พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลงใน "ภาวะสมองเสื่อมในเด็กและวันรุ่น" สู่การฟื้นคืนสุขภาวะทางสังคมไทย


"พลังการเรียนรู้ สร้างสรรค์ สู่การเปลี่ยนแปลงใน ภาวะโรคสมองเสื่อมในเด็กและวัยรุ่น สู่การฟื้นคืนสุภาวะทางสังคมไทย"


เมื่อกล่าวถึง "โรคสมองเสื่อม" หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นโรคที่พบได้เฉพาะในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ที่จริงโรคที่สามารถพบได้ในเด็กและวัยรุ่นได้ด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต กิจกรรมการเล่นและการศึกษาซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย

ที่มา:http://www.medicinen.com

  1. โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่พบได้ในมากในผู้สูงอายุประมาณร้อยละ 2-4 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และเพิ่มสูงขึ้นตามอายุโดยเฉพาะภาพหลังอายุ 75 ปี โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 20

"โรคสมองเสื่อมในเด็กและวัยรุ่น เป็นโรคที่ยังพบได้น้อยมากในประเทศไทย ยังไม่มีผู้ศึกษาอุบัติการณ์ที่แน่นอน โดยสาเหตุหลักๆที่พบคือ

  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ (head trauma) เป็นสาเหตุสำคัญที่พบได้มากที่สุดในเด็กและวัยรุ่น
  • Huntington's disease (juvenile type) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสมอง โดยจากรายงานพบว่า ร้อยละ 50 ของบุตรที่คลอดจากมารดาที่เป็นมีโอกาสเป็นโรคนี้ด้วย
  • Wilson's disease เป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจาการความบกพร่องของระบบเมตาบอลิซึมของธาตุทองแดงในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยรแปลงที่ตับและสมองส่วนต่างกลางทำให้ส่งผลต่อภาวะสมองเสื่อม โดยพบว่าเด็กที่มีสาเหตุมาจากโรคนี้จะเสียชีวิตก่อน 4 ปี
  • Subacute sclerosing panencephalitis(SSPE) เป็นภาวะกึ่งสมองอักเสบซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนในมารดาที่เป็นโรคหัดขณะตั้งครรภ์ สาเหตุนี้พบได้น้อยมากในประเทศไทย
  • การใช้สารเสพติด โดยเฉพาะสารระเหย
  • โรคเอดส์

หลักการวินิจฉัยโรค

ลักษณะทางคลินิกในเด็กโตและวัยรุ่นมีดังต่อไปนี้

♢ มีความบกพร่องของการรับรู้การเข้าใจหลายอย่างโดยมีอาการดังต่อไปนี้ครบทั้ง 2 ข้อ

1. ความจำเสื่อม โดยผู้ป่วยมีอาการดังนี้

• ไม่สามารถจำเรื่องราวใหม่ๆได้

• ลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น

• ลืมเรื่องราวในอดีต

2. มีอาการซึ่งบ่งบอกว่าความรู้ความเข้าใจเสียโดยมีอาการดังนี้

• Aphasia ความสามารถในการใช้ภาษาพูด

เสีย


• Apraxia ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายได้ แม้ว่ากล้ามเนื้อและประสาทการรับรู้ปกติ

• Agnosia ผู้ป่วยไม่ทราบว่าสิ่งที่มองเห็น ได้ยิน หรือสัมผัสเป็นอะไร

• Executive Function ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ตวามคิดแบบนามธรรมไม่สามารถวางแผนการทำงาน ขาดการริเริ่ม และขาดการควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

♢ อาการดังกล่าวมีผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาทางด้านอาชีพ หรือ กิจกรรมเกี่ยวกับสังคม และแสดงว่าประสิทธิภาพของผู้ป่วยลดลงจากเดิม

อาการร่วมและผบกระทบต่อกิจกรรมการดำเนินชีวต

แบ่งอาการและการผลกระทบส่งผลกระทบได้ 3 ด้านหลักๆคือ

  1. ด้านร่างกาย เช่นไม่สามารถมองเห็นภาพ 3 มิติ,บางรายมีปัญหาเกี่ยวกับการเดิน ส่งผลกระทบต่อ >>การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง, การเรียน/การทำงาน, การเล่น
  2. ด้านความรู้ความเข้าใจ เช่น ไม่สามารถคิดเลขได้, ขาดการวางแผนอย่างมีเหตุผล ไม่รอยคอยและระมัดระวังความปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อ >> การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตขั้นสูง, การเรียน/การทำงาน
  3. ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรม เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยขาดการควบคุม และมีอาการทางจิตเวช เช่น วิตกกังวล, ซึมเศร้า มีอาการเพ้อ นอนไม่หลับ ส่งผลกระทบต่อ >> การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานและขั้นสูง, การสื่อสารกับผู้อื่น, การเล่น

เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางกิจกรรมบำบัดได้ดังนี้

ดิฉันหวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นแนวทางในการในความช่วยเหลือผู้รับบริการเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะสมองเสื่อมค่ะ

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603323เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2016 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2016 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท