ดร.โสภณ ห่วง ดร.สมคิด พาชาติไปสู่หายนะ


นโยบายต่าง ๆ ของ ดร.สมคิดที่นำเสนอออกมา ล้วนแต่เป็นนโยบายที่ไม่สร้างสรรค์ต่อชาติ มุ่งปั้มตัวเลขเศรษฐกิจหรือไม่ ชาติจะรุ่งเรืองหรือรุ่งริ่ง

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (www.area.co.th) ได้วิพากษ์แนวคิดเศรษฐกิจของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ไว้ดังนี้

1. ส่งเสริมให้กินเที่ยวจนเจ๊ง ไม่มีประเทศไหนที่จะกินเที่ยวจนรุ่งเรืองแน่นอน การกินเที่ยวนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีเงินเหลือใช้เป็นสำคัญ ประเภทต้องกู้มากินเที่ยว ก็คงมีเฉพาะกลุ่ม เช่น ต้องการทดแทนบุญคุณบุพการี แต่ข้อยกเว้นเหล่านี้จะถือเป็นสรณะให้ชาติเจริญไม่ได้แน่นอน ในทุกวันนี้ที่ว่ามีนักท่องเที่ยวเข้ามามาก มีรายได้มาก ทั้งที่ในสายตาของประชาชนทั่วไป จำนวนและรายได้จากการท่องเที่ยวมีไม่มากนัก จึงอาจทำให้เกิดความเคลือบแคลงว่าตัวเลขการท่องเที่ยวที่ดูดีนั้น เป็นตัวเลขที่ปั้นแต่งขึ้นมาหรือไม่

2. หาเสียงด้วยการผ่อนปรนการจัดเก็บภาษี ยังจะผ่อนคลายการจัดเก็บภาษี แทนที่จะนำภาษีมาพัฒนาประเทศ กลับพยายามจะไม่เก็บภาษี การยกเว้นภาษีต่าง ๆ นั้นมีเรื่องแอบซ่อนเร้นช่วยเหลือรายใหญ่ ๆ หรือไม่ อย่างเช่นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็หาข้ออ้างยกเว้นหยุมหยิม เพียงเพื่อให้รายใหญ่ ๆ ก็จะได้รับข้อยกเว้น หรือผ่อนผันต่างๆ ด้วยหรือไม่ เพราะภาษีประเภทนี้ ยิ่งเก็บยิ่งดีกับส่วนรวม ยิ่งให้ ยิ่งได้แก่ทุกคน แต่เราพยายามช่วยเหลือเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ ไม่ให้ต้องเสียภาษีด้วยการยืดเวลาออกไป เที่ยวลดหย่อนสารพัดหรือไม่

3. สมคบกับรายใหญ่ๆ สร้างบ้านประชารัฐ ทั้งที่ความต้องการซื้อบ้านราคาถูก ๆ ก็ไม่มีในตลาด ราคาบ้านก็ไม่ได้ขึ้นสูงเกินกว่าที่จะซื้อได้ ราคาวัสดุก่อสร้างก็กลับลดลงราว 6% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวนบ้านว่างก็ยังมากมายนับแสน ไม่ต้อสร้างใหม่ก็ได้ แต่ ดร.สมคิดก็ยังพยายามจะสร้างบ้านประชารัฐ โดยร่วมกับรายใหญ่ ๆ แทนที่จะส่งเสริม SMEs พยายามกระจายความเสี่ยงของผู้ประกอบการให้ประชาชนไปหาซื้อบ้าน รับความเสี่ยงแทน ทั้งที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ก็ได้กำไรมหาศาลในแต่ละปีอยู่แล้ว การกระทำแบบนี้จะสร้างความรุ่งเรืองหรือรุ่งริ่งให้กับประเทศชาติกันแน่

4. ไม่ยอมส่งเสริมรายเล็ก รายน้อย ดร.โสภณเคยเสนอว่า แทนที่รัฐบาลเอาเงินตั้ง 70,000 ล้านบาทไปใช้ทำโครงการบ้านประชารัฐทั้งที่งบประมาณแผ่นดินเหลือน้อยเต็มทน รัฐบาลน่าจะทำหนทางง่าย ๆ อย่างหนึ่งก็คือการส่งเสริมการซื้อบ้านมือสองซึ่งเป็นบ้านที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องเสียต้นทุนในการผลิตใหม่ โดยประกาศให้ผู้ที่มีบ้านที่จะขายในราคาถูก (ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท) ที่อาจเป็นทั้งผู้ประกอบการที่มีหน่วยขายเหลืออยู่น้อย ไม่มีงบประมาณในการโฆษณา หรือประชาชนทั่วไปผู้มีบ้านหรือห้องชุดเป็นของตนเอง และให้ผู้สนใจขายบ้านลงทะเบียนไว้กับทางราชการ ให้ประเมินราคาให้เรียบร้อยว่าไม่ผิดราคาแน่ แล้วให้ใช้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฯลฯ ให้ผู้จะขายรายย่อยตั้งโต๊ะขายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มาขายโดยตรง แบบนี้รัฐบาลแทบไม่เสียเงินสักบาท แต่รัฐบาลกลับไมยอมดำเนินการ

อาจต้องถึงเวลาเปลี่ยนตัวทีมเศรษฐกิจเพื่อชาติหรือยัง

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย ([email protected]) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

2010 Copyright © by area.co.th All Rights Reserved
หมายเลขบันทึก: 604175เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2016 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2016 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท