​การเรียนรู้ กับการเสี่ยงดวง เหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร


การเรียนรู้ กับการเสี่ยงดวง เหมือนกัน หรือ ต่างกันอย่างไร

***********************
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมได้ทุ่มเทพลังงานและทรัพยากรที่มี อย่างสุดความสามารถ ที่จะหาคนมาร่วมเรียนรู้หลักการแยกแท้-เก๊ ของพระเครื่องเนื้อต่างๆ
เพราะผมก็กำลังเรียนเหมือนกัน มิได้มีความรู้ครบถ้วนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ที่เป็นจุดกำเนิดของ "กลุ่มเรียนรู้การดูพระแท้" มิใช่ "กลุ่มผู้รู้ การดูพระแท้" แต่อย่างใดทั้งสิ้น

ทั้งนี้ เพราะ ตัวผมเองก็กำลังเรียน และเห็นความสำคัญของการมีผู้ร่วมเรียนรู้ ก็เพื่อที่จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ และเกิดได้รวดเร็วขึ้น และ ลดอัตราเสี่ยงในการเดินตลาดพระ ให้เสี่ยงน้อย และพลาดน้อยที่สุด

แต่แม้จะพยายามขนาดไหน ก็ยังหาคนมาร่วมเรียนยากมากๆ ส่วนใหญ่จะมาดูและจำไปใช้มากกว่า คนที่ตั้งใจเรียนรู้จริงๆมีไม่เกิน 20ท่าน

จึงเป็นที่สงสัยว่า น่าจะมาจากความสับสนอยูใน 2 คำ

คือ การเรียน กับการเสี่ยงดวง ที่บางท่านอาจจะนำมาปะปนกัน ทำให้ "ไม่กล้า" เรียน
เพราะอาจจะถือว่า การเรียนรู้ เป็นการ "เสี่ยง"
ทั้งๆที่การเรียนรู้ คือวิธีเดียวที่จะนำไปสู่การ "ลดอัตราเสี่ยง"
และ การเสี่ยงทั้งหลาย เกิดจากการ "ไม่เรียน" เท่านั้นเอง

ดังนั้น เพื่อสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้
ผมจึงต้องแสดงผลการเรียนรู้ให้เห็นทุกวัน เพื่อให้กำลังใจคนที่คิดจะเรียนรู้ เท่านั้นเอง

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 603234เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2016 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2016 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท