คณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board)


คณะกรรมการพักการลงโทษของแคนาดา (Parole Board of Canada) เป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด และ มีอิสระ ในการพิจารณาอนุมัติให้พักการลงโทษภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ หากผู้ได้รับพักการลงโทษ ประพฤติผิดเงื่อนไข คณะกรรมการฯ อาจเพิกถอนการพักการลงโทษ และ ส่งตัวกลับไปยังคุก.............................ง

การพักการลงโทษ (Parole) หมายถึง การปล่อยตัวนักโทษภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ โดยคณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) ของกรมราชทัณฑ์แคนาดา โดยถือว่าเงื่อนไข ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของโทษจำคุก หากผู้ได้รับพักการลงโทษ ประพฤติผิดเงื่อนไขการพักการลงโทษ หรือ เงื่อนไขการคุมประพฤติ คณะกรรมการฯ อาจเพิกถอนการพักการลงโทษ และ ส่งตัวกลับไปยังคุก



คณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) หมายถึง คณะกรรมการพักการลงโทษของแคนาดา (Parole Board of Canada) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน ๖๐ คน ที่ได้รับการตั้งตั้งจาก GIC โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะและการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปี และ อาจต่ออายุได้อีกไม่เกิน ๓ ปี และ GIC จะแต่งตั้งประธาน ๑ คน และ รองประธาน โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีฯ สมาชิกแต่ละคนจะเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง นอกจากนั้น คณะกรรมการฯ ยังประกอบด้วยคณะกรรมการกองอุทธรณ์ และ คณะกรรมการฯ บริหาร ซึ่งคณะกรรมการฯ เป็นผู้อำนาจสิทธิ์ขาด และ อิสระแต่เพียงผู้เดียว ในการพิจารณาปล่อยตัวนักโทษภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติที่คณะกรรมการฯ กำหนด หากผู้ได้รับพักการลงโทษ ประพฤติผิดเงื่อนไข คณะกรรมการฯ มีสิทธิ์เพิกถอนการพักการลงโทษ และ ส่งตัวกลับไปยังคุก

รูปแบบการพักการลงโทษ ของกรมราชทัณฑ์แคนาดา (Correctional Service Cannada) หรือ CSC มี ๒ รูปแบบ คือ การพักการลงโทษแบบเต็มวัน (Full Parole) และ การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole)

หลักเกณฑ์การพักการลงโทษ

- หลักเกณฑ์การพักการลงโทษแบบเต็มวัน (Full Parole) ผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ (ยกเว้นความผิดเกี่ยวกับชีวิต หรือ ข้อหาฆาตกรรม) มีสิทธิ์ได้รับการพักการลงโทษเต็มรูปแบบหลังจากที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของของโทษจำคุกที่ได้รับ หรือ ได้รับโทษจำคุกมาแล้วเป็นเวลาเจ็ดปี และ ผู้ที่กระทำผิดในข้อหาความผิดเกี่ยวกับชีวิต หรือ ข้อหาฆาตกรรม มีสิทธิ์ได้รับพักการลงโทษ ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วเป็นเวลา 25 ปี เป็นต้น

- หลักเกณฑ์การพักการลงโทษในเวลากลางวัน (Day Parole) ผู้ที่กระทำผิดที่ได้รับโทษจำคุกสามปี มีสิทธิ์ได้รับพักการลงโทษภายหลังจากที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือนของโทษจำคุกที่ได้รับ และ ผู้ที่กระทำผิดที่ได้รับโทษจำคุกสองปี มีสิทธิ์ได้รับพักการลงโทษภายหลังจากที่ได้รับโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งในหกของโทษจำคุกที่ได้รับ เป็นต้น

เงื่อนไขการพักการลงโทษ

- เงื่อนไขด้านความปลอดภัยของประชาชน เป็นหลักสำคัญในการพิจารณาประเมินความเสี่ยงพักการลงโทษของคณะกรรมการพักการลงโทษ

- เงื่อนไขปกติและเงื่อนไขพิเศษ คณะกรรมการพักการลงโทษสามารถกำหนดเงื่อนไขปกติ เช่น การกำหนดให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่พักการลงโทษของกรมราชทัณฑ์แคนาดา หรือ เจ้าพนักงานตำรวจ และ เงื่อนไขพิเศษ เช่น การละเว้นจากการใช้ยาเสพติด หรือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การให้อาศัยอยู่ในบ้านกึ่งวิถี (Halfway house)

แนวทางการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานโดยคณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) ตามพระราชบัญญัติ (CCRA) โดยในการพิจารณา และ การประเมินความเสี่ยงที่เอื้อต่อความปลอดภัยสาธารณะ หรือ ความปลอดภัยของประชาชน คณะกรรมการฯ จะใช้ข้อมูลพื้นฐานของกรมราชทัณฑ์แคนาดา เจ้าหน้าที่ชุมชน (community staff) และ ข้อมูลจากเหยื่อผู้ได้รับผลกระทบ และ เชื่อว่าผู้กระทำผิดจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และ เป็นอันตรายกับสังคมชุมชน และ จะปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ทางคณะกรรมการฯ กำหนด เช่น การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่พักการลงโทษของกรมราชทัณฑ์แคนาดา หรือ เจ้าพนักงานตำรวจ

วัตถุประสงค์ของการพักการลงโทษ มีวัตถุประสงค์เพื่อการปล่อยตัวนักโทษคืนสู่สังคม ชุมชน หรือ ครอบครัว ในฐานะพลเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับคืนสู่สังคมชุมชน หรือ ครอบครัว เพื่อลดการกระทำความผิดซ้ำ

ผลการดำเนินงาน

จากข้อมูลผู้กระทำผิดซึ่งได้รับพักการลงโทษในรอบ ๑๐ ปี พบว่า 93% ผู้กระทำผิดที่ได้รับการพักการลงโทษโดยคณะกรรมการพักการลงโทษ PBC ไม่ได้กระทำความผิดใหม่ในขณะที่พักการลงโทษ และ 99% ยังไม่ได้กระทำความผิดรุนแรงใหม่ในขณะที่พักการลงโทษ


Parole Board of Canada


โดยสรุป

นักโทษของเรือนจำแคนาดา มีสิทธิ์ได้รับพักการลงโทษทุกคน เมื่อได้จำคุกครบกำหนดระยะเวลาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และ ผ่าน การประเมินความเสี่ยงถึงผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและสังคมซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญของการพักการลงโทษ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อการปล่อยตัวนักโทษคืนสู่สังคมในฐานะพลเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยคณะกรรมการพักการลงโทษ (Parole Board) ของแคนาดาเป็นผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด และ มีอำนาจอิสระ แต่เพียงผู้เดียวในการพิจารณาอนุมัติให้พักการลงโทษภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติที่คณะกรรมการฯ กำหนด เช่น เงื่อนไขการไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่พักการลงโทษ หรือ เจ้าพนักงานตำรวจ เงื่อนไขให้ละเว้นจากการใช้ยาเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ ให้อาศัยอยู่ในบ้านกึ่งวิถี (Halfway house) หากผู้ได้รับพักการลงโทษ ประพฤติผิดเงื่อนไขการพักการลงโทษ หรือ เงื่อนไขการคุมประพฤติ คณะกรรมการฯ อาจเพิกถอนการพักการลงโทษ และ ส่งตัวกลับไปยังคุก ด้านผลการดำเนินงาน พบว่า ผู้กระทำความผิดที่ได้รับพักการลงโทษปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้น และ มีอัตราการกระทำผิดซ้ำลดลง


.....................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙



อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://pbc-clcc.gc.ca/infocntr/parolec/2011-08-02/...

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://pbc-clcc.gc.ca/prdons/pardon-eng.shtml และ เว็บไซต์

http://ncsa.libguides.com/parole




หมายเลขบันทึก: 603671เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2016 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท