วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

การปลูกฟักทองเงินล้านระบบน้ำหยดบ้านโพนเมืองอำเภออาจสามารถร้อยเอ็ด


การปลูกฟักทองเงินล้านระบบน้ำหยดบ้านโพนเมืองอำเภออาจสามารถร้อยเอ็ด

วันนี้เดินทางผ่าน พื้นที่ตำบลโพนเมือง พบเกษตรกรกำลังก้มๆเงยในแปลงปลูกฟักทอง ระบบน้ำหยด แวะพูดคุย ทักทายเพื่อให้กำลังใจและสอบถาม “เรื่องการปลูกฟักทองระบบน้ำหยด” เกษตรกรทำได้และเกิดรายได้อย่างมั่นคงยั่งยืน พืชใช้น้ำน้อย 500-600 ลบ.เมตร

นายสำราญ-นางดวงพร ตากแดดหัวโทน สามี-ภรรยาวัย 43 ปี บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 2 บ้านโพนเมือง ตำบลโพนเมือง อำเภออาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด โทร..61-0807451 หรือ 085-9288330 เล่าให้ฟังว่า ตนเองปลูกฟักทอง ทองอำไพ และพันธุ์ประกายเพชร ฟักทองเป็นพืชตระกูลเดียวกับแตง เป็นผักที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แทบทุกส่วนของฟักทองสามารถนำมาใช้บริโภคเป็นอาหารได้ นอกจากนั้นยังนำมาทำของหวานได้ด้วย ฟักทองมีลำต้นเลื้อย จึงต้องการพื้นที่ในการเพาะปลูกมาก มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน คนละดอก ใช้แมลงเป็นตัวช่วยผสมละอองเกสร สามีภรรยา 2 คนนี้ช่วยในการผสมให้ติดผลได้มากขึ้น

นายสำราญ-นางดวงพร ตากแดดหัวโทน กล่าวว่า ตอนแรกตนเองปลูกฟักทองจำนวน 0-2-0 ไร่ ขายได้เงิน 23,000 บาท ไร่ละ 3,000-5,000 ก.ก.ราคาขาย ตามกลไกตลาด 10-15 บาท/ก.ก.ชาวสวนฟักทองมีความสุขมาก ตนเองขยายพื้นที่ปลูก 5 ไร่ รอบแรกเจอลมหนาว ยอดหดใบยุบ ไถกลบปลูกใหม่ กำลังออกดอก ผสมเกศร อีประมาณ สิ้นเดือนเมษายน 2559 เก็บผลผลิต เกษตรที่นี่ประมาณ 25 คนร่วมกันปลูกคนละ 5-6 ไร่ ประมาณ 100 ไร่ ลงทุนตอนแระ ซื้อท่อพลาสล่อน และสายยางอ่อนระบบน้ำหยด 25,000 บาท วางท่อพลาสล่อนขนาด 4 นิ้ว ตาวความยาวของสวน เชื่อมต่อสายยางอ่อน ตามแนวแปลงปลูกฟักทอง ให้น้ำจากบ่อบาดาล หรือบ่อน้ำต้น ตนเองเคยทำนาข้าว นาปรัง ใช้น้ำ 1,600 ลบ.เมตร ปลูกฟักทองใช้น้ำ 500-600 ลบ.เมตร การให้ปุ๋ย ให้ตามสายยางระบบน้ำหยด 7-10 วัน/ครั้ง ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ลำต้นเมื่อโตเป็นเถาว์เลื้อย แตกแขนงมาก มีแขนงมากให้ผลแขนงละ 1-2 ผล

นายสำราญ ตากแดดหัวโทน เล่าต่อไปว่า ได้รับคำแนะนำจาก นายทองใบ สินโท เกษตรอำเภออาจสามารถ เรื่อง การเตรียมปลูกและการปลูกฟักทอง ฟักทองเป็นผักที่ชอบอากาศร้อน ช่วงอากาศเย็นอัตราการเจริญเติบโตจะลดลงหรืออาจไม่ได้ผลผลิต อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส บ้านโพนเมืองปลูกได้ดีที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และสามารถปลูกได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคม ฟักทองชอบดินร่วนทราย ชอบอากาศแห้ง แต่ต้องมีความชื้นในดินพอเพียง และต้องการแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวัน

การเตรียมดินในการปลูกนั้นควรเตรียมดินโดยการขุดไถให้ลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร และในการย่อยดินควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วลงไปด้วยโดยใช้อัตรา 2-4 ตัน / ไร่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ดินนั้นร่วนซุยและทำให้ดินสามารถระบายน้ำได้ดี อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักบางส่วนควรนำมาใส่รองก้นหลุมตอนปลูก และถ้าหากดินนั้นเคยใช้เพาะปลูกมานานควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด้วย

การปลูกนั้นนิยมปลูกแบบหยอดเมล็ดเป็นหลุมลงในแปลงปลูกเลย โดยหยอดหลุมละ 3-5 เมล็ด ลึงลงในดินประมาณ 2.5-5เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยฟาง เพื่อรักษาความชื้นของผิวหน้าดิน เมื่อต้นฟังทองงอกมีใบจริงแล้ว 2-3 ใบ ให้ทำการถอนต้นที่อ่อนแอทั้งไปให้เหลือหลุมละ 1 ต้นเท่านั้น ส่วนระยะห่างระหว่างต้นในการปลูกนั้น ควรพิจารณาว่าเป็นฟักทองประเภทใด หากเป็นพวกเถาเลื้อยจะใช้ระยะห่างประมาณ 1.5 เมตร โดยอาจปลูกบนร่องเป็นร่องละแถว หรือร่องละ 2 แถวก็ได้ ในพวกลำต้นเป็นพุ่ม ใช้ระยะห่างประมาณ 0.75-1.5 เมตร ปลูกร่องละ 2 แถว หรือแถวเดียวก็ได้เช่นกัน

การดูแลรักษาฟักทอง

การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในการเตรียมดินในอัตราที่สูง ในระยะแรกงของการเจริญเติบโตควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมไนเตรด ในอัตราประมาณ 10-15 กิโลกรัม / ไร่ โดยจะใส่เมื่อต้นฟักทองอายุ 10-14 วันหลังจากงอก ปุ๋ยผสมสูตร 14-14-21 ใส่ในแปลงปลูกในอัตรา 100-150 กิโลกรัม / ไร่ ควรแบ่งปุ๋ยผสมนี้ใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือให้ใส่ตอนที่ฟังทองมีอายุได้ 21-25 วัน โดยให้แบบละลายน้ำผ่านสายยางระบบน้ำหยด เพราะที่นี่เป็นการปลูกฟักทองระบบน้ำหยด ในระยะออกดอกและติดผลต้องระวังมิให้ขาดน้ำได้ ใบฟักทองจะไม่เปียกน้ำ การพรวนดินและการจำกัดวัชพืชนั้น ให้ทำในตอนที่ยังต้นเล็กอยู่และควรทำอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อฟังทองเริ่มเลื้อยคลุมดินแล้วจะไม่มีวัชพืชขึ้น ซึ่งก็ไม่จำเป็นต้องพรวนดินอีกต่อไป

การเก็บเกี่ยวฟักทอง

การเก็บเกี่ยวนั้นสามารถเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุได้ 120-180 วัน ในการเก็บนั้นถ้าต้องการเก็บแบบเป็นผลอ่อน สามารถทำการเก็บได้โดยการสังเกตว่าผลมีเปลือกนิ่มหรือแข็ง ถ้าอ่อนผิวจะนิ่ม เนื้อภายในจะนุ่มๆ ผิวของผลจะเป็นสีเขียว ส่วนถ้าเก็บแบบผลแก่ ต้องเก็บในตอนที่ผลแก่จัดเต็มที่ ซึ่งผลที่แก่จัดจะมีเปลือกที่แข็ง การเก็บผลแก่นั้นจะเก็บแบบให้เหลือเถาของผลติดมาด้วย โดยเหลือเถาให้ยาว 7-10เซนติเมตร ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลที่แก่อยู่ได้นานนั้นเอง

***วัชรินทร์ เขจรวงศ์/รายงาน

20 ไฟล์แนบ

หมายเลขบันทึก: 603734เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2016 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2016 09:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท