ผู้คุมหุ่นยนต์


การนำผู้คุมหุ่นยนต์มาช่วยในการควบคุมนักโทษของเกาหลีใต้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่คุก และ เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติต่อนักโทษที่อาจกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.....................


การจับกุม การคุม ขังมนุษย์เป็นนักโทษมีมาคู่กับสังคมมาช้านาน ดังหลักฐานภาพแสดงการจับกุม คุมขัง ผุ้กระทำผิด หรือ นักโทษ ที่ปรากฏในยุคหินเก่า (Paleolithic Period) จุดเริ่มต้นของยุคหิน นั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกิดอยู่ในช่วง 2-5 ล้านปีมาแล้ว ที่ผ่านมาผู้ทำหน้าที่ควบคุมนักโทษ เริ่มตั้งแต่ควบคุมกันเองในชนเผ่า แว่นแคว้น เมือง มลรัฐ ประเทศ ซึ่งทั้งหมดเป็นการควบคุมโดยใช้คนทำหน้าที่ในการควบคุม ผ่านวิวัฒนาการมาหลายล้านปี


Paleolithic Period


ปัจจุบันเริ่มมีแนวคิดเปลี่ยนจากการควบคุมนักโทษโดยคน มาเป็นแนวคิดในการนำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการควบคุมนักโทษ เช่น คุกเกาหลีใต้ ได้เริ่มโครงการทดสอบผู้คุมหุ่นยนต์ ในต้นปี 2012 โครงการนี้ ได้รับการผลักดันมาจากภาคเอกชนเกาหลีใต้ ที่ดำเนินงานด้านการวิจัยอาชญากรรมและนโยบายคุก ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ได้ริเริ่มโครงการหุ่นยนต์สำหรับใช้ควบคุมนักโทษ โดยจะใช้เป็นหลักสำหรับลาดตระเวนในคุก (guards) ในเวลากลางคืน ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติฉับพลัน ติดตาม และ ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร เมื่อมีนักโทษต้องการติดต่อกับผู้คุม การสังเกตพฤติกรรมของนักโทษ การวิเคราะห์ในกรณีที่มีเหตุการณ์ หรือ พฤติกรรมที่ผิดปกติ และ แจ้งให้เจ้าหน้าที่คุกทราบทันที ด้าน แนวคิด ในการพัฒนานวัตกรรม และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่คุก มี วัตถุประสงค์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่คุกได้มีเวลาแก้ไขฟื้นฟูนักโทษคืนสู่สังคม เพื่อขจัดปัญหาการปฏิบัติต่อนักโทษที่อาจกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อีกทั้งหุ่นยนต์ก็ไม่สามารถที่จะนำโทรศัพท์มือถือ ยาเสพติด หรือ สิ่งของต้องห้ามเข้าคุกได้อย่างแน่นอน แนวทาง การดำเนินงาน ทางกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนารูปแบบผู้คุมหุ่นยนต์โครงการมูลค่า 850,000 ดอลลาร์ ซึ่งจัดโดยกรมวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ในขณะนี้ (ปี 2012) การพัฒนาระบบปฏิบัติการหุ่นยนต์ใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ในช่วงระยะเวลาการทดสอบเกี่ยวกับรายละเอียดของหุ่นยนต์เพื่อให้ดูเป็นมิตรกับนักโทษมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีการนำไปใช้ในคุกเอกชนเป็นหน่วยงานนำร่อง



โดยสรุป


การควบคุมนักโทษไว้ในสถานที่คุมขัง หรือ คุก ในอดีตเริ่มแรกเป็นการคุมขังไว้เพื่อแก้แค้นทดแทนให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำ มีลักษณะเป็นระบบที่เรียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” ทั้งแก้แค้นทดแทนในกรณีที่เป็นความในทางอาญา และ ความผิดในทางแพ่ง (กฎหมาย Castilian ของสเปนในยุคกลาง) ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้มีการนำแนวคิดการลงโทษเพื่อการแก้แค้นทดแทน และ แนวคิดในการแก้ไขฟื้นฟูสมรรถภาพนักโทษให้กลับตนเป็นคนดีคืนสู่สังคม มาใช้ควบคู่กันเรียกว่า ทฤษฎีผสม มาใช้ในการปฏิบัติงาน การนำผู้คุมหุ่นยนต์มาช่วยในการควบคุมนักโทษของเกาหลีใต้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่คุก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการควบคุมและแก้ไข และ เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติต่อนักโทษที่อาจกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น โครงการผู้คุมหุ่นยนต์ จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจอีกนวัตกรรมหนึ่งของเกาหลีใต้นอกเหนือจากนวัตกรรมคุกเอกชนซึ่งได้เปิดดำเนินการไปแล้วก่อนหน้านี้


__________



อ้างอิง


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ผู้คุมหุ่นยนต์ วารสารอาชญาวิทยา เล่มที่ - / ๒๕๕๖ สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ กรมราชทัณฑ์




หมายเลขบันทึก: 604199เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2016 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท