วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ปลูกมะละกอแซมยางพารางานสร้างเงินล้านก่อนเปิดกรีดยางพารา ****วัชรินทร์ เขจรวงศ์ รายงาน


ปลูกมะละกอแซมยางพารางานสร้างเงินล้านก่อนเปิดกรีดยางพารา


ยางพาราไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของเกษตรกรมืออาชีพ วันเริ่มปลูก ต้นทุนการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ เงิน เงิน เงิน ทั้งนั้น นับไปอีก 7 ปี ที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้นทุนนอนไปยาวๆมากๆ ระยะเวลา 0-7 ปี ต้องดูแลรักษา ให้ปุ๋ย ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช จึงเป็นที่มา ของ “พ่อปลูก ลูกกรีด หลานรวย” คืออายุไม่ยืน “ตายก่อนกรีดยางพารา

มาวันนี้ รัฐบาล โดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องหันมาอุ้มชูราคายางพารา จาก 4 ก.ก.100 บาท เป็น 5 ก.ก. 100 บาท หรือกิโลกรัมละ 13 บาท เวรกรรมประเทศไทย คนไทยชอบนำสำนวนไทยมาใช้ประจำ คือ “วัวหายล้อมคอก” หรือ “ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา” คนมีที่ดิน 5-10 ไร่ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง คือปลูกยางพาราตามเขา ไม่คำนึงว่า 7 ปีก่อนกรีดยางพารา จะกินอะไร ลูกยังเล็ก เมียยังเด็ก ยางพาราโตช้าๆ ส่วนลูกโตวันโตคือ ลูกเข้าโรงเรียน ยังไม่มีทีท่าว่ายางพาราจะเปิดกรีด พอถึงเวลา จะกรีดอย่างไร รีดยางอย่างไร ยังทำไม่เป็น สุดท้ายจะไปขายที่ไหน ราคายางมันตกต่ำ ไม่ใช่เวรกรรมประเทศไทย แต่เป็นเวรกรรมเกษตรกรครับ

ป่ายางพาราที่เกิดขึ้นใหม่ จำนวนมาก เราลดพื้นที่ป่ายางพาราไม่ได้ แต่จำกัดป่ายางพาราได้เพราะเกษตรกร เริ่มหยุดการปลูกยางพาราเอง ครับ นักส่งเสริมการเกษตร มิตรแท้เกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ต้องให้ความร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทย โดย การส่งเสริมการปลูกพืชแซมยางพารา ในพื้นที่ดินที่มีความจำกัดค่อนข้างสูงมาก ฝนแล้ง แมลงกิน ดินไม่ดี ที่ลาดสูงชัน ภูเขา แต่มันไม่ใช่ปัญหาของนักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ จากสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด ที่เรียกว่า “เกษตรตำบล” หรือโก้ขึ้นมาหน่อย “นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร” ประจำตำบล

มาวันนี้ คณะกรรมการฯระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เกษตรจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการฯ ประชุมกันหน้าดำคร่ำเครียด เพราะต้องแก้ปัญหาให้เกษตรกรให้ได้ ตามนโยบายของรัฐบาล คือแบบว่า “นโยบายอยู่เหนือเหตุผลนั่นเอง” ใครจะทำไม

ข้อคิดเห็นหรือข้อพิจารณา มุ่งเน้นให้เกษตรกร ปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ระบบน้ำหยด ตามร่องแปลงยางพารา ฟัก แฟง หอมแบ่ง แตงร้าน ฟักทอง ข้าวโพด มันสำปะหลัง มะละกอ แม้แต่กล้วยยังสามารถ ทำได้ นอกจากนั้น ให้เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ปี เป็ด ไก่ ห่าน นกกระทา สัตว์ เล็ก แพะ แกะ สุกร เลี้ยงปลาในวงบ่อซีเมนต์

ตัวอย่างการปลูกมะละกอแซมยางพารา พื้นที่เป็นแปลงยกร่อง ระยะห่างระหว่างร่อง 6 เมตร (สำหรับปลูกยาง)จึงปลูกมะละกอ 1.5 ×2×6 เมตร 6 เมตรคือระหว่างร่องที่มีน้ำนั่นแหละเฉลี่ยอยู่ที่ 250 หลุม/ไร่ หลุมละ 3-4ต้น เพื่อคัดเพศ ใช้พันธุ์ แขกดำเนื้อแดง 70%ที่เหลือแขกนวลเนื้อเหลืองตามสเป็กโรงงานซ็อสสายพันธุ์นี้ลูกโตมาก 3-6 ก.ก./ผล เกษตรกรที่ทำอยู่ 7 ไร่เก็บอาทิตย์ละสี่ตันตอนนี้ราคาโรงงานอยู่ที่ 13 บาทเดือนเเรกคืนทุนเลย ต้นทุนอยู่ที่ 25,000 บาท/ไร่ ระยะเวลาเริ่มเก็บผลผลิตอยู่ที่ 6-7 เดือน แล้วแต่ความสมบูรณ์และการดูแลที่ดีเริ่มออกดอกอายุ 2 เดือนค่อนข้างเร็ว .ใช้ระบบน้ำหยด

ส่วนมันสำปะหลังและข่า แซมร่องยางพารา ปลูกเป็นแถวยาวตามร่องแปลงยางพารา ให้นำระบบน้ำหยด เป็นแบบยกร่อง จะดีที่สุด งานนี้ นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ ต้อง ร่วมด้วย ช่วยคิด อย่างจริงจัง แวะไปปรึกษาได้ครับ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน ที่สำคัญรัฐบาลต้อง จัดสรรงบประมาณ ลงมาตามระบบ อย่าให้ออกทำงานแบบมือเปล่า “หรือเป็นเป็นเสือไร้เขี้ยวเล็บ” มันจะสู้เขาได้อย่างไร ทำเป็นแปลงนำร่อง ทุกพื้นที่ ทุกอำเภอ งานนี้ได้ใจเกษตรกร ได้ผลงานเยี่ยมยอดครับ

****วัชรินทร์ เขจรวงศ์ รายงาน

หมายเลขบันทึก: 603732เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2016 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2016 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท