จากการพัฒนาสู่การเรียนรู้



วันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ผมไปร่วม เวทีการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยที่มี ศ. นพ. ประเวศ วะสี นั่งหัวโต๊ะ และเชิญ PPPPP เพื่อการพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาประเทศมาร่วมกัน ลปรร. โดยมีกรณีศึกษา ๓ เรื่อง จากเชียงราย ประจวบฯ และลำพูน

PPPPP ย่อมาจาก Public – private – professional – people partnership

คุณกิตติ ทิศสกุล นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย เล่าเรื่อง โครงการอาหารปลอดภัย เชียงรายเป็นสุข (http://www.gnetwork.co.th/ข่าวสาร-ดู-17-ความเป็นมาของโครงการอาหารปลอดภัย%20เชียงรายเป็นสุข) ที่เชื่อมโยงภาคการผลิตหรือเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ เป็นเครือข่าย เชื่อมกับฝ่ายบริโภค และเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยว เป็นโครงการที่รับทุนจาก สสส. ๓ ปี ปีละเกือบ ๑๐ ล้าน และถูกตรวจสอบมาก โดยที่จริงๆ แล้ว ท่านทำงานเรื่องนี้มาก่อนรับทุนจาก สสส. และมีความร่วมมือกับ มรภ. เชียงรายในหลากหลายด้าน มาตั้งแต่ต้น

คุณตติย อัครวานิชตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์โอท็อป จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เล่าเรื่อง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อ. หัวหิน กรมการพัฒนาชุมชน ที่ใช้เงินของตนเอง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการตลาดของสินค้าชุมชน หรือโอท็อป เชื่อมโยงเป็นแบรนด์จังหวัดประจวบฯ รูปสัปปะรด มีศูนย์จำหน่ายที่หัวหิน ๑ ที่ และที่มะริด ประเทศเมียนมาร์ ๒ ที่ ฟังคุณตติยแล้ว ผมนึกถึงเรื่อง OVOP ที่เล่าไว้ ที่นี่

คุณขยัน วิพรหมชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอุโมงค์ อ. สารภี จ. ลำพูน เล่าเรื่อง การทำงานของเทศบาลตำบลอุโมงค์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน เทศบาลตำบลอุโมงค์เป็น อปท. ต้นแบบ ตาม ลิ้งค์นี้

ผมกลับมาไตร่ตรองที่บ้าน ว่ากิจการทั้งสามแบบ สามารถเชื่อมโยงนักศึกษา นักเรียน ครู อาจารย์ เข้าไปร่วมสร้างสรรค์ได้มากมายหลากหลายแบบ



วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.พ. ๕๙


คำสำคัญ (Tags): #590316#การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 603546เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2016 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2016 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท