จากขอบฟ้าใหม่สู่การไหลของความรู้อย่างไม่รู้ตัว R2R


ข้าพเจ้าได้รับความเมตตาจากท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มอบหนังสือ..."ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้"...เป็นหนังสือที่ข้าพเจ้าบรรจงอ่านด้วยความละเมียดละไม...

ได้เกิดตัวรู้ในตนเองเกิดขึ้นว่า

"R2R ควรจะเป็นปรากฎการณ์การไหลของความรู้อย่างไม่รู้ตัว ไม่เป็นภาระที่เจือปนความสนุก"...

ขับเคลื่อนไปบนฐาน KM 3.0

เมื่อมองดูแนวคิดการขับเคลื่อน R2R อยู่บนพื้นฐานเครื่องมือที่นำมาช่วยคนทำงานให้คลายทุกข์จากการทำงาน ดังนั้นปรากฎการณ์ของการทำ R2R ต้องไม่ใช่การไปเพิ่มภาระหรือความกดดันให้กับคนหน้างาน ซึ่งประเด็นนี้คุณอำนวย(R2R Facilitator)ต้องใคร่ครวญและทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งและรอบด้าน บางครั้งเราไปมุ่งเอาผลลัพธ์ของการทำวิจัยมาก จน R2R กลายเป็นเรื่องการเบียดเบียนและเพิ่มความทุกข์ใจให้กับคนหน้างาน

แต่บนวิถีของการขับเคลื่อนไม่ได้หมายถึงความย่อหย่อนในเชิงความรู้ วิชาการหรือความมักง่าย แต่กระบวนการหรือวิธีการของการจัดการเรียนรู้ต้องให้ความรู้สึกถึงความง่ายงามและเป็นอิสระจากความบีบคั้นกดดัน คุณอำนวยทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรที่คอยเอื้อเฟื้อสนับสนุนและเกื้อกูลการขับเคลื่อนไปได้

ที่สุดของการทำ R2R จะต้องเกิดปัญญาและมีความเบิกบานในจิตใจ

สนุกและมีพลังที่จะทำต่อไปอย่างมิรู้จบ "สนุก ใคร่รู้และอยากทำ"...แล้วคนทำงานจะเกิดความรู้สึกว่า การทำงานในแต่ละวันมีคุณค่าและมีความหมาย

จากในหนังสือ พูดถึงเครื่องมือ IT ยุค 2.0

ข้าพเจ้าเลยย้อนกลับมามองเครื่องมือที่ใช้บ่อยในการทำกระบวนการและการขับเคลื่อน R2R มันเป็นเรื่องที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะยุติการใช้ IT ถ้าทำเช่นนั้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนจะได้เพียงกลุ่มเล็กๆ ในความเป็นจริงของชีวิตสำหรับเรื่อง IT เราสามารถรู้เท่าทันและหยิบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

หลายครั้งในการทำกระบวนการข้าพเจ้าให้ผู้เรียนสืบค้น Literature Review ผ่านมือถือ ดูเหมือนจะสนุกกว่าการสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ก เพราะให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นทางการมาก และดูเหมือนว่าผู้คนจะคุ้นชินกับการเขี่ยหน้าจอสมาร์ทโฟน...

และทุกครั้งของการจัดกระบวนการเรียนรู้ข้าพเจ้ามักจะมีกระบวนการ Reflection สะท้อนข้อมูลกลับสู่ผู้เรียนอันเป็นบทสรุปของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น บางครั้งอาจจะเป็น Mind Mapping คลิปวีดีโอสั้นๆ ...

สิ่งที่ยังขาดหายไปและน่าสนใจที่จะทำเพิ่มคือ การตีความ การให้ความหมาย และการสังเคราะห์ความรู้ที่เกิดขึ้น...นี่เป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับข้าพเจ้า

จำได้ว่าในเวที HA Forum ครั้งที่ 17 อ.โจ(อ.จิตติ อาพิบูลย์ จาก มจธ.บางมด) เน้นความต่างของ KM 3.0 ว่าต้องสะท้อนกลับในช่วงเวลานั้นๆ ข้าพเจ้ามองตนเองว่าได้สะท้อนข้อมูลคืนกลับผ่าน IT แต่ยังไม่ชัดทั้งในแง่ห้วงเวลาและการสังเคราะห์ข้อมูล/ความรู้

...

๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

คำสำคัญ (Tags): #dialoguebook#r2r#km#ha#haforum17
หมายเลขบันทึก: 603389เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2016 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2016 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตามอ่านทุกครั้ง ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเสมอค่ะ

สะท้อนกลับอย่างสนุกแลเบิกบาน

ขอบพระคุณค่ะ...ขณะเขียนสะท้อนกลับในห้วงเวลานั้นก็เปี่ยมไปด้วยพลังค่ะ

...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท