ประสบการณ์นอกห้องเรียน ณ โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลมนารมย์


ประสบการณ์นอกห้องเรียน ณ โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลมนารมย์

ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 ดิฉันและเพื่อนๆนักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ก่อนไปรู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะคิดว่าการที่ได้ไปดูงานที่โรงพยาบาลเอกชลเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ต้องขอขอบคุณพี่โบว์ รุ่นพี่กิจกรรมบำบัดของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้โอกาสพวกเราไปศึกษาดูงาน เปิดโลกกว้างทางกิจกรรมบำบัดมากยิ่งขึ้น

พี่โบว์เป็นนักกิจกรรมบำบัดเพียงคนเดียวที่โรงพยาบาลกรุงเทพขณะนี้ ได้อธิบายถึงศูนย์จิตรักษ์ให้ฟังว่า ศูนย์จิตรักษ์นั้นจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพใจ ตามหลัก Recovery Oriented Services (ROS) ภายในศูนย์ประกอบด้วยห้องตรวจ และห้องพักที่รองรับผู้ใช้บริการได้ 7 เตียง ห้องกิจกรรมกลุ่มบำบัดต่างๆ และบริเวณพักผ่อนเป็นสวนพักผ่อนขนาดเล็ก ภายในศูนย์จิตรักษ์จะประกอบไปด้วยทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลจิตเวช เภสัชกร ให้การดูแล บริการใส่ใจเสมือนคนในครอบครัวอยู่

ในการที่ไปดูงานที่ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพดิฉันได้สรุปออกมาในรูปแบบ “ SMART TREES” ดังนี้

S: Self คือ ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

M: Motivation คือ มีแรงจูงใจที่จะจัดตั้งศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ เพื่อช่วยผู้ป่วยให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีแรงจูงใจสูงมากในการอยากที่จะช่วยเหลือคนป่วย เนื่องจากนักกิจกรรมบำบัดไม่ได้มีความสามารถในการทำอาหาร แต่หากผู้ป่วยชอบในการทำกิจกรรมประเภทนี้ก็พยายามหาวิธีและทดลองทำเพื่อนำมาทำร่วมกันกับผู้ป่วยในการจัดกิจกรรมกลุ่ม

A: Ability คือ ความรู้ ความสามารถ ความพยายามของนักกิจกรรมบำบัดในการบำบัดรักษาผู้ป่วย

RT: Role Transformation คือ นักกิจกรรมบำบัดมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนความสามารถของตนที่มีอยู่ไปบำบัดรักษาผู้ป่วยได้หลากหลายรูปแบบทั้งผู้ป่วย Bipolar ผู้ป่วยซึมเศร้า เป็นต้น

TR: Therapeutic Relationship คือ บุคลากรที่ศูนย์จิตรักษ์มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีการยิ้มแย้ม ทักทายอย่างเป็นมิตรกับผู้ป่วย ญาติ หรือแม้กระทั่งนักศึกษาและอาจารย์ ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตร

TE: Therapeutic Environment คือ สภาพแวดล้อมภายในห้องพักผู้ป่วยที่ศูนย์จิตรักษ์มีการตกแต่งที่ไม่เหมือนโรงพยาบาลให้ความรู้สึกคล้ายบ้าน และในการตกแต่งนั้นก็ได้คำนึงถึงความปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยเป็นหลัก สิ่งแวดล้อมภายในศูนย์จิตรักษ์จะเน้นให้ผู้ป่วยออกมาทำกิจกรรมภายนอกห้องพักมีทั้งกิจกรรมให้ห้องครัว กิจกรรมออกกำลังกาย กิจกรรมงานศิลปะและอีกมากกมาย

TE: Therapeutic Empathyคือ มีความเข้าใจผู้ป่วย ไม่มองว่าเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องแต่มองเป็นมนุษย์ เข้าใจว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจแต่เกิดจากตัวโรคที่เขาเป็น และพร้อมให้ความช่วยเหลือ นอกจากนั้นที่ศูนย์เมื่อจะทำอะไรจะคิดคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น ให้ผู้ป่วยใส่ชุดธรรมดาโดยไม่ใช่ชุดผู้ป่วยก็ได้เพื่อความสบายใจของผู้ป่วยเมื่อเดินลงไปซื้อของที่ข้างล่างของโรงพยาบาล ในขณะที่ไปดูงานยังเห็นถึงความใส่ใจจากการที่พยายามให้นักศึกษาดูงานโดยไม่รบกวนผู้ป่วย และคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยตลอดเวลา

TS: Therapeutic Skill คือ ทักษะความสามารถของทีมสหวิชาชีพในการบำบัดรักษา ที่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นได้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติตามความต้องการของผู้ป่วยได้จริง

และในข่วงบ่ายของวันพวกเราได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานต่อที่ โรงพยาบาลมนารมย์ เป็นโรงพยาบาลเอกชนด้านสุขภาพจิตแห่งแรกในประเทศไทย โดยกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาลมนารมย์มีจุดมุ่งหมายรวมทั้งวิธีการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการบำบัดเกี่ยว กับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่อง ทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้และพัฒนาการเกี่ยวกับเด็ก โดย กระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้บุคคลดำเนินชีวิตได้ตามศักยภาพ ป้องกันการไร้ความสามารถและคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี โดยจะมี กิจกรรมบำบัดด้านสุขภาพจิต กิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุ กิจกรรมบำบัดในเด็ก การให้การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดที่นี้ แบ่งออกเป็น

  • Day Program(OPD)
  • Manarom Learning & Development Center
  • Inpatient Department (IPD)

ในการที่ไปดูงานที่โรงพยาบาลมนารมย์ ดิฉันได้สรุปออกมาในรูปแบบ “ SMART TREES” ดังนี้

S: Self คือ โรงพยาบาลมนารมย์

M: Motivation คือ มีแรงจูงใจเกิดขึ้นจากการที่มีผู้ป่วยทางด้านจิตเวชเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้เกิดการรวมตัวกันของสหวิชาชีพทางการแพทย์เพื่อมุ่งเน้นช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู และรักษาผู้ป่วยทางด้านจิตเวช

A: Ability คือ ความรู้ ความสามารถ ของนักกิจกรรมบำบัดและทีมสหวิชาชีพในการบำบัดรักษาผู้ป่วย

RT: Role Transformation คือ นักกิจกรรมบำบัดมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนความสามารถของตนที่มีอยู่ไปบำบัดรักษาผู้ป่วยได้หลากหลายรูปแบบทั้งผู้ป่วย Bipolar ผู้ป่วยซึมเศร้า ผู้ป่วยจิตเพศ เป็นต้น

TR: Therapeutic Relationship คือ บุคลากรที่โรงพยาบาลมนารมย์ มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีการยิ้มแย้ม ทักทายและให้บริการอย่างเป็นมิตร สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยและรวมถึงญาติของผู้ป่วยด้วย

TE: Therapeutic Environment คือ สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลมนารมย์คือมีห้องในการทำกิจกรรมต่างๆอยู่มาก เช่น ห้องกิจกรรมบำบัด ห้องศิลปะ ห้องการแสดง เป็นต้น สภาพแวดล้อมปลอดโปร่งสบาย ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด และเน้นความปลอดภัยสำหรับตัวผู้ป่วยและบุคคลากรภายในโรงพยาบาลเป็นหลัก

TE: Therapeutic Empathy คือ มีความเข้าใจผู้ป่วย เข้าใจว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจแต่เกิดจากตัวโรคที่เขาเป็น และพร้อมให้ความช่วยเหลือ และทุกอย่างของโรงพยาบาลคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยเป็นหลัก

TS: Therapeutic Skill คือ ทักษะความสามารถของทีมสหวิชาชีพในการบำบัดรักษา ที่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยให้มีอาการที่ดีขึ้นได้ สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติตามความต้องการของผู้ป่วยได้จริง


ขอขอบคุณ

ศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพและโรงพยาบาลมนารมย์ ที่ได้ให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ไปเยี่ยมชมดูงาน

หมายเลขบันทึก: 602532เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2016 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท