ์ภูรี เกิด Passion ในการทำงาน และถ้าไม่มี Passion จะอยู่ไปทำไป อยากให้ลองถามว่า Field of Science อยู่ตรงไหนของ World Class

อาจารย์พิชญ์ภูรี

ได้ 2R’s ก่อนอื่นอยากให้ค้นหาตัวเอง และจะเลือกอะไรที่เป็นคุณูปการกับภาควิชาและคณะ เราไม่สามารถพูดได้ว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของ มอ. การได้ Skill มาใหม่เพื่อต่อยอดที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ได้

อาจารย์จีระ เลือกที่จะทำ HR และเลือกที่จะทำตัวของ ดร.จีระ ไปสู่ World Class และได้ความคิดเป็นระบบอย่างไรบ้าง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวว่า Value ไม่มี Limit

1) จากการทำงานที่คณะแพทยศาสตร์ 3 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวมทั้งหมด 150 คน จึงเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ได้คือ พฤติกรรมกระเด้ง

(2) วันนี้มีเวลาน้อย คือแค่ 3 ชั่วโมง แต่ความสำคัญไม่ได้ด้อยไปเลย โดยเฉพาะ Target Group เป็นนักศึกษา

ปริญญาโทและปริญญาเอก และมีอาจารย์บางท่านมาร่วมด้วย - ดีใจที่มีโอกาสมาพูดให้นักศึกษาฟังบ้าง จำได้ว่าเมื่ออยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีได้พูดหลายครั้งให้นักศึกษาแพทย์ ศิริราชปี 1-2 ยังจำได้ หลายคนสนใจเรื่องอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การเงิน การบริหารจัดการ ภาวะผู้นำ ความยากจน โลกาภิวัตน์ วันนี้ก็เช่นกันคงจะเน้นสร้างมุมมองใหม่ ๆ และสุดท้ายติดตัวท่านไปสัก 2-3 เรื่องก็พอ คล้าย ๆ Moment of Impact

ในวันนี้ถ้าได้พลังจากความหลากหลายจะเกิดประโยชน์ร่วมกัน ให้ลองศึกษา Moment ที่มี Impact จริง ตัวอย่างเช่น คลินตันจับมือกับ จอห์น เอฟ เคเนดี้ และได้เป็นประธานาธิบดีในเวลาต่อมา

อย่างคนในห้องขาดคนที่ไปผลักดันเราขึ้นมา เราต้องการอะไร มี Purpose

ให้มีการทบทวนตัวเอง และเอาจุดแข็งของตัวเองเก็บไว้และ Explore สิ่งที่จะเกิดขึ้น ให้รู้การเปลี่ยนแปลงไปสู่อาเซียน ให้ลองสังเกตว่าทำไมอินเดียแม้คนจีน เพราะคนจีนมุ่งไปที่ Business แต่ปัจจุบัน Growth Rate อินเดีย 7.3 % ชนะจีนแล้ว

อาจารย์จีระ ได้ยกตัวอย่าง ทฤษฎี 8 K’s

1. Ethical Capital

2. Intellectual Capital

3. Happiness Capital

4. Social Capital

5. Sustainability Capital

6. Digital Capital

7. Talented Capital

8K’s สรุปแล้วหลัก ๆ คือการเป็นคนดีและการเป็นมืออาชีพ ต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้น เพราะต้องทำงานกับคนอื่น กับโลกาภิวัตน์ ในการเปลี่ยนแปลง เราต้องได้ความคิดสร้างสรรค์ ฐานความรู้ และทุนทางอารมณ์

5K’s ใหม่

1. Creativity Capital

2. Knowledge Capital

3. Innovation Capital

4. Cultural Capital

5. Emotional Capital

5K’s ใหม่ สิ่งที่ฝากไว้คืออย่าให้คนไทยลืมทุนทางวัฒนธรรม ดร.จีระ มีประเด็นคือ Left Brain คือ 1+1= 2 แต่ในอนาคตไม่พอต้องมีมากกว่าด้วย ต้องมี System Thinking แต่ต้องมอง Right Brain และสาขาอื่นด้วย

การศึกษาไทยเรียนทุกอย่างที่อยู่ในตำรา ในกระทรวงศึกษาธิการฯ แต่โลกในอนาคตต้อง Unlearn

อยากให้ท่านเริ่มมีทัศนคติหรือมุมมองที่กว้างขึ้น ให้ Think Macro และ Act Micro ต้องมองภาพใหญ่ และต้องรู้จักตัวละครที่แคบ คนเหล่านั้นคือ Partnership และ Networking ในอนาคต เราเริ่มมี Relationship กับข้างนอกมากขึ้น และหลังจากทำ Workshop เรามีโอกาสได้ใช้แนวคิด Perspective เหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่

Opportunities อาจอยู่ในธุรกิจ ชุมชน อาเซียน เราต้องปรับ Mindset คือ ถ้าเราเปิดโลกก็เปลี่ยน สรุปคือไม่มีสูตรสำเร็จรูป เราต้องพร้อมปรับตัวและเปลี่ยนแปลง เป็น Student Entrepreneurship แต่ในที่นี้หมายถึงจิตวิญญาณ แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ สร้าง Network และความสัมพันธ์ใหม่ ๆ และ Turn มาเป็น 3 V ให้ได้

เป็น Concept ทางเศรษฐศาสตร์เขียนโดย Freshment หมายถึงถ้าเราทำดีเราต้องได้ Opportunities ขึ้นมา

Entrepreneurships : Chira Hongladarom’s Model

  • Pain is Gain
  • If there is limit, you overcome.
  • ถึงไม่ได้เป็นเจ้าของก็มีพฤติกรรมคล้ายเจ้าของ
  • คิด Projects ใหม่ และยากเสมอ
  • Plan big and ambitious
  • Try to be number 1 ในงานที่ทำ
  • ยกย่องลูกน้อง
  • พัฒนาลูกน้องให้เก่ง ไม่ใช่เก่งคนเดียว
  • สร้าง network ตลอดเวลา
  • Work skill+ Social Skill
  • Failure is lesson
  • บริหาร Cash flow ให้ได้ ถ้าไม่มีต้องหามา
  • Down and up again
  • Get things done
  • Customer’s focus
  • Think big picture
  • Creativity and Innovation
  • Enjoy you work

ในอนาคตความรู้ไม่ได้อยู่ที่อดีตอีกต่อไป

ให้ลองถามตัวเองว่าถ้าจะเพิ่มศักยภาพด้าน Entrepreneurship ในขณะเรียนปริญญาโทและเอกจะทำอะไร และในอนาคตเมื่อทำงานแล้วจะทำอะไร จึงขอฝากไว้

การเรียนยุคใหม่ต้องเรียนแบบความสุข ลดความเครียด ใช้ความคิดสมดุลคล้ายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ดร.จีระ อยากจะจบด้วยการนำ Macro มา Micro พอมาถึงระดับภาควิชาหรือคณะก็ต้องเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวมาเป็นการเรียน การวิจัย

- อย่าเรียนคนเดียว

- สร้าง Teamwork

- สร้าง Network

  • เน้น HRDS ซึ่งอาจารย์จีระและนักศึกษาต้องมี
  • เน้นพัฒนาตัวเอง 8K’s 5K’s
  • และทฤษฎี 3 วงกลม

ทฤษฎี HRDS

- Happiness

- Respect

- Dignity

- Sustainability

อาจารย์พิชญ์ภูรี

สิ่งที่ดร.จีระพูดถึง Biomed ดร.จีระให้ 2 เรื่องใหญ่คือ

1. ต้องเป็นคนดี ฝึกอยากเพราะอยู่ในเลือดเนื้อ และฝึกให้ได้ดี

2. อยากให้ทุกคนเป็นมืออาชีพ คืออยากใช้ Human Skill ก้าวไปสู่จุดนั้นได้ คนดีนั้นต้องใช้ระยะเวลา อันอับแรกต้องค้นหาตัวเองก่อนว่า เรามีจุดแข็ง และจุดอ่อนอะไร ความรู้ที่มีในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกมีมากน้อยแค่ไหนในตัว มีทั้ง Soft Skill ที่ต้องไปเสริมกับ Technical Skill

ความเป็นมืออาชีพต้องค้นหาตัวเอง

- ศึกษาสภาพแวดล้อม ตัวอย่างเช่นคณะแพทยศาสตร์ มอ. ข้อมูลเยอะมากแค่ก้าวไปสู่โรคต่าง ๆ ต้องหาเจอก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นมา อย่างเช่นไข้เลือดออกเป็นที่เด็กจะทำให้ลูกสมองเล็ก จึงอยากให้เริ่มจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวก่อน พูดเรื่องภาคใต้ พูดเรื่องประเทศไทย แตกต่างเพื่อแก้ปัญหาให้คณะแพทยศาสตร์และประชาชนให้ได้

- สิ่งที่ต้องเพิ่มในทุกคนคือความคิดสร้างสรรค์ที่บวกกับความรู้จริงในทางวิทยาศาสตร์ถึงสามารถเกิดได้ เรียกว่าการต่อยอดออกไปจากความรู้เดิมที่มีอยู่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องเอาความรักองค์กร การทำงานเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ ความรักพระราชบิดาออกมาให้หมด ต้องการให้คนในห้องนี้เป็น Top หรือเรียกว่าเป็น Passion ให้ระเบิด Intangible Asset ออกมาให้ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี

ต้องเลือกสิ่งที่ประสบความสำเร็จโดยเร็ว เสริมแรงดัน เชื่อมเป็นเครือข่าย และทำงานเป็นทีม

ดร.จีระ

เรื่องการสร้าง Teamwork ให้เริ่มจากการข้ามภาควิชา ข้ามคณะ ข้ามมหาวิทยาลัย และค่อยก้าวออกไป ในปัจจุบันไม่มีใครเก่งเพียงคนเดียว เพียงเรามี Network ที่มี Diversity มากเท่าไหร่ยิ่งเป็นประโยชน์มากสรุปคือ Teamwork Networking และ Corraboration น่าเป็น Trend ที่สำคัญที่สุดให้ Break the Silo

อาจารย์พิชญ์ภูรี

สิ่งที่ทุกท่านต้องทำคืองานวิจัย ได้ค้นพบว่างานวิจัยของประเทศไทยค้นพบปัญหา อุปสรรคมากเลย แต่ยังไม่ค่อยมีข้อสรุปหรือไปเอาใช้ได้จริง แต่ถ้ามีคนเก่งไปนำมาใช้และปรับก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย

Entrepreneurship ในธุรกิจมองหาโอกาส ซึ่งบางทีคนอื่นทำไว้ แต่ตัวเองต้องมีความรู้ด้วยถึงมองเห็นโอกาส ต้องเก่ง เพราะถ้าไม่เก่งโอกาสก็ไม่เกิด

ดร.จีระ

Entrepreneurship ไม่ได้หมายถึงทำอะไรใหม่ ๆ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการหาโอกาส ต้องอ่าน ถึงรู้ว่าจะมีโอกาสอย่างไร และถ้ายิ่งมี System Thinking อยู่แล้ว การใส่ Input เข้าไปที่ Relevance กับวิทยาศาสตร์ มูลค่าจะสูง

อาจารย์พิชญ์ภูรี

เมื่อคิดแล้ว ให้หาข้อมูลช่วย คือเครื่องมือที่ช่วย และข้อมูลลูกค้า ต้องหา Network ถ้าประสบความสำเร็จ ต้องไปดู ไปคุยกับแพทย์ ไปหาข้อมูล ต้องทำให้สำเร็จ ทำอะไรก็ตามให้เป็นชิ้นเป็นอัน การอยู่ที่เดิมจะไม่สามารถไปไหนได้ แต่ให้เรียนรู้ที่จะเขย่งคือยืดให้สุดตัว

การต่อยอดต้องทำต่อเนื่องและยั่งยืน ก่อนอื่นคิดให้ตรงประเด็นก่อน เริ่มจากชนะเล็ก ๆ แล้วค่อยไปชนะใหญ่ ๆ



Workshop

แบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็น 3 กลุ่ม

  • 20 ปีข้างหน้าบทบาทของ Bio Med มีโอกาสและอุปสรรคอย่างไร? ควรเน้นความร่วมมือ ยกตัวอย่างโครงการที่จะทำร่วมกัน
  • ฟังแนวคิดวันนี้แล้วน่าจะทำอะไรต่อโดยเฉพาะความร่วมมือกับธุรกิจและชุมชน จะปรับตัวอย่างไร? ยกตัวอย่าง 3 เรื่อง
  • แนวคิดของ 8K’s 5K’s จะช่วยการเรียนและอนาคต การทำงานของท่านอย่างไร?

Student Entrepreneurship คืออะไร อธิบาย และจะกระทบในทางบวกอย่างไร?

1. 20 ปีข้างหน้าบทบาทของ Bio Med มีโอกาสและอุปสรรคอย่างไร? ควรเน้นความร่วมมือ ยกตัวอย่างโครงการที่จะทำร่วมกัน

โอกาส เริ่มจากมองจุดเด่นคือมีความเข้มข้นทางวิชาการและมีความรู้ มีความคิดเชิงระบบ มีการมองในภาพรวมของ Biomed ทั่วประเทศก่อน และภาคสังคมโดยรวมในคณะแพทยศาสตร์ มีเครดิตพอสมควร

ความใฝ่รู้เป็นสิ่งที่มีสำหรับบุคลากรสงขลาอยู่แล้ว น่าจะมีจุดเด่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็น Core Product เช่นทรัพยากรทางธรรมชาติ

จุดอ่อน คือไม่มีทุน และขาดด้านการวิจัย การรักษาโรคยังแพง และยังไม่เข้าถึงชุมชนมากเท่าที่ควร

เรื่อง connection และ network กับชุมชนยังสามารถไปอีกเยอะ

ภายใน 20 ปีข้างหน้า นอกจากงานวิจัยแต่จะคิดถึง Product ที่เข้าถึงสังคม เป็นสังคมที่ยิ่งใหญ่เกินไป และถ้านำมาใช้ได้จริงจะส่งผลให้คนเห็นค่าของ Biomed หรือวิทยาศาสตร์

การลงทุนด้านการวิจัย เครื่องมือยังน้อยกว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย ดังนั้นต้องก้าวข้ามจุดนี้ให้ได้

การตลาดหรือสินค้า ไม่มีองค์กรที่สนับสนุนเรื่องนี้เป็นอุปสรรคในเรื่องผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ

การยกตัวอย่างโครงการฯ ที่เชื่อมโยงกับ Biomed

สร้าง Brand เป็นอาหารหรือเครื่องดื่มชื่อเป็ปตอ เป็นสารสกัดจากสะตอ เพื่อป้องกัน
โรคได้ และมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์สะตอเป็นที่รู้จักของภาคใต้ เอาความรู้จาก Biomed ดูสาร ดูปฏิกิริยาภายในเซลล์ นอกจากนี้มีพื้นที่ที่ทำการตลาดทางการท่องเที่ยว เรื่องสภาพจิตใจ และสิ่งแวดล้อมสำคัญ ถ้ามีบริษัทรักษาที่มีความรู้จะสามารถรักษามูลค่าเพิ่มได้ และผลผลิตไม่ใช่แค่ศึกษาแล้วนำไปขาย แต่จะมีการทำงานร่วมกันขององค์กรต่าง ๆ เช่นชุมชน หรือภาควิชาต่าง ๆ ใน ม.อ. คิดว่าจะได้ประโยชน์หลายทางร่วมกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า กลุ่มนี้มีการมองทั้งโอกาสและการคุกคาม และนำเป็นเครื่องมือในการหาโอกาสในการทำสิ่งที่เป็นไปได้ ต้องเข้าใจว่าเรียนเพื่ออะไร ต้องป้องกันและรักษาเพื่อหาสินค้าตัวใหม่ ๆ เพื่อสกัดกั้นปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อเข้าใจว่ารักษาพยาบาล คนมาโรงพยาบาลเพื่ออะไร แต่โรงพยาบาลนั้นหน้าที่ Preventive ด้วย ขอแนะนำเพิ่มเติมที่กว้างกว่าเช่น Telemedicine เอาไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พบว่าประเทศไทยมีพันธุ์พืชมากมายมานำวิจัยอย่างต่อเนื่องได้อย่างดี

2. ฟังแนวคิดวันนี้แล้วน่าจะทำอะไรต่อโดยเฉพาะความร่วมมือกับธุรกิจและชุมชน จะปรับตัวอย่างไร? ยกตัวอย่าง 3 เรื่อง

เริ่มต้นจากการตั้งเป้าหมายก่อนว่าจะทำอะไร มองตัวเองก่อนว่ามีความรู้ด้านไหนมากกว่าคนส่วนใหญ่ ได้จุดร่วมทั้ง Biocem และ Biomed จะพัฒนาอะไร และต้องดูว่าชุมชนต้องการอะไร เช่นมะเร็ง ใช้องค์ความรู้ในการรักษาโรคมะเร็ง มีการทำ Biomarker หาสารที่รักษามะเร็ง เลยมองว่าทำไมไม่ให้ความรู้ในการป้องกันโรคมะเร็งแต่ต้น เน้นการป้องกันแทน และจากนั้นจะเอาตัวที่มีความรู้ไปตอบโจทย์

จากการศึกษาพบว่าเมืองไทยเป็นเมืองสมุนไพร พบว่าสิ่งเหล่านี้เรายังไม่รู้เช่นฟักข้าว หรือมะระขี้นกยังไม่รู้สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ และถ้ารู้ว่าสามารถฆ่ามะเร็งได้จะสามารถทำให้มะระขี้นกเพิ่มราคามากกว่ากิโลกรัมละ 30 บาท

ให้ความรู้กับชาวบ้านและขายผลผลิตเป็นช่องทางในการจัดจำหน่ายอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่าช่องว่างสำคัญ ต้องค้นหาตัวเองก่อนและหา Gap ให้เจอแล้วพัฒนา ข้อดีคือมีอาจารย์ที่รู้จักกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ทำไม Biomed อยู่ในคณะแพทย์ และบางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องเน้นเรื่องคนอาจเน้นเรื่องอื่นเช่นเรื่องพืชด้วย อยากให้มี Student Journey และทำงานต่อเนื่องด้วย

3. แนวคิดของ 8K’s 5K’s จะช่วยการเรียนและอนาคต การทำงานของท่านอย่างไร?Student Entrepreneurship คืออะไร อธิบาย และจะกระทบในทางบวกอย่างไร?

ก่อนอื่นต้องดูว่า 8K’s และ 5K’s คืออะไร ต้องมีจุดมุ่งหมายในการเดินทางและระหว่างทางจะเจออุปสรรคต่าง ๆ แต่สิ่งที่เรามีความสุขได้เราต้องมีความสุขในทุกก้าวที่เราเดิน เราต้องมีความสุขในสิ่งเล็กน้อยถึงมีกำลังใจก้าวข้ามอุปสรรคได้ อาจเป็นไหวพริบ หรือความรู้ที่มีอยู่ เราต้องการความช่วยเหลือจากคนรอบข้างของเรา เพราะแต่ละคนมีแนวคิดที่แตกต่างกัน จะมองในจุดที่เราไม่มองแล้วจะแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

หลังจากนั้นงานวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นจากชุมชนแล้วเอางานวิจัยกลับคืนสู่ชุมชน เช่นการกินปลาดิบมีพยาธิอยู่ตรงนั้นจะมีวิธีบอกอย่างไร เราต้องแนะนำให้เขาผสมผสานวิธีการของเราเข้ากับส่วนของเขาเพื่อนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Student Entrepreneur เป็นแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการในตัวสามารถประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร เราศึกษาและวิจัยอย่างไร ต้องมองหาโอกาสและตอบโจทย์ประเทศชาติและธุรกิจอย่างไร ปรับทัศนคติและปรับตัวอย่างไร นำ Paper มาต่อยอดปรับปรุงและพัฒนาด้วยตัวเราเอง

ผลกระทบทางบวกคือ จะเป็นการพัฒนาตัวบุคคลให้มีแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการในตัว ศึกษาเพื่อตอบโจทย์ทางเศรษฐศาสตร์และโอกาสทางธุรกิจ สามารถช่วยพัฒนาตนเองให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกให้ประเทศแข่งขันกับนานาชาติได้ต่อไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า กลุ่มนี้วิเคราะห์ทุนทาง 8K’s 5K’s ได้อย่างดีคือเป็นคนดี และที่เหลือเป็นคนเก่ง 8K’s 5K’s ของ ดร.จีระ เหมือนมีบันได 2 ขั้น ต้องมีพื้นฐานก่อนแล้วต่อยอดหรือกระเด้งออกไป

Student Entrepreneurship จะต่อยอดในสิ่งที่จบไปแล้วด้วย อย่างน้อยจะได้เห็นแนวทาง และคิดว่า Session ในการโต้ตอบมีประโยชน์

เรื่อง Entrepreneurship อยากให้มองเส้นทางเดินหลังจากจบไปแล้วว่าจะทำอะไร อาจไม่จำเป็นต้องเป็นครู หรือนักวิจัย แต่อาจทำเป็น Start up company ได้

Entrepreneurship คือการแสวงหาสิ่งเหล่านี้ Bill Heineke กล่าวว่าสามารถ Use other people ได้เช่นเดียวกัน คนที่อยู่ในห้องนี้อย่าทำตัวตั้งรับ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหรือทำอะไรที่หลุดโลกไปเลย ตัวอย่างเช่น Google ถามว่ามีอะไรบ้างที่ยังไม่ได้ทำ และจะทำอะไรได้บ้าง เป็นต้น

ปัญญาของดร.จีระคือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น Problem Solving บริหารความเสี่ยง และ
Futuristic

สำคัญที่สุดคือต้องมีภาษา สิ่งที่เสนอมาต้องไปคิดต่อว่าทำได้หรือไม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณค่าหรือประโยชน์ได้จากความหลากหลาย เราจะได้แนวความคิดใหม่ ๆ เราอาจจะคลุกเป็นน้ำพริกถ้วยหนึ่ง ไข่เจียวจานหนึ่ง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติแต่เกิดเพราะกระบวนการที่ ดร.จีระเรียกว่า Chira Way

ทางลัดที่ได้เหมือนคนรุ่นใหม่ ทางลัดเร็ว แต่ต้องเข้มข้นให้มีคุณภาพมากขึ้น ให้ลองดูว่าอาจารย์จีระ ให้อะไร สิ่งที่ได้คือปลูกแล้วเก็บเลย มีการรดน้ำพรวนดิน เพื่อทำให้ดินโปร่ง สามารถใช้กระบวนการของ ดร.จีระ ที่เรียกว่า Proactive

การสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

1. Happiness ความสุขในวันนี้คืออะไร เป็นลักษณะ Learn-Share-Care

2. Respect คือการให้เกียรติกัน ยกย่องกัน

3. Network เกิดเครือข่ายเล็ก ๆ

4. Dignity เกิดศักดิ์ศรีที่สะสมในความเป็นลูกพระบิดา

5. Sustainable ได้ความยั่งยืน

ตัวอย่าง เป็บตอ เป็นลักษณะโภชนบำบัด เป็นการป้องกันโรคและรักษาโรค ความรู้ที่ได้เป็นอย่างไร อาจสามารถช่วยชะลอการตายได้ แต่อาจคิดแบบเพิ่มมูลค่าได้ ความเข้มข้นเกิดจากการคิดดี ต่อยอดจากพระบิดา เริ่มมองชุมชน เริ่มคิดนอกกรอบแบบแหลมคมและตรงประเด็น แต่อย่าลืมว่าโรคเปลี่ยนแปลงเร็ว ตัวอย่างเช่น โรคเดิม โรคเท้าช้างกลับมาอีกจากแรงานต่างด้าว เราจะป้องกันอย่างไรที่คิดป้องกันสิ่งนี้

นอกจากนี้ไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก อาจให้ลองศึกษาดู เช่น Anti Aging อาจมองได้ทั้งการรักษาโรคและการได้เงิน การปรับทัศนคติให้เป็นผู้ประกอบการด้วย AEC มีสามเสาหลัก เราก็ควรนำมาใช้ด้วยเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 604329เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2016 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2016 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/605086

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 18 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2559

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=R1DyQm-UIrE&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : Student Entrepreneur แนวคิดการเรียนรู้แบบกระตุกต่อมความคิด ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท