ทักษะจิตสังคม...กลุ่มพลวัติสะท้อนบวก 29 ก.พ.


ขอบพระคุณความตั้งใจของนศ.กิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ม.มหิดล ที่มีการพัฒนาทักษะทางจิตสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมในการอ่านการฟังอย่างลึกซึ้ง การคิดใคร่ครวญความรู้ การตั้งคำถามอย่างรู้คิด และการบันทึกวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีความหมายในบทบาทนักกิจกรรมบำบัด

นศ.ใช้เวลา 15 อาทิตย์ในแต่ละท่านที่เรียนรู้การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การฝึกทักษะสุ จิ ปุ ลิ การบันทึกความรู้แบบ Factsheet & Blog การทำงานเป็นทีมในการเขียนแผนที่ความคิดและกระดาษแผ่นเดียวในแปดช่อง การใช้ Reciprocal teaching แบบสุขภาพจิตศึกษา และการจัดอบรมเชิปฏิบัติการหัวข้อ "กิจกรรมบำบัดป้องกันภาวะกลัวการล้ม" "กิจกรรมบำบัดฟื้นภาวะสมองเสื่อม" และ "กิจกรรมบำบัดฟื้นภาวะซึมเศร้า"

ทำให้อ.แอน และ ดร.ป๊อป ได้เห็นการเรียนรู้แบบมีชีวิตชีวาสู่การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง ซึ่งนับว่าสอบผ่านในการเป็นนักกิจกรรมบำบัดมืออาชีพในอนาคต เพราะนศ.สามารถบ่มเพาะความมั่นใจในสมรรถนะของการเป็นโค้ชฝึกสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยเกิดแรงจูงใจในการประยุกต์ความสามารถรอบด้านในการจัดกระบวนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ทักษะจิตสังคม (การรับรู้สึกนึกคิดและถ่ายทอดการเรียนรู้ดูแลผู้อื่นอย่างเมตตา) ตั้งแต่กลุ่มคู่ขนาน (ผู้สอนพูด 60-90% ผู้เรียนพูด 10-40%) กลุ่มผลงานความรู้ความสามารถ (ผู้สอนพูด 40-50% ผู้เรียนพูด 50-60%) กลุ่มดึงความเป็นตัวเองมาร่วมแรงร่วมใจ กลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ (ผู้สอนพูด 30% ผู้เรียนพูด 70%) และกลุ่มวุฒิภาวะ (เน้นการสังเกตประเมินและสะท้อนคิดโดยมุ่งการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาชีวิตของตนเองได้ดี - ถือเป็นจุดประกายความคิดความเข้าใจที่สำคัญครบ Three-way communication; ผู้สอนพูด 20% ผู้เรียนพูด 80%) ตามลำดับ ซึ่งพัฒนาต่อยอดเป็นกลุ่มผู้นำสุขภาวะ (ผู้สอนพูด 10% ผู้เรียนพูด 90%) ในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยหลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่านการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำและการสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ดังแบบจำลองการจัดการความรู้แบบก้นหอยของ Nanaka ในปี 1991 ในการตระหนักรู้ทบทวนความสุขใจทางปัญญาขณะทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองเสมอ โดยไม่คิดว่า KM คือภาระงานประจำ

ผมจึงเปรียบ KM เสมือนกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบเหตุและผลตาม Logical Levels of Change ดังแผนภาพข้างล่าง ซึ่งเป็นกระบวนการการสั่งจิตใต้สำนึกที่น่าสนใจที่กระตุ้นร้อยเรียงลดฐานคิดจากหัวลงเพื่อสมดุลกับฐานกายที่รับรู้สึกการมองจดจ่อ การสัมผัสหัวใจ การได้ยินลมหายใจ การปรับท่าทางพลังงาน การใช้น้ำเสียงที่พอเหมาะ และการแสดงภาษากายด้วยความมีชีวิตชีวา

Acknowledge of citation at http://vievolvelearninganddevelopment.vievolve.com/logical-levels-of-thinking-and-change/

คลิกชมด้วย Acknowledge of YOUTUBE.COM ที่แบบสั่นที่นี่ และ แบบยาวที่นี่

ต่อด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางและเรียบเรียงกระบวนการคิดเชิงระบบให้เกิดการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่ปราณีตด้วยการดึงบุคลิกภาพแห่งการรู้คิดจากการคิดฝัน การมุ่งทำความจริง การวิจารณ์ให้เห็นรายละเอียด ย้อนกลับไปต่อถึงการคิดตัวเลือกแก้ปัญหา การพิจารณาตัวเลือกที่แก้ปัญหาได้จริง และการสรุปตัวเลือกที่น่าจะแก้ปัญหาได้รอบคอบที่สุดตาม Walt Disney's Model ดังแผนภาพข้างล่าง

Acknowledge of citation at https://coach4excellence.wordpress.com/2010/08/08/disney-in-coaching/

โดยสรุปแล้ว นศ.และอจ.กิจกรรมบำบัด ควรสังเกต ใส่ใจ และสร้างจิตสังคมด้วยทักษะเมตตา ผ่านกระบวนจิตวิเคราะห์การรู้คิดที่แยกคายถึง การรับรู้สึกการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยา Physiological Change ในช่วงก่อนกระบวนการสร้างสัมพันธภาพและก่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกรณีสมองเสื่อมหรือมีความล้าที่ฐานคิดตอบคำถามหรือนั่งรับข้อมูลอย่างเดียว IQ หรือในกรณีซึมเศร้าหรือมีความล้าที่ฐานใจ EQ ที่จำเป็นต้องใช้ Mood Repair Strategies เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วนจากหัวไปเท้า (ลด IQ ที่ Head ลงไปที่ PQ ที่เท้า) พร้อมใช้น้ำเสียงที่อ่อนโยง Pace & Lead พักและย้ำนำเป็นช่วงๆ ให้โอกาสเงียบรับฟังเสียงผู้เรียนรู้เสมอ จนถึงการจัดกิจกรรมพลังชีวิตแสดงความหวัง ความมั่นใจ และความสุขทางคุณค่า ความเชื่อในสุขภาวะแห่งตน จนถึงการรับรู้ความจริงแห่งชีวิต SQ เช่น การจดจ่อแสดงบทบาทสมมติทั้งสีหน้าท่าทางพร้อมสวมจิตใจให้เสมือนจริง ทั้งผู้แสดงและผู้ชมด้วยสมาธิให้เข้าถึงการสะท้อนวิถีทางธรรมชาติด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่สะเทือนใจให้เกิดการรู้คิดจิตมีสติสัมปชัญญะ "ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม"

Acknowledgement of citation at http://aboutleaders.com/leadership-intelligences-a-holistic-approach/

หมายเลขบันทึก: 602620เขียนเมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2016 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2016 09:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชื่นชมมากค่ะ ทำให้คิดว่าคนที่เป็นครู-อาจารย์น่าจะได้รับการอบรมแบบนี้กับคุณหมอบ้างเพื่อที่จะนำไปใช้กับศิษย์ของตน

ขอบพระคุณมากครับอ.ธวัชชัยและอ.แอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท