โครงสร้างระบบธรรมาภิบาลที่ช่วยลดโรคดื้อต่อการเปลี่ยนแปลง



ประสบการณ์จากการเป็นกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยให้ผมฉุกคิด และเขียนบันทึกนี้

ระบบธรรมาภิบาลของ มช. แตกต่างจากของมหาวิทยาลัยอื่นหลายด้าน ที่นำมาเล่าวันนี้คือการมีคณะกรรมการอำนวยการของหน่วยงานระดับคณะ/สถาบัน หรือที่เรียกว่าส่วนงาน คณะกรรมการอำนวยการนี้มีประธานเป็นอธิการบดี หรือรองอธิการบดี หรือกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ ทำหน้าที่กำกับดูแลทิศทางและภาพใหญ่ของส่วนงาน รวมทั้งช่วยวางยุทธศาสตร์การพัฒนา

เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๘ ผมร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวาระปรับการดำเนินการของสถาบัน ซึ่งเมื่อจบการประชุมและผมกลับบ้านที่ปากเกร็ดแล้ว ผมก็อีเมล์ตั้งข้อสังเกตแก่ท่านประธานคณะกรรมการอำนวยการ (ศ. ดร. ปิยะวัติ บุญ-หลง) ท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และท่าน ผอ. สถาบัน เรื่องการทำความเข้าใจกับนักวิจัยของสถาบันฯ ว่าสถาบันฯ มีหน้าที่ทำงานวิจัยโดยมีจุดเน้นที่ application หรือ discovery กันแน่ และเมื่อตกลงจุดเน้นกันแล้ว ก็ต้องหาทางพัฒนาทักษะในการตั้งโจทย์วิจัย และทำงานวิจัย ให้ตรงตามจุดเน้นของการทำงานวิจัย

เช้าวันเดียวกัน ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ผมต้องรายงานผลการประเมินผลงานของคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ท่านที่เพิ่งพ้นตำแหน่งไป ด้วยเวลาที่จำกัดมาก ผมเสนอเพียงว่า ปัญหาที่คณะศึกษาศาสตร์หนักหน่วงเกินกว่าที่คณบดีท่านใหม่จะรับไหว ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัย คือท่านอธิการบดีและทีมงานต้องเข้าไปช่วย โดยในเอกสารมีข้อเสนอวิธีเข้าไปช่วยไว้แล้ว

ผมคิดว่าโครงสร้างการทำงานของสภา มช. น่าจะมีผลดีต้อการลดโรคดื้อ (resistance) ต่อการเปลี่ยนแปลง


วิจารณ์ พานิช

๒ ม.ค. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 600062เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2016 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2016 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท